10 ธ.ค. 2024 เวลา 03:00 • ไลฟ์สไตล์

เมื่อเวลาใกล้หมดลง

มนุษย์เราส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตปล่อยไหลไปตามกระแสของเวลา เพราะมัวแต่หมกมุ่นไปกับภาระหน้านี้อันแสนยุ่งเหยิงมากมายในแต่ล่ะวัน ปล่อยเวลาให้ไหลผ่านไปจนกระทั่งวันหนึ่งจึงระลึกได้ว่าเวลาที่เหลือนั้นมีจำกัด ซึ่งเหตุการณ์ที่มักมากระตุกความคิดของเรานั้น มักเป็นการจากไปของบางคน หรือบางสิ่งที่เรารัก ทำให้เราย้อยกลับมาคิดได้ว่า ความตายนั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากขนาดไหน เวลาของเรานั้นแสนสั้นขนาดไหน และการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งต่อสิ่งต่างๆที่เป็นเคยของเรา ให้แก่คนที่เรารักที่ยังมีชีวิตอยู่ต่อนั้นสำคัญขนาดไหน
สำหรับบางคนนั้นการคิดถึงเรื่องการส่งต่อมรดกดูจะเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคิดว่าทรัพย์สินที่มีนั้น มีเพียงไม่มากนัก ลูกหลานน่าจะจัดการกันได้ไม่ยุ่งยากอะไร แต่จริงๆแล้ว มรดกนั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่ทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ที่เราต้องส่งต่อไปให้ผู้รับมรดกเป็นผู้จัดการต่อด้วย
  • ​ทรัพย์สิน และ หนี้สิน
นอกจากทรัพย์สินที่เราส่งต่อให้แก่ทายาทแล้ว เรายังส่งต่อหนี้สินให้แก่ทายาทอีกด้วย ดังนั้นก่อนเราจะจากไป อย่างน้อยควรจัดการภาระหนี้สินต่างๆให้เรียบร้อย เว้นแต่สุดวิสัยจึงค่อยฝากให้ทายาทจัดการชำระหนี้สินคืนแก่เจ้าหนี้ต่อไป ซึ่งจะต้องไม่เกินจากมรดกทรัพย์สินที่เราเหลือไว้ หนี้สินส่วนเกินกว่านั้นตกเป็นภาระของเจ้าหนี้ที่ไม่มีสิทธิมาตามทวงกับผู้รับมรดกโดยเด็ดขาด
  • ​สิทธิ
คือ สิ่งที่จะได้มา เช่น สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิตามสัญญากู้ยืมเงิน สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ในการได้รับเงินคืน หรือสิทธิการได้รับเงินชดเชยจากกรณีเสียชีวิต ซึ่งเราควรทำบันทึกให้ทายาทของเรารับทราบว่าเรามีสิทธิอะไรบ้าง เพื่อได้ตามทวงสิทธิของเราอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
  • ​หน้าที่
เป็นสัญญาผูกมัดที่เราได้กระทำไว้ เช่น สัญญาให้เช่า ซึ่งทายาทจะต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อจนกว่าจะครบตามกำหนดเวลาในสัญญา
  • ​ความรับผิด
เป็นสิ่งที่จะต้องชดเชยชดใช้ เช่น สินไหมกรณีที่มีการก่อความเสียหายให้แก่ผู้อื่น หรือ ค่าชดเชยจากการผิดสัญญา ซึ่งผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายต่างๆแทนเราต่อไป
จะเห็นได้ว่า มรดก นั้นซับซ้อนกว่าที่เราคิดไว้ ดังนั้นถ้าไม่วางแผนจัดการสะสางให้เรียบร้อย จะเป็นปัญหาแก่ทายาทผู้รับมรดกให้มานั่งปวดหัวในการจัดการอย่างแน่นอน ยังดีที่มีเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถจัดการส่งต่อมรดกที่มี ให้กับผู้รับมรดกอย่างถูกต้อง ถูกตัว ตรงตามเจตนารมณ์ของเรา นั่นก็คือ พินัยกรรม นั่นเอง
แม้มองเผินๆ พินัยกรรม จะฟังดูเป็นยุ่งยากซับซ้อน แต่แท้ที่จริงแล้ว พินัยกรรม สามารถทำเองได้ง่ายๆ โดยการเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ เพียงต้องมีข้อความระบุสถานที่ที่ทำ วันเดือนปีที่ทำ ชื่อผู้ทำ และ ผู้รับมรดก พร้อมทั้งลงลายชื่อตนเองไว้เป็นหลักฐานก็เพียงพอแล้ว
ต่างจากพินัยกรรมแบบพิมพ์ที่ต้องมี พยาน อย่างน้อย 2 คน ซึ่งต้องไม่มีส่วนได้รับผลประโยชน์ตามพินัยกรรม
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผู้ที่มีมรดกมหาศาลอาจต้องคำนึงถึง คือการวางแผนภาษีมรดก เพราะทายาทผู้รับมรดกที่ได้รับทรัพย์สินเกินกว่า 100ล้านบาทขึ้นไป มีภาระที่ต้องจ่ายภาษีสำหรับทรัพย์สินส่วนที่เกินจาก 100ล้านบาทนั้น
ซึ่งเราสามารถแบ่งเบาภาระดังกว่าวได้หลายวิธี เช่น การทำกรมธรรม์ประกันชีวิต การเปลี่ยนทรัพย์สินให้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีทะเบียนระบุเจ้าของ (เงินสด, ทอง, เครื่องประดับ, นาฬิกาหรู) หรือการทยอยโอนสินทรัพย์ให้แก่ทายาทปีล่ะไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นต้น
สุดท้าย หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้จะตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจัดการทรัพย์สินมรดก เพื่อเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อนจะถึงเวลาที่เราต้องจากโลกนี้ไป
บทความนี้ขออุทิศแก่ โคนี่หมาน้อย ผู้สร้างความสุขให้แก่บ้านมาเสมอตลอด 10ปี
อ้างอิง :
โฆษณา