4 ธ.ค. เวลา 11:00 • ความคิดเห็น

เงินสำรองฉุกเฉิน เงินเก็บก้อนแรกที่ทุกคนต้องมี

เพราะชีวิตเราล้วนมีแต่ความไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ หากเรามีเงินสำรองฉุกเฉินก็จะทำให้มีเงินไว้รับมือกับวิกฤตต่างๆ ได้อย่างสบายใจ ไม่มีอะไรสามารถมากระทบกับการเงินของเราได้
ดังนั้น เงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก และเป็นเงินเก็บก้อนแรกที่ทุกคนต้องมี!!
แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจและให้ความสำคัญเงินสำรองฉุกเฉินสักเท่าไหร่ เมื่อมีเงินก้อนจำนวนหนึ่งก็จะนำไปลงทุนเลย โดยมองข้ามการมีเงินสดสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และคิดว่ายังไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้
ตามทฤษฎีการเงินบอกไว้ว่า เราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน
สูตรคำนวณ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายจำเป็น x จำนวนเท่า
ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท
ต้องมีเงินฉุกเฉิน เท่ากับ 20,000 x 6 = 120,000‬ บาท
แต่หากเกิดสถานการณ์วิกฤตอาจจะปรับมาอยู่ที่ 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน และสำหรับสายฟรีแลนซ์หรือเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ไม่แน่นอนก็ควรจะมีเยอะกว่า อย่างน้อย 12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เผื่อถ้าไม่มีรายได้เข้ามาเป็นเวลานานกว่าปกติก็จะมีเงินก้อนนี้ไว้ใช้จ่าย
ซึ่งความจริงแล้วเงินสำรองฉุกเฉินของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเท่ากัน อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าทฤษฎีการเงินก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบและภาระของแต่ละคน
เช่น
- พนักงานงานประจำ โสด ไม่มีภาระ มีเงินสำรองฉุกเฉิน 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน
- พนักงานประจำ แต่งงาน มีลูก มีเงินสำรองฉุกเฉิน 12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน
หลังจากที่เราเริ่มเก็บเงินสำรองฉุกเฉินกันแล้ว ก็ควรจะเอาเงินก้อนนี้ไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเบิกถอนมาใช้ได้เร็ว มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนน้อย และควรจะเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อหรือใกล้เคียงกับเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้มูลค่าเงินลดลงนะ เช่น บัญชีออมทรัพย์ บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง บัญชีเงินฝากไม่ประจำ กองทุนรวมตลาดเงินที่เป็น T+1 เป็นต้น
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มสงสัยว่าเราอยากเก็บเงินสำรองฉุกเฉินมากกว่า 12 เท่าได้มั้ย คำตอบ คือ ได้ แต่ก็ไม่แนะนำให้เก็บเงินก้อนนี้มากเกินไป หากเก็บมากเกินจะทำให้เสียโอกาสนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนให้งอกเงย
สนใจอยากได้คำปรึกษาวางแผนการเงินส่วนบุคคล
Direct message 📩 m.me/Cashury.th
โฆษณา