Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ทันประกันสุขภาพกับคุณแนน AXA
•
ติดตาม
5 ธ.ค. 2024 เวลา 11:18 • สุขภาพ
ปี 2568 ประกันสุขภาพอาจเปลี่ยนเป็นแบบ "มีส่วนร่วมจ่าย" ทั้งหมด และจะหาซื้อแบบเหมาจ่ายยากขึ้น
จากผลการสำรวจแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลทั่วโลกล่าสุดจาก วิลลิส ทาวเวอร์ส วัตสัน (Willis Tower Watson – WTW) บริษัทที่ปรึกษา โบรกเกอร์ และโซลูชั่นส์ชั้นนำระดับโลก คาดการณ์ว่าค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น 14.2% ในปี 2568 ลดลงเล็กน้อยจาก 15.2% ในปีนี้ แต่ยังคงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1.2% อย่างมาก
ค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยและเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี 2563 (หลังวิกฤติโควิด-19) ได้สร้างความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนให้แก่ประชนชนทั่วไป รวมถึงระบบสาธารณสุข จนทำให้เกิดการเรียกร้องจากบริษัทประกันหลายๆแห่ง ที่พยายามผลักดันให้ คปภ. รับรองกฎหมายให้การซื้อประกันสุขภาพทั้งหมดเป็นแบบ “มีส่วนร่วมจ่าย”เนื่องจากสถิติการเรียกร้องสินไหมจากการรักษาในโรงพยาบาลมีแนววโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะการเคลมสินไหมจากอาการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ซึ่งไม่ใช่ไอเดียหลักของการทำประกัน โดยในความเป็นจริงแล้วไอเดียหลักของการทำประกันคือลดความเสี่ยงจากโรคที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและมีค่าใช้จ่ายสูง
แนนขออธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้ฟังเข้าใจง่ายอีกรอบนั่นก็คือ ทุกวันนี้คนทำประกันเพียงเพราะอยากเข้าโรงพยาบาลเอกชน ไม่ว่าจะปวดหัว เป็นหวัด เจ็บท้อง หรือแม้กระทั่งขอใบรับรองแพทย์ไปลางาน คนที่มีประกันก็จะเลือกไปโรงพยาบาลและขอแอดมิดเพื่อใช้ประกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วประกันควรถูกใช้ในกรณีที่เป็นโรคที่มีอาการรุนแรง เช่น รักษามะเร็ง ผ่าตัดลำไส้ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการเคลมประกันเกินความจำเป็น จนทำให้บริษัทประกันหลายๆที่เริ่มหาวิธีแก้โดยผลักดันให้การซื้อประกันในไทยเป็นแบบมีส่วนร่วมจ่าย
ประกันแบบมีส่วนร่วมจ่าย หรือ Co-payments คืออะไร? เป็นแบบประกันที่ทุกๆการรักษาของคนไข้จะต้องมีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาตามที่แผนประกันนั้นๆกำหนดไว้ เช่น แผนประกันกำหนดไว้ว่าผู้ป่วยจะมีส่วนร่วมจ่าย 30% ในทุกๆการรักษา หมายถึงการแอดมินเข้า รพ. ในทุกๆการเคลมสินไหม 10,000บาท ผู้ป่วยจะต้องจ่าย 3,000บาทเสมอ ซึ่งก็คาดการณ์ว่าจะทำให้แนวโน้มการเข้า รพ. โดยไม่จำเป็นลดลง
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ก็ยังไม่มีการยืนยันจากทาง คปภ. ออกมาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่ในอนาคตหากยังมีการเคลมสินไหมจากการรักษาที่ไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์แบบนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ เราก็อาจจะได้เห็นบริษัทประกันๆหลายๆที่ออกแบบและเปลี่ยนไปขายแบบ “มีส่วนร่วมจ่าย” มากขึ้น หรืออาจจะเป็น 100% ในที่สุด โดยไม่มีแบบเหมาจ่ายหรือ full coverage แล้วก็เป็นได้
ปล.สำหรับบางคนที่คิดว่าแล้วทำไม คปภ. ถึงจะเห็นด้วยกับการขายประกันแบบมีส่วนร่วมจ่ายล่ะ? ในเมื่อแบบนั้นมันเป็นผลเสียต่อผู้บริโภค ก็ต้องตอบแบบนี้ค่ะว่า การซื้อประกันแบบมีส่วนร่วมจ่ายก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันค่ะ เช่น
1.เบี้ยถูกลงมาก (เมื่อเทียบกับแบบ full coverage) ซึ่งจะทำให้คนทั่วไปเข้าถึงประกันสุขภาพได้มากขึ้น
2.เมื่อคนทั่วไปเข้าถึงประกันสุขภาพได้ง่ายขึ้น จะช่วยลดภาระของภาครัฐได้
3.จะมีการเรียกร้องสินไหมอย่างสมเหตุสมผลตามความจำเป็นของการรักษา
4.บริษัทประกันยังอยู่ต่อได้ ไม่ล้มเป็นโดมิโน่
แนนเองก็ไม่สามารถคอนเฟิร์มได้เหมือนกันค่ะว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแบบประกันเป็น “แบบมีส่วนร่วมจ่าย” ทั้งหมดจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือจะเกิดขึ้นตอนไหน ไม่อยากให้ตื่นตระหนกค่ะ แต่สำหรับคนที่มีประกันแบบเหมาจ่ายอยู่แล้ว ก็อยากให้กอดกรมธรรม์ไว้ให้แน่น อย่าขาดส่ง อย่าปล่อยให้กรรมธรรม์ขาดผลค่ะ และสำหรับคนที่กำลังลังเลว่าจะซื้อดีไหม แนนแนะนำว่าถ้ามีกำลังซื้อไหว…รีบซื้อไว้ก็ดีค่ะ เพราะเราก็คาดเดาอะไรไม่ได้เลย อย่างน้อยๆซื้อแผนเริ่มต้นไว้ก็ยังดีค่ะ
สุขภาพ
ประกันสุขภาพ
วางแผนการเงิน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย