4 ธ.ค. เวลา 03:34 • ธุรกิจ

เปิด 2 งานวิจัยยกระดับอุตสาหกรรมไผ่ไทยด้วยแนวคิด Circular Economy

“ไผ่” ทรัพยากรล้ำค่าที่รอการพัฒนา เปิด 2 งานวิจัยยกระดับอุตสาหกรรมไผ่ไทย ภายใต้แนวคิด Circular Economy ตอบโจทย์เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร
“ไผ่” นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของคนไทยมาช้านาน ทุกส่วนของไผ่ตั้งแต่ราก ลำต้น ไปจนถึงยอด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะใช้หน่อไผ่ สำหรับบริโภคเป็นอาหาร ลำไผ่ใช้ในการก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ ใบไผ่ใช้ห่อขนม รากไผ่ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน หรือแม้กระทั่งใช้เป็นยารักษาโรค
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พยายามผลักดันไผ่ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดไม่ใช้งบประมาณรัฐบาล แต่เป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล เอกชน และประชาชน (PPP model) โดยรัฐบาลสนับสนุนด้านนโยบายส่งเสริมการปลูกไผ่ ให้เป็นพืชเศรษฐกิจกลุ่มไม้ยืนต้น ซึ่งภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนกิจการแปรรูปไผ่ ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม bio-refinery ในระดับชุมชน ตอบโจทย์เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร
โดยโครงการระยะเริ่มแรกตั้งเป้าหมาย ไว้ที่ 10,000 ไร่ ใน 10 ตำบล จะสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรตำบลละอย่างน้อย 80 ล้านบาท จากนั้นจะขยายผลไปทั่วประเทศ โดยเชิญชวนภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งภาครัฐจะสนับสนุนให้มีการเตรียมแหล่งเงินทุนผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Green Investment Trust
ซึ่งมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนเพื่อพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ที่ต้องการระดมทุนที่มีทรัพย์สินเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกป่าโดยชอบด้วยกฎหมาย
ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์
โฆษณา