Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
2 ธ.ค. 2024 เวลา 21:58 • ท่องเที่ยว
วัดบวกครกหลวง เชียงใหม่ (2).. สถาปัตยกรรม
วัดบวกครกหลวง เชียงใหม่ (2) .. สถาปัตยกรรมของวัด
“วัดบวกครกหลวง” เดิมมีชื่อว่า วัดม่วงคำ ส่วนที่ชื่อว่า บวกครกหลวง นี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า "บวกครก" แปลว่า หลุม คำว่า "หลวง" แปลว่า ใหญ่ จึงอาจแปลได้ว่า วัดหลุมใหญ่ .. ที่มาจากสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนที่มีลักษณะเป็นแอ่ง ตั้งอยู่ลุ่มน้ำแม่ปิงและน้ำแม่คาวนั่นเอง
“วัดบวกครกหลวง” ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งตั้งด้วยกัน สันนิษฐานว่าวัดและเสนาสนะ อันได้แก่ วิหาร เป็นต้น น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยยุธยาลงไป ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓ ซึ่งตรงกับการบันทึกหมวดอุโบสถครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๖๕ .. หลังจากนั้นมาได้มีการบูรณปฏิสังธรรรณ์มาเรื่อย ๆจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร
เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2497 ทางวัดบวกครกหลวงได้ทำการรื้อถอนอุโบสถหลังเดิมที่ทรุดโทรม จนมิอาจใช้ประกอบศาสนกิจอื่นใดหรือทำสังฆกรรมต่างๆ ของสงฆ์ได้อีกและได้สร้างองค์อุโบสถแบบล้านนาหลังใหม่ขึ้นทดแทน
ในสมัยรัชกาลที่ ๙ พเศ.๒๕๖๘ สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงไหม่องค์สุดท้าย .. ได้มีบูรณะวิหารครั้งใหญ่ โดยการนำเจ้าราชภาดินัย (เจ้าน้อยสุริยฆาฏ) บิดาเจ้าจามรี (ภายหลังเลื่อนศักดินาเป็นแม่เจ้าจามรีราชเทวี ในเจ้าแก้วนวรัฐ)
..} ได้มีการซ่อมเสาวิหารซึ่งเป็นเสาไม้ขนาดคนโอบไม่รอบ ซึ่งผุและมีปลวกมากัดกินจึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์แล้วเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ
.. และได้เจาะผนังเพื่อทำเป็นช่องลมและหน้าต่างจึงทำให้ภาพจิตรกรรมแต่ละภาพขาดหายไปบางส่วน กรมศิลปากรได้มาตรวจดู และขึ้นทะเบียนวัดบวกครกหลวงเป็นโบราณสถานตามประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๔๑ วันที่ ๑๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๒๓
วิหาร
วิหาร .. มีแผนผังให้เห็นว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้างของห้องเป็น 3 ช่วง เพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา .. สร้างครั้งใดไม่ปรากฎประวัติและหลักฐานการสร้าง แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฎพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี
วิหารนี้ได้มีการซ่อมแชมบูรณะเรื่อยมา .. จากหลักฐานจารึกที่ปรากฎบนหน้าบันเขียนเลข พ.ศ.๒๔๖๘ ไว้ ซึ่งคงเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น รวมทั้งการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังตาด้วย
หลังจากนั้นคงจะมีการบูรณะซ่อมแชมต่อมา เช่น ใน พ.ศ. 2498 มีการราดพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน เพราะมีหลักฐานบันทึกไว้ที่ฐานวิหาร
โครงสร้างของวิหารเป็นไม้ผสมปูน หลังคาเป็นหลังคาจั่วซ้อนสามชั้น ด้านหน้ามุขโดงยื่นออกมาคลุมราวบันได้ ซึ่งทำเป็น “มกรอมนาค” ที่มีปากลักษณะหมือนจะจงอยปากนกแก้ว หรือจะงอยปากครุฑ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกปิด
ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค ราวโก่งคิ้วด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักปิดทอง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน นาคลำยองหางหงส์รูปหัวนาคปิดทองประดับกระจกสี
มุมและด้านข้างของวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูนสูงถึงคอสองวิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทอง
ลักษณะทั่วไปของวิหารมีสัดส่วนและองค์ประกอบงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง
ธรรมาสน์เทศน์แบบล้านนา
ภายในวิหารมีธรรมาสน์เทศน์แบบล้านนา ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าฐานชุกชี ลักษณะเป็นรูปทรงปราสาทวิมานทองในขาดก ..
ธรรมาสน์หลังนี้แม่เจ้าจามธีราชเทวี ชายาพลดรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองแคเรียงใหม่องค์ที่ ๙ เป็นผู้สร้างถวายจากเงินที่เจ้าให้นางคนใช้นำดอกไม้ในสวนหลวงมาร้อยเป็นมาลัย แล้วนำไปขายพอได้เงินมาแม่เจ้าก็เก็บสะสมไว้จนพอที่จะให้ช่างไม้สร้างธรรมาสน์ได้
ธรรมาสน์หลังนี้เป็นเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเทศนาธรรมแก่ญาติโยม มีลักษณะที่ปกปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้โยมเห็นถึงอากัปกิริยาต่างๆ ของพระสงฆ์ขณะเทศน์ .. เพราะการเทศน์แบบล้านนาใช้พลังเสียงในการเทศน์สูงมากจึงต้องมีเทคนิคในการเรียกพลังเสียงเฉพาะตนของพระ บางครั้งเป็นอาการที่ไม่สำรวมจึงมีการสร้างธรรมมาสน์เทศน์แบบปกปิดมิดชิด
.. อีกนัยหนึ่งเพื่อป้องกันอาการอันไม่สำรวมของพระภิกษุ เพราะธรรมาสน์อยู่ในระดับสูงหากไม่มีฝาปิดกั้น อาจทำให้เห็นอาการของผู้ฟังเทศน์ที่ไม่ทันระวังสำรวมบางอย่างของอุบาสิกกใต้
ปัจจุบันพระสงฆ์และสามเณรภายในวัดยังใช้ธรรมาสน์หลังนี้ ในการเทศน์ช่วงฤดูกาลเข้าพรรษาอยู่เป็นประจำทุกปี
อาสนะที่สวยงาม
สัตตภัณฑ์
สัตตภัณฑ์ คือ แท่นเทียนที่นิยมวางไว้บริเวณหน้าพระประธานในวิหารหรืออุโบสถตามวัดต่างๆ ในล้านนาพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของคนเมือง (ชาวล้านนา)
.. ลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทำเป็นรูปเทพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทำเป็นรูปมกรคายนาค สัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง
"สัตตภัณฑ์" มีคุณค่าและบทบาทหน้าที่สำคัญในวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นอุปกรณ์ประกอบพิธีกรรมที่สร้างความรู้สึกเท่าเทียมกันของคนในชุมชน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ เป็นคนหนุ่มคนสาว หรือเป็นเด็กตัวเล็กๆ ต่างก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกันที่จะได้จุดเทือนของตนบนสัตตภัณฑ์หน้าพระประธาน โดยไม่มีควนรู้สึกว่าเป็นของที่ถูกสงวนไว้สำหรับใครคนใดคนหนึ่ง
วิถีปฏิบัติของคนเมืองที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสัตตภัณฑ์ในอดีต ทำให้พบเห็นคุณค่าของสัตตภัณฑ์อย่างน้อย ๓ ประการ
ประการที่หนึ่ง : สัตตภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกันต่อหน้าพระประฐาน (ตัวแทนของพระพุทธองค์) ของคนทุกคน ทุกวัย โดยไม่แยกชนชั้น เชื้อชาติ เพศ วัย ภาษา สีผิว หรือความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยเหตุใด ๆ
ประการที่สอง … สัตตภัณฑ์ตั้งอยู่หน้าพระประธานทำให้ทุกคนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง ฝึกจุดธูปเทียน ใส่ขันดอก สวดมนต์ ไหว้พระ ถวายทาน
ประการที่สาม .. สัตตภัณฑ์เป็นสัญลักษณ์แห่งสุนทรียะ ความงดงามทางศิลปะด้วยความวิจิตรพิสดารของลวดลายแห่งงานศิลป์แบบพื้นบ้านล้านนาที่ส่งเสริมจิตให้สงบเย็นและมีพลัง รวมทั้งบางครั้งอาจเห็นความเรียบง่ายที่แฝงมากับศิลปกรรมชิ้นนี้
ปัจจุบันมื่อมีโต๊ะหมู่บูชาเข้ามาแทนที่ "สัตดภัณฑ์" ของคนมือง ทำให้คนเล็กคนน้อย ตาสี ตาสา มิอาจเข้าไปจุดเทียนสองเล่มพร้อมกับจุดธูปสามดอกที่ตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาที่นำมาตั้งแทนสัตดตัดภัณฑ์ ซึ่งถูกสงวนไว้สำหรับใครสักคนหนึ่ง
ปัจจุบันนี้เริ่มมีวัดวาอารามที่ตระหนักถึงคุณค่าของสัตตภัตภัณฑ์เพิ่มขึ้น โดยการโยกย้ายเอาสัตตภัณฑ์ที่ซ่อนตัวนิ่งด้านหลังวิหารมาช้านานมาปัดฝุ่น ประดับตกแต่งให้งดงามเช่นเดิม และนำกลับมาตั้งไว้หน้าแท่นพระประธานในวิหารเพิ่มขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับชุมชนคนเมือง
บันไดมกรคายนาค
ชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยดูแลอยู่ จึงมีการประดับตกแต่งด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่น ๆ ของล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ำหรือนทีสมุทร
ด้านหน้าวิหารหลวง โบราณสถานสำคัญภายในวัด ทำเป็นมุขโถงยื่นออกมาคลุมราวบันได .. ซึ่งลักษณะราวบันไดทำเป็นรูปมกรคายนาค ที่มีปากเป็นเหมือนจะงอยปากพญาครุฑ (บ้างเรียกว่า ปากแก้ว) ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจก
ราวบันไดที่วัดบวกครกหลวงจึงได้ชื่อว่าแตกต่างจากวัดแห่งอื่นๆ ซึ่งงดงามแปลกตามากและมีอยู่แห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นของตั้งแต่โบราณมา
หอไตร
หอไตร .. ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวิหาร ลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารไม้ รูปแบบเป็นทรงสถาปัตยกรรมล้านนา บูรณะครั้งล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๕
ใช้เป็นสถานที่จัดเก็บ รวบรวมคัมภีร์ใบลาน ปกิณภะธรรม พระสูตรและชาดกต่างๆ ที่อรรถกถาจารย์ในอดีตได้รจนาไว้อีกส่วนหนึ่งเป็นคัมภีร์ใบลานจารึกเรื่องราวต่างๆ ปัจจุบันทางวัดได้จัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมในวัด เพื่อเผยแผ่ธรรมแก่เยาวชน
อุโบสถ
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวิหาร เป็นรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นก่อน พ.ศ. 2493 หลังจากถอนพัทธสีมาอุโบสถหลังเก่าที่อยู่อีกฝั่งตรงข้ามมา
.. เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีอุปสมบทพระภิกษุให้แก่กุลบุตรผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและใช้สำหรับทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์ภายในวัด เช่น สวดปาฏิโมกข์ในช่วงฤดูเข้าพรรษา และกรานกฐิน (สวดให้ผ้ากฐินหลังจากรับกฐินแล้ว)
เจดีย์เจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ 4 ด้าน บุด้วยทองจังโก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ … ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร เป็นเจดีย์รูปทรงปราสาท มีเรือนทาสทั้งสี่ด้าน บุด้วยทองจังโกเป็นเจดีสร้างขึ้นใหม่หลัง พ.ศ.๒๕๐๐ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกอาตุ
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย