4 ธ.ค. เวลา 13:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ

แบงก์ชาติ ชี้ทุนเปลี่ยนวิกฤตอากาศยังท้าทาย

ระดมธนาคารปิด 3 จุดเสี่ยงเปลี่ยนธุรกิจเป็นสีเขียว
ประเทศไทยต้องการเงิน 5-7 ล้านล้านบาทเพื่อเปลี่ยนธุรกิจสีน้ำตาลที่พึ่งพาฟอสซิลและเทคโนโลยีล้าสมัยให้เป็นสีเขียว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่าการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศยังเป็นความท้าทายสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 40% ในปี 2030 ท่ามกลางความเปราะบางด้านภูมิอากาศและข้อจำกัดของ SMEs ที่ยังขาดความพร้อมทั้งเงินทุนและองค์ความรู้
/////////////////
ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาในงาน "Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business" ในหัวข้อ Climate Finance taward SDGs โดยเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งเป็นสิ่งที่ธปท. เห็นว่า เงินทุนเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนผ่านโลกใบนี้ให้ไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
จากรายงานของ Global Landscape2024 (พ.ศ.2567) เกี่ยวกับ การสนับสนุนทางการเงิน หรือ Climate Finance พบว่า การสนับสนุนยังน้อยเกินไป มูลค่าของ Climate Finance ในปี 2522 (พ.ศ.2565) อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี อาจจะเป็นตัวเลขที่สูง แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 5 ของจำนวนเงินที่โลกต้องการเพื่อการเปลี่ยนผ่านซึ่งสูงถึง 7.4 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ดังนั้นการอุดหนุนทางการเงิน (Climate Finance) จึงยังเป็นประเด็นที่ยังคงท้าทายอยู่มากในระดับโลก และยังคงต้องหาทางจัดการกันต่อไป
หลังจากเดือนพ.ย.2567 ที่ผ่านมา มีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP29) ประเทศที่กำลังพัฒนาขอเงินสนับสนุนระดับ 1 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตั้งแต่ปี ค.ศ.2022 แต่ก็ไม่สามารถทำได้) ในปีนี้ข้อเรียกเพิ่มเป็น 5 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถึง 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐดอลลาร์ต่อปี แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ โดยได้รับเงินสนับสนุนเพียง 3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาผิดหวังที่มีมูลค่าน้อยเกินไป
“ดูเหมือนเป้าหมายที่วางไว้เป็นเพียงภาพลวงตา ที่ผ่านมาการจัดสรรเงินทุนมักไม่เป็นไปตามเป้าหมายอยู่แล้ว”
ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์
โฆษณา