Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนรู้วันละเรื่อง
•
ติดตาม
7 ธ.ค. เวลา 07:45 • หนังสือ
4 เสาหลักการสื่อสารที่จะช่วยให้เรามี"ความสัมพันธ์ที่ดี"
อ้างอิงจากหนังสือ: RAPPORT วิธีสร้างสัมพันธ์กับคนด้วยวิธีพูดและอ่านใจเพื่อควบคุมทุกสถานการณ์ให้ราบรื่นเป็นไปตามที่เราต้องการ
ผู้เขียน: Emily Alison, Laurence Alison
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้แนะนำการสื่อสารที่ดีที่จะช่วยให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นแบบที่ไม่จำเป็นได้
ในบทความนี้ ผมดรีมจากเรียนรู้วันละเรื่อง จะมาชวนทุกท่านคุยถึง H.E.A.R ที่เป็นเสาหลักของการสื่อสารที่ดีกันครับ
.
.
1. Honesty (ความซื่อสัตย์)
คือการกล้าพูดอย่างชัดเจน มีสติ มีเป้าหมาย ตรงไปตรงมา โดยที่ไม่เอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
จนเผลอพูดทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายและทำให้สถานการณ์แย่ลง รวมไปถึงการรักษาคำพูด
ซึ่งการพูดอย่างมีความซื่อสัตย์จะแบ่งออกเป็น 3 เสาหลักคือ
- ไม่ใช้อุบายล่อลวงและรักษาสัญญาเสมอ
- กล้าพูดอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาถึงสิ่งที่ต้องการ
- การที่เราไม่ตอบโต้ตามอารมณ์และความรู้สึก
เช่น
A: ที่รักครับ ผมต้องคุยกับคุณเพราะผมรู้สึกไม่สบายใจ ที่เมื่อวันก่อนตอนเราไปเจอเพื่อนที่ทำงานของคุณ ที่ชื่อ... เขาคอยเข้ามากอด หรือพยายามใกล้ชิดคุณมากเกินไปน่ะครับ
B: แต่ฉันกับเขาไม่ได้คิดอะไรเกินเลยกันนะคะ ฉันรักคุณคนเดียวเสมอนะ
A: ผมเข้าใจและรับรู้ได้ตลอดว่า คุณรักและเอาใจใส่ผมเสมอ แต่เรื่องนี้มันทำให้ผมไม่สบายใจจริงๆ ถ้าเป็นไปได้คุณช่วยลดความใกล้ชิดลงหน่อยนะครับ
.
.
2.Empathy (ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น)
คือการที่เราพยายามทำความเข้าใจในความคิด ความรู้สึกของอีกฝ่าย
จนลองคิดในมุมของเขาดูทำให้เกิดความเข้าใจถึงความคิดและการกระทำของเขามากขึ้น
การเข้าใจผู้อื่นแบ่งออกเป็น 3 ขั้นคือ
- ขั้นที่ 1 รู้จักตนเอง
คือการที่สามารถอธิบายได้ว่าตัวเรากำลังคิดและรู้สึกอย่างไรอยู่เมื่อเจอสถานการณ์หรือการที่เราแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา
- ขั้นที่ 2 ลองคิดว่าถ้าเราเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร
การที่เราคิดว่าถ้าตัวเราเองเป็นเขาจะช่วยให้เรามีความเข้าใจในอารมณ์และความรู้สึกที่เขาต้องเผชิญ
- ขั้นที่ 3 คิดในมุมมองของเขา
คือการที่เราคิดเหมือนว่าเราเป็นอีกฝ่าย โดยการตั้งคำถามว่าทำไมพวกเขาถึงทำแบบนั้น
จนทำให้เราคิดวิเคราะห์ผ่านค่านิยม ความเชื่อและคุณค่าที่เขายึดถือ
.
.
3.Autonomy (ความเป็นอิสระ)
มนุษย์ทุกคนย่อมรู้สึกดีที่จะมีอิสระในการเลือกหรือมีทางเลือก จนยอมทำตามมากกว่าที่จะถูกบังคับหรือตีกรอบและจำกัดทางเลือก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการต่อต้าน
ลองนึกภาพตัวเองที่ถูกบังคับหรือรู้สึกว่าไม่มีทางเลือกดู เราอาจจะทำตามก็ไม่เต็มใจทำใช่ไหมครับ
ซึ่งการทำให้คนรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระในการเลือก แบ่งออกเป็น 2 สิ่งก็คือ
- การที่เราทำหน้าที่เป็นผู้นำทางไม่ใช่คนที่ออกคำสั่ง โดยจูงใจผ่านคุณค่าหรือสิ่งที่เขายึดถือ จนเขายอมทำตาม
เช่น คนที่ป่วยเป็นเบาหวาน อยากจะหายดีเพื่อกลับมาเล่นฟุตบอลกับหลานอีกครั้ง
หมอที่รักษาก็กระตุ้นและจูงใจให้เขารักษาตัวเองอย่างเต็มที่ ผ่านความฝันที่จะกลับมาเล่นกับหลานอีกครั้ง
- การที่เราเคารพสิทธิและการเลือกของอีกฝ่าย โดยที่ไม่เข้าไปบีบบังคับเพราะมันจะทำให้เกิดแรงต้านทางความคิด จงให้ช่องว่างเพื่อให้เขาทำการตกผลึกและเลือกด้วยตัวเอง
.
.
4.Reflection(การสะท้อนความคิด)
คือการที่เราตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดและพูดซ้ำหรือเรียบเรียงคำพูดนั้นขึ้นมาใหม่
โดยเลือกเรื่องที่เราสนใจและอยากรู้เพื่อให้อีกฝ่ายขยายความในสิ่งนั้นจนเรามีความเข้าใจในตัวเขามากขึ้น
เช่น
A: เมื่อวาน ฉันไปฉลองกับครอบครัวมา เพราะมีเรื่องดีๆเกิดขึ้นกับฉันน่ะ
B: ว้าว ดีจังเลย มีเรื่องอะไรดีๆเกิดขึ้นกับเธอหรอ
A: ฉันสอบเป็นข้าราชการผ่านน่ะ พ่อแม่ฉันภูมิใจมากเลย!
การสะท้อนความคิดคือสิ่งที่จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเรามีความเข้าใจและตั้งใจฟังเขาจริงๆ ดังนั้นจงใช้มันให้ดีนะครับ
.
.
ใครที่อยากมี Community ดีๆที่ทำให้เราเติบโตขึ้นเสมอและอยากเรียนรู้เรื่องการเงิน
ผ่านคลาสเรียนเรื่องเงินฟรีและการเล่นเกมกระแสเงินสด สามารถกดลิงค์ใน Comment ได้เลยนะครับ
.
.
นี่เป็นแค่ส่วนเล็กๆจากความรู้ในหนังสือที่ผมได้ตกผลึกมาเท่านั้น ถ้าอยากได้ความรู้แบบจัดเต็ม ลองซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันได้นะครับ
ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ ผมขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่าน ที่เสียสละเวลามีค่าของท่านมาอ่านบทความนี้ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้นนะครับ
.
.
ถ้าท่านใดมีคำติชมหรือความเห็นก็สามารถ Comment ไว้ได้เลยนะครับเราจะได้เรียนรู้มุมมองใหม่ๆไปด้วยกันนะครับ
พิกัดหนังสือ:
https://s.shopee.co.th/tkgYeXKE
จิตวิทยา
หนังสือ
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย