Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Think Trade Think DITP
•
ติดตาม
20 ธ.ค. เวลา 01:00 • การตลาด
ส่อง ! ข่าววงการเครื่องดื่มและอาหารจีนในช่วงท้ายปีมังกร
วงการเครื่องดื่มและอาหารจีนยังคงมุ่งพัฒนามาตรฐานการผลิตไปสู่อาหารปลอดภัย อาหารเพื่อสุขภาพ และการชูจุดขายใหม่ ๆ ทั้งด้านนวัตกรรมและความมีเอกลักษณ์ของวัตถุดิบ/ส่วนผสม โดยในช่วงส่งท้ายปี 2567 พบว่ามีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์น้องใหม่
●
น้ำดื่มธรรมชาติสำหรับทารกและเด็ก
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 การ co-branding ระหว่าง Nongfu Spring และ Line Puppy เปิดตัวน้ำดื่มธรรมชาติ โดยใช้น้ำพุม้อหยาในภูเขาฉางป๋ายซาน ซึ่งเป็นน้ำพุใต้ดินหินบะซอลต์ภูเขาไฟ คุณภาพน้ำเป็นด่างอ่อน โซเดียมต่ำ มีมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบสากลและสถาบันวิชาชีพสำหรับน้ำดื่มสำหรับทารกและเด็ก และยังใช้การผลิตปลอดเชื้อมาตรฐานจุลินทรีย์สูง ซึ่งสามารถชงนมโดยไม่ต้องต้ม มีวางจำหน่ายแล้วในร้าน Fang Flagship Store บนแพลตฟอร์มเถาเป่า ราคา 56.6 หยวนต่อ 6 ขวด (เฉลี่ย ~47.15 บาทต่อขวด)
1
●
นมทุเรียน
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 YILI ได้เปิดตัวนมทุเรียนออกสู่ตลาดอย่าง โดยผลิตภัณฑ์นี้ใช้ทุเรียนหมอนทองของไทยและทุเรียนมูซางคิงของมาเลเซีย มีน้ำนมดิบมากกว่าร้อยละ 80 โดย 1 ลัง มี 18 กล่อง ราคา 89.9 หยวน (~449.50 บาท) ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่ชาวเน็ตพูดถึงอย่างมากบนแพลตฟอร์มเสี่ยวหงซู
●
ชามะลิรสส้มโอ C
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 Rangcha ได้มีการเปิดตัวชาปราศจากน้ำตาล ชามะลิรสส้มโอ C ใช้ชามะลิที่ปลูกในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตร ปราศจากน้ำตาลและแคลอรี่ คัดสรรน้ำส้มโอชั้นเยี่ยมจากฝูเจี้ยนที่มีรสเปรี้ยวหวาน โดยแต่ละขวดจะให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน และยังใช้กระบวนการบรรจุขวดเย็นปลอดเชื้อที่ยังคงกลิ่นหอมของดอกไม้และผลไม้และมีรสชาติเข้มข้น นอกจากชามะลิส้มโอแล้วก็ยังมีชาแดงมะนาวพีช ชาอู่หลงองุ่น ชาอู่จิงบ๊วย เป็นต้น
●
น้ำผลไม้เจาะตลาดเด็ก
เมื่อเร็วๆนี้ Taoji ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่น้ำผลไม้ขนาดเล็กที่เน้นปราศจากสารเติมแต่ง ซึ่งมีด้วยกัน 4 รสชาติ ได้แก่ น้ำส้ม น้ำบลูเบอรี่ น้ำสาลี่ปี่แป๋หรือผีผา น้ำส้มโอดอกสายน้ำผึ้ง ซึ่งวัตถุดิบคัดสรรมาจากแหล่งผลไม้ชั้นดีในจีน ไม่เพียงเติมส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก เช่น วิตามินซี ลูทีนเอสเตอร์ ไม่เพิมสารกันบูด essence, pigment,ซูโครส และสารให้ความหวาน มีขนาด 100 มิลลิลิตร มาพร้อมกับฝาเกลียว เพื่อให้ง่ายต่อการจับของมือเด็กๆ
●
ลาเต้ชีสไขมันต่ำ
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 Nowwa Coffee ได้เปิดตัวกาแฟลาเต้ชีส ที่ใช้นมไขมันต่ำและปราศจากน้ำตาลที่ดีต่อสุขภาพ และมีไดกลีเซอไรด์ที่ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ (ไดกลีเซอไรด์มีฤทธิ์ลดไขมันจากถั่ว ปลา และน้ำมันมะกอก สามารถลดปริมาณแคลอรี่ได้ 100 กิโลแคลอรี่) เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเพื่อสุขภาพ โดยแบรนด์ได้แนะนำว่ากาแฟนี้เทียบเท่ากับการออกกำลังกาย 30 นาที โดยวางจำหน่ายในราคา 16 หยวน (~80 บาท) ต่อแก้ว
2. มาตรฐานแห่งชาติ GB 2760-2024 ฉบับใหม่
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Commission : NHC) และ สำนักงานกำกับดูแลตลาดแห่งชาติ ZState Administration for Market Regulation : SAMR) ได้เผยแพร่ระเบียบการปรับปรุงมาตรฐานการใช้สารเติมแต่งอาหารฉบับใหม่ (GB 2760-2024) โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งมีการปรับปรุงคำจำกัดความของสารเติมแต่งอาหาร (Food additives) โดยครอบคลุมสารเคมีสังเคราะห์หรือสารธรรมชาติที่เติมลงในอาหารเพื่อปรับปรุงคุณภาพ สี กลิ่น
และรสชาติของอาหาร และเพื่อวัตถุประสงค์ในการถนอมอาหารและเทคโนโลยีการแปรรูป สารแต่งกลิ่น สารช่วยแปรรูป สารช่วยในอุตสาหกรรมอาหาร และสารเสริมคุณค่าทางโภชนาการ โดยข้อกำหนดดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของจีนได้เริ่มทยอยปรับตัว อาทิ ขนมปังแบรนด์ Toly ได้เริ่มทยอยปรับสูตร และยกเลิกการใช้โซเดียมดีโฮโดรอะซิเตทในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา
★
หมายเหตุ
โซเดียมดีโฮโดรอะซิเตท เป็นสารกันบูดที่ใช้ทั่วไปในขนมปัง ขนมอบ ผักดอง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปรุงสุก และอาหารอื่นๆอีก 12 ชนิด โดยมีสาระสำคัญการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1. ไม่สามารถใช้สารกันบูดเหล่านี้ในอาหารกระป๋อง บทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับการใช้สารกันบูดที่ถูกนำออกจากรายการใน GB 2760 ฉบับใหม่ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย:
– ข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ ε-poly-L-lysine hcl ในผลไม้กระป๋อง ผักกระป๋อง ถั่ว และเมล็ดพืช ถูกนำออก
– ข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ NisinCAS:1414-45-5 และε-poly-L-lysine hcl ในเชื้อราที่กินได้สาหร่ายกระป๋องและธัญพืชกระป๋อง ถูกนำออก
– บทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้ ε-polylysine, ε-poly-L-lysine hcl, NisinCAS:1414-45-5, sodium hydrogen di (หรือที่เรียกว่า sodium diacetate), potassium sorbate, กรดดีไฮโดรอะซิติก (หรือที่เรียกว่าSodium dehydroacetate) ในเนื้อกระป๋อง ถูกนำออก
– ข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ ClO2 ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำกระป๋อง ถูกนำออก
2. GB 2760 ฉบับใหม่ได้เพิ่มข้อจำกัดปริมาณการใช้สารให้ความหวานร่วมกัน
– แอสปาร์แตม ในหมวดอาหารอนุญาตให้ใช้ aspartame-acesulfame salt ร่วมกัน (ปริมาณ aspartame-acesulfame salt คูณด้วย 0.64 เท่ากับปริมาณของแอสปาร์แตม) โดยปริมาณที่ใช้ได้สูงสุดไม่เกินปริมาณมาตรฐานสุงสุดของแอสปาร์แตม
– aspartame-acesulfame salt: ในหมวดอาหารอนุญาตให้ใช้แอสปาร์แตมหรือ acesulfame ร่วมกันได้ โดยปริมาณที่ใช้ได้สูงสุดไม่เกินปริมาณมาตรฐานสุงสุดของแอสปาร์แตมหรือ acesulfame (aspartame-acesulfame salt*0.64 เท่ากับปริมาณของแอสปาร์แตม และ aspartame-acesulfame salt *0.44 เท่ากับ ปริมาณของ acesulfame)
3. จำกัดการใช้กรดดีไฮโดรอะซิติก/โซเดียมดีไฮโดรอะซิเตทในอาหาร 7 ชนิด เช่น ขนมอบ จากผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารของวัตถุเจือปนอาหารโซเดียมดีไฮโดรอะซิเตท โดยศูนย์ประเมินอาหารร่วมกับการตรวจสอบการใช้โซเดียมดีไฮโดรอะซิเตตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง GB 2760 ฉบับใหม่ลบบทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้กรดดีไฮโดรอะซิติก/โซเดียมดีไฮโดรอะซิเตทในเนย
และเนยเข้มข้นผลิตภัณฑ์แป้ง ขนมปัง ขนมอบ ไส้เบเกอรี่และเคลือบภายนอก ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สำเร็จรูป (Prefabricated meat products) และน้ำผักผลไม้ (กาก/เนื้อ) และปรับการใช้วัตถุเจือปนอาหารสูงสุดในผักดองจาก 1.0g/kg เป็น 0.3g/kg
4. จํากัดการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการแปรรูป ปรับจาก “รายการตัวช่วยในการแปรรูปที่สามารถใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหารต่างๆโดยไม่จํากัดสารตกค้าง” เป็น “รายการตัวช่วยในการแปรรูปที่ต้องระบุหน้าที่และขอบเขตการใช้งาน”
และกําหนดว่าตัวช่วยในการแปรรูปไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สามารถใช้เป็นสารขจัดซัลเฟอร์สารกําจัดสี desulfurizer decolourant และดีไอโอไดเซอร์ซึ่งสามารถใช้ในกระบวนการแปรรูปน้ำตาลและแป้ง กระบวนการแปรรูปน้ำมันและไขมัน กระบวนการแปรรูปสาหร่าย กระบวนการแปรรูปคอลลาเจนลำไส้ กระบวนการแปรรูปผงเวย์และผงเวย์โปรตีน
5. บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่ไม่จําเป็นและถูกนำออกจากรายการ จากการสอบสวนของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มตามหลักการที่ว่าการใช้วัตถุเจือปนอาหารควรเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับกระบวนการ บทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้ Natamycin ในเยื่อน้ำผักและผลไม้ ถูกนำออกด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิต
โดยคํานึงถึงหลักการของความจําเป็นของกระบวนการ กฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้ β-Carotene และ diacetyl tartaric acid ester of mono(di)glycerides ในสุรากลั่น ถูกนำออก และข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ azoformamide ในแป้งสาลี ถูกนำออก
ตามหลักการของความจําเป็นในกระบวนการบทบัญญัติสําหรับการใช้ตัวช่วยในการแปรรูป β-CD สําหรับนมพาสเจอร์ไรส์และนมสเตอริไลส์ได้ ถูกนำออก
ความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว
ตลาดเครื่องดื่มและอาหารจีนมีผู้ประกอบการจีนนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่หลากหลาย และยังคงเกาะติดกระแสการรักสุขภาพของผู้บริโภคมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการอย่างต่อเนื่อง และที่น่าสนใจ ก็คือ นมทุเรียนที่ได้ใช้วัตถุดิบทุเรียนไทย ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในคุณภาพของทุเรียนไทย และยังแสดงให้เห็นถึงความนิยมทุเรียนของชาวจีนจนทำให้ยักษ์ใหญ่แห่งวงการนมของจีนจับมาแข่งขันในตลาด
ซึ่งในช่วงกลางปีที่ผ่านมา แบรนด์ ‘หวางเหล่าจี๋’ ซึ่งเป็นผู้นำวงการเครื่องดื่มชาจีน ก็ได้มีการเปิดตัวเครื่องดื่มชาสมุนไพรรสทุเรียนไปแล้วเช่นกัน นอกจากนี้ การปรับปรุงมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้สารเติมแต่งในอาหารของจีนที่ผู้ประกอบการจีนเริ่มลงมือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ต้องการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขยายตลาดในจีน ต้องปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบฯ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายในจีนได้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว
อ่านเพิ่มเติม :
https://www.ditp.go.th/post/189608
ธุรกิจ
ข่าวรอบโลก
จีน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย