3 ธ.ค. เวลา 08:47 • หนังสือ

โครงสร้างการแก้ปัญหาทางสังคมของประเทศไทย

ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางของคำว่า "ประชาธิปไตย" กับ " ? (อะไรก็ไม่รู้) "
ในการปกครองประเทศ ไทยเรามีระบบการปกครอง มีกฎหมาย มีกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงานด้านการบริหาร อย่างเบ็ดเสร็จครบถ้วน
แม้กระบวนการบริหารงานสิ่งต่างๆในประเทศจะดำเนินงานอย่างไม่ราบรื่นบ้างในบ้างครั้ง แต่หน่วนงานบริหาร และ หน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมในประเทศก็สามารถจัดการทำให้การดำเนินงานราบรื่นได้เสมอมา
จุดสังเกต คือ ในกระบวนการเหล่านั้นไม่ได้มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากเท่าไร การที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นความตั้งใจดี แต่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นก็เป็นเพียงการแจ้งให้ประชาชนทราบเท่านั้น ว่าหน่วนงานบริหารต้องการทำอะไร และวิธีการสื่อสารนี้แหละเป็นการจัดการปัญหาที่หน่วยงานบริหารใช้เสมอมา
โครงสร้างเหล่านี้ก็ครอบสังคมไทยไว้ และ สื่อสารต่อประชาชนผู้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าสิ่งนี้ คือ ประชาธิปไตย
กระบวนการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน คือ
-การเอาโครงสร้างมาจัดการกับปัญญา (ที่เกิดขึ้นในสังคม หรือ เกิดขึ้นกับประชาชน)-
ตัวอย่าง
เมื่อมีปัญหาการทุจริตในประเทศไม่ว่าจะเป็นจากประชาชน เอกชน ต่างประเทศ หรือแม้แต่ในหน่วยงานบริหารเอง
การแก้ปัญหา คือ การตั้งหน่วยงานขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานการปราบทุจริต การส่งเสริมความโปร่งใสในการทำงานของฝ่ายบริหาร และอีกมากมาย
การแก้ปัญหาในแนวทางนี้เป็นการสร้าง "โครงสร้าง" หมายถึง หน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหา แต่ถามว่าปัญหาหายไปมั้ย? การทุจริตลดลงมั้ย? คำตอบ คือ ไม่เลย
ดังนั้น โครงสร้าง ที่หน่วยงานบริหารขึ้นมาอีกทั้งยังทุ่มเงินงบประมาณไปให้ในการจัดการหน่วยงานก็ = ศูนย์เปล่า?
โครงสร้างที่สร้างขึ้นมาแก้ปัญหานั้น ไม่สามารถแก้ปัญหา "ระบบคิด" และ "พฤติกรรม" ได้เลย
1
การสร้าง "โครงสร้าง" ที่ดูดีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้น เป็นเหมือนการสร้าง "ความชอบธรรม" ให้กับหน่วยงานบริหารเท่านั้น แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ "สังคม" และ "ประชาชน" ได้
อ่านดีกว่าไม่อ่าน
เขียนโดย สุวิจักร บิ๊ก
โฆษณา