9 ธ.ค. เวลา 03:30 • ธุรกิจ

Netflix กำลังทำตัวเหมือน YouTube เมื่อ 17 ปีก่อน

17 ปีก่อนหรือในปี 2007 คือช่วงเวลาที่ Netflix และ YouTube ตัดสินใจเลือกโมเดลธุรกิจที่ไปคนละทิศคนละทาง
ฝั่ง Netflix เริ่มให้บริการสตรีมมิงภาพยนตร์ ด้วยการเก็บค่าสมาชิกรายเดือน
ส่วนฝั่ง YouTube เริ่มแทรกโฆษณาลงไปคั่นระหว่างที่ผู้ใช้งานดูคลิปวิดีโอ
แต่มาวันนี้ ดูเหมือนว่าทั้งคู่พยายามทำตัวให้เหมือนอีกฝั่งเมื่อ 17 ปีก่อน..
Netflix กำลังทำตัวเหมือน YouTube
และ YouTube ก็กำลังทำตัวเหมือน Netflix
Netflix กับ YouTube กลับไปทำตัวเหมือนกันอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Netflix เกิดขึ้นจากไอเดียของชายที่ชื่อว่า Reed Hastings
ที่หัวเสียกับการเสียค่าปรับ เพราะคืนภาพยนตร์ที่เช่ามา จากร้าน Blockbuster ล่าช้า
กลายเป็นไอเดียเริ่มต้นของโมเดลธุรกิจของ Netflix ที่ต้องจ่ายค่าสมัครรายเดือน แล้วดูภาพยนตร์เท่าไรก็ได้ ในทุกที่และทุกเวลา
แม้ในช่วงแรก Netflix ทำได้แค่ส่งวิดีโอเทปไปให้ลูกค้าที่สมัครสมาชิกรายเดือน เพราะอินเทอร์เน็ตยังแรงไม่พอที่จะดาวน์โหลดหนังสักเรื่อง
สุดท้ายเมื่อทุกอย่างพร้อม อินเทอร์เน็ตแรงพอ Netflix
ก็เริ่มให้บริการสตรีมมิงภาพยนตร์ครั้งแรกได้ในปี 2007
ตัดภาพไปที่ YouTube ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2005
เพื่อให้ผู้ใช้งานอัปโหลดวิดีโอในการหาคู่เดต
แต่โมเดลนี้กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
YouTube เลยเริ่มใหม่ ด้วยการลองอัปโหลดคลิปวิดีโอสั้นที่เกี่ยวกับสัตว์ ผลปรากฏว่ากลายเป็นไวรัลโด่งดังขึ้นมา
ก่อนจะตามมาด้วยคลิปประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย
1
ซึ่งปีถัดมา YouTube ก็ถูก Google ซื้อไปด้วยมูลค่าถึง 57,000 ล้านบาท
ในตอนนั้น หลายคนบอกว่า Google บ้าไปแล้ว
เพราะยอมจ่ายเงินหลักหมื่นล้านบาท เพื่อซื้อธุรกิจเกิดใหม่ที่ยังไม่สามารถทำเงินได้เลย
1
ก่อนที่ในปี 2007 ปีเดียวกับที่ Netflix เปิดตัวบริการสตรีมมิงภาพยนตร์พอดี
YouTube ก็ได้เริ่มแทรกโฆษณาลงไปในวิดีโอ เพื่อหารายได้จากตรงนี้เป็นครั้งแรก..
จนกลายเป็นอีกเครื่องจักรผลิตเงินสดของ Google ในวันนี้
ซึ่งปี 2023 YouTube ทำเงินค่าโฆษณาไปได้กว่า 1,083,000 ล้านบาท
2
สรุปแล้วเมื่อ 17 ปีก่อน โมเดลธุรกิจของ Netflix มาจากการเก็บเงินค่าสมาชิกรายเดือน
ส่วน YouTube ใช้โมเดลธุรกิจเก็บค่าโฆษณาที่แทรกลงไปในวิดีโอ
โดยตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา Netflix ก็ใช้โมเดลธุรกิจแบบนี้มาตลอด และประสบความสำเร็จเรื่อยมา
จนกระทั่งในปี 2022 Netflix ก็เจอปัญหาใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
ตั้งแต่จำนวนสมาชิกที่จ่ายรายเดือนลดลง
ไปจนถึงการแข่งขันที่ดุเดือดจากแพลตฟอร์มสตรีมมิงเจ้าอื่นอีกมากมาย ที่ถาโถมเข้ามา เช่น Disney+, Amazon Prime, HBO
Netflix จึงเริ่มจำกัดการแชร์รหัสผ่านของคนที่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อตัดปัญหาการจ่ายแค่บัญชีเดียว แต่ดูด้วยกันหลายคนแทน
ที่น่าสนใจคือ Netflix เปิดตัวแพ็กเกจใหม่ที่ราคา
ถูกลงแต่มี “โฆษณาคั่น” เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้ผู้บริโภค โดยหวังเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น
1
ซึ่งตอนนี้ Netflix ก็กำลังเน้นโมเดลธุรกิจแบบนี้มากขึ้น..
ปัจจุบัน มีสมาชิกต่อเดือนกว่า 70 ล้านบัญชีที่ใช้บริการแพ็กเกจนี้ของ Netflix แม้ต้องทนกับโฆษณาที่มาคั่นระหว่างดูก็ตาม
ตรงนี้เอง ก็ไม่ต่างอะไรจากโมเดลธุรกิจของ YouTube เมื่อ 17 ปีก่อน ที่เน้นสร้างรายได้จากโฆษณา และมาวันนี้ Netflix กลับมาเดินตามรอยแทน
3
และไม่ใช่แค่ Netflix ที่กลับไปเดินตามรอย YouTube เท่านั้น เพราะฝั่ง YouTube เอง ก็กำลังเดินตามรอย Netflix ด้วยเช่นกัน
จากเดิมที่เน้นหารายได้ด้วยค่าโฆษณา ก็เปลี่ยนมาเน้นโมเดลสมาชิกรายเดือนแลกกับการไม่มีโฆษณาคั่น จนตอนนี้ YouTube Premium
มีจำนวนกว่า 100 ล้านบัญชีทั่วโลกแล้ว
1
แต่ถ้าลองวิเคราะห์เพิ่มเติม โมเดลธุรกิจของ Netflix ก็อาจดูได้เปรียบกว่า YouTube เพราะในตอนแรก คนที่จ่ายเงินเท่านั้น ถึงจะมีสิทธิ์ใช้บริการสตรีมมิงภาพยนตร์
ต่อมาการออกแพ็กเกจที่ถูกลงแต่มีโฆษณาคั่น ก็ช่วยให้ Netflix ดึงฐานลูกค้าใหม่ให้เข้ามาใช้งาน
ซึ่งในอนาคตลูกค้าก็อาจอัปเกรดเป็นแพ็กเกจที่แพงขึ้น
เพราะไม่อยากทนดูโฆษณาอีกต่อไป
ต่างจาก YouTube ที่เลือกโมเดลให้ทุกคนใช้งานได้ฟรี
ตั้งแต่แรก การเปลี่ยนมาใช้งานแบบพรีเมียมที่ไม่มีโฆษณา ก็อาจไม่จูงใจคนส่วนใหญ่ได้มากพอ ให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
พูดง่าย ๆ คือ Netflix ทำให้คนรู้สึกต้องจ่ายเงินตั้งแต่แรก
แต่ YouTube ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นของฟรีตั้งแต่แรกแล้ว
ถึงตรงนี้ เราคงต้องดูกันยาว ๆ ว่า การที่ Netflix ทำตัวเหมือน YouTube เมื่อ 17 ปีก่อน จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จไปไกลได้มากแค่ไหน
แม้บริษัทยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขว่า รายได้จากสมาชิกที่เลือกแพ็กเกจมีโฆษณาคั่น มากแค่ไหน
แต่เรื่องที่เรารู้แน่ ๆ ตอนนี้คือ Netflix กำลังทำตัวเหมือน YouTube ที่ไม่ใช่แค่การเลียนแบบโมเดลธุรกิจโฆษณาคั่นระหว่างการใช้งานเท่านั้น
แต่ยังเพิ่มความบันเทิงใหม่ ๆ เข้ามาต่อเนื่อง เช่น การถ่ายทอดสดกีฬา ยิ่งทำให้คอนเทนต์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม
มีความหลากหลายมากขึ้น
เรียกได้ว่า นี่เป็นสงครามระหว่างยักษ์ใหญ่ ที่กำลังแย่งเวลาของคนดูให้อยู่บนแพลตฟอร์มของตัวเอง
ซึ่งน่าจะยังต้องขับเคี่ยวระหว่างกันไปอีกนาน..
โฆษณา