6 ธ.ค. 2024 เวลา 12:42 • หุ้น & เศรษฐกิจ

โค้งสุดท้ายสำหรับคนที่ไม่ได้วางแผนภาษี

ถึงเวลาแล้วล่ะที่ต้องทำ อย่าปล่อยให้กระชั้นมากไปกว่านี้จะบริหารไม่ทันเอานะ ไปเริ่มกันเลย:
1. สำรวจรายได้ว่าเรามีเงินจากแหล่งไหนบ้าง เงินเดือน โบนัส รับจ้าง และอื่นๆ ที่ต้องรวมมาคิดเป็นเงินได้พึงประเมินก่อนการคิดภาษี
พร้อมทั้งเก็บสลิป/หลักฐานที่มาของรายได้ให้ครบถ้วน
2. คำนวณหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนเบื้องต้น
ว่าเสียภาษีเท่าไหร่
รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 และวิธีคำนวณภาษี
3. พอได้เห็นรายการลดหย่อนก็จะพอนึกได้ว่าใช้สิทธิ์อะไรไปแล้วบ้าง และมีสิทธิ์ลดหย่อนอะไรอีกบ้างที่เรายังไม่ได้ใช้
นอกจากประกันชีวิต 1 แสนบาทแรกแล้ว
มาดูกันว่าเราซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีสูงสุดได้เท่าไหร่
4. สำรวจสภาพคล่องและหน้าตักของเราว่ามีความพร้อมในการซื้อส่วนลดหย่อนมากแค่ไหน เป็นเงินเย็นไม่ลำบากที่ต้องใช้เงินส่วนนี้เลย
เราแนะนำให้จัดการเรื่องภาษีตั้งแต่ต้นปี จะได้มีเวลาในการบริหารเงิน และทยอยซื้อส่วนลดหย่อนทุกเดือน
5. เมื่อเรามีเงินจำกัด ต้องวิเคราะห์ว่าเรามีเป้าหมายทางการเงินอะไรบ้าง เช่น ต้องการปิดความเสี่ยงทางการเงินด้วยประกัน วางแผนใช้เงินในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หรือเก็บเงินเพื่อใช้ยาม
เกษียณ
ลองดูโพสต์เหล่านี้ช่วยในการตัดสินใจ:
ทำประกันดีไหม? 🤔
จะหมดคำถามไปเลย ถ้ารู้จักหลักบริหารความเสี่ยง
เปรียบเทียบกองทุน SSF vs. RMF vs. TESG เลือกแบบไหนดี?
ถามกันเยอะ ส่วนลดหย่อนควรไปลงอะไรก่อน?
1. ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์
2. SSF RMF PVD ประกันบำนาญ กบข.
3. ThaiESG
ประกันออมทรัพย์vsTESG
SSF vs TESG
RMF vs TESG
วางแผนเกษียณ ถ้ามีเงิน 2 แสน เลือกอะไรดีระหว่าง RMF กับประกันบำนาญ
6. เมื่อตัดสินใจใช้สิทธิ์ซื้อส่วนลดหย่อนจากที่มีอยู่แล้ว ลองคำนวณภาษีอีกทีว่าเราประหยัดภาษีไปได้เท่าไหร่
โปรแกรมคำนวณภาษีอย่างละเอียด
แนะนำของกรุงไทย
อีกแบบใช้งานง่ายของKAsset
7. ติดต่อตัวแทนประกันเพื่อทำประกันให้ทันเวลา
และกดซื้อกองทุนให้ทันเดือนธ.ค. เราแนะนำให้ทำรายการให้เสร็จภายใน 20 ธ.ค. เพราะช่วงสิ้นปีมักจะมีวันหยุดของกองทุนต่างประเทศ และเผื่อว่ามีอุปสรรคในการทำรายการอื่นๆด้วย
8. แจ้งความประสงค์ในการลดหย่อนภาษีกับบริษัทประกัน และ บลจ.ที่เราซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี เพื่อให้ข้อมูลส่งไปยังสรรพกร
รวมลิงก์แจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี SSF RMF ทุก บลจ. ปี 2024 แบบดูง่าย ๆ ที่เดียวจบ by Finnomena
9. เก็บหลักฐานการซื้อส่วนลดหย่อนไว้
ในกรณียื่นภาษีช่วงต้นปี ข้อมูลไม่ตรงกับระบบของสรรพากร จะได้ขอแนบหลักฐานได้
10. ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ ติดต่อนักวางแผนการเงินให้ช่วยวางแผนการเงิน หรือขอคำปรึกษาว่าคำนวนภาษีได้ถูกต้องหรือไม่
เท่านี้ก็จะจัดการภาษีได้ทันสิ้นปีแล้ว
เด็กการเงิน
โฆษณา