8 ธ.ค. เวลา 13:25 • ไลฟ์สไตล์

‘‘...*พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาน้อย ๆ

แต่เราไปเข้าใจว่าต้องทำมาก ต้องรักษาศีล-ต้องให้ทาน
ดีแล้วทำอย่างนั้น แต่มันไม่เข้าใจจุดสำคัญ*
**ที่หลวงพ่อนำมาพูดให้ฟังวันนี้ ก็เลือกเอาแต่จุดสำคัญ**
นำมาพูดให้พวกหนูฟัง เพราะเวลามีน้อย
หลวงพ่อก็ไม่สบาย พูดมากไม่ค่อยได้
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า*‘สัตว์ทั้งหลายคือเราตถาคตเหมือนกัน
แต่เมื่อยังไม่รู้-ไม่เข้าใจ ก็เที่ยวเสาะแสวงหาอาจารย์
ให้ครู-อาจารย์แนะนำ จนได้รู้เท่าที่ท่าน(ครู-อาจารย์)รู้’
ท่านจึงว่า‘สัตว์ทั้งหลายคือเราตถาคต
สัตว์ทั้งหลายเหมือนกันกับเราตถาคต แต่เมื่อไม่รู้-ก็มีทุกข์’*
**บัดนี้เมื่อท่านรู้แล้ว ‘สัตว์ทั้งหลาย-เราผู้เป็นตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น
แล้วจึงนำมาสอนพวกเธอทั้งหลาย ให้พวกเธอทั้งหลายทำอย่างเราตถาคตนี้
ปฏิบัติอย่างเราตถาคตนี้ ก็จะรู้-จะเห็น-จะเป็น-จะมีอย่างเราตถาคต’**
ดังนั้น**จิตใจที่ว่าง ๆ-จิตใจที่ไม่ทุกข์-จิตใจที่สงบ
เรียกว่า‘อุเบกขา’นั้น มีอยู่แล้วในคนทุกคน**
*แต่เราไม่เคยศึกษาที่ตรงนี้
แล้วก็ไปดูคนนั้น ดูแข้งดูขา-ดูหน้าดูตา...สวย-ไม่สวย
ไปดูแล้ว มันก็ลืมตัวไป*
**ถ้าหนูดูคนนั้นบ้าง พร้อมกับมีสติควบคุมจิตใจนึกคิดไว้บ้าง
ก็จะเป็นการศึกษาธรรมะไปในตัว**
คำว่า‘ธรรมะ’นั้น
อย่าเข้าใจว่าเป็นตัวหนังสือ หรือเป็นวัด-เป็นอื่น ๆ ไป
ไม่ใช่อย่างนั้น
‘ธรรมะ’ คือการกระทำนั้นเอง
ทำดีเป็นธรรมะ-พูดดีเป็นธรรมะ-คิดดีเป็นธรรมะ
ทำไม่ดีเป็นอธรรม-พูดไมดีเป็นอธรรม-คิดไม่ดีเป็นอธรรม
อธรรมก็เป็นอกุศล ก็บาป-ก็ทุกข์นั่นเอง
ท่านจึงว่า‘มนุสสเปโต’ มนุษย์นี่เองเป็นมนุษย์เปรต-ทำไม่ดี
มนุสสติรัจฉาโน-มนุษย์เดรัจฉาน มนุษย์นรกก็มี-มนุษอสุรกายก็มี
ดังนั้น**การทำ-การพูด-การคิด จงมีความละอายในใจ-ให้รู้สึกตัว**
หากทำ-พูด-คิด ไม่มีความละอายในใจ-ก็ไม่ใช่คน
หน้าตา-แข้งขา-มือเท้าเป็นคน
แต่จิตใจอาจเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ เพราะไม่มีความละอาย
ความละอายในโลกนี้ อะไรจะละอายมากไปกว่าความไม่รู้สึกตัว ?
ไม่มีเลย
เพราะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้นเอง *ที่มันไม่รู้สึกตัว
พออยากจะทำอะไร ก็ทำไปตามใจชอบ*
มันไม่ได้คิดเห็นว่าสภาพหรือภาวะสิ่งแวดล้อมสมัยนี้เป็นอย่างไร ?
มันไม่คิดเลย
อย่างสุนัขบ้านหลวงพ่อเรียกว่า‘หมา’ ทางนี้อาจเรียกว่า‘สุนัข’ก็ได้
มันอยากถ่ายอุจจาระที่ไหน-มันก็ถ่าย อยากปัสสาวะที่ไหน-มันก็เอาเลย
คนไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ถ้าคนจริง ๆ ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น
ดังนั้น**การทำ-การพูด-การคิด ต้องดูถึงจิตใจ**
เมื่อคิดสิ่งที่ไม่สมควร ไม่ต้องพูด-ไม่ต้องทำ
หักห้ามจิตใจได้ เขาเรียกว่า‘เป็นมนุษย์’
‘มนุษย์’จึงแปลว่าผู้มีจิตใจสูง คือมนุสสมนุสโส
มนุษย์ก็คนนี่เอง เป็นใหญ่ในคน
มนุสสเทโว-มนุษย์เป็นเทวดาก็ได้ ก็คนนี่เองเป็นเทวดา
**ขอให้พวกเราศึกษาให้ถึงจิตใจ
เพราะจิตใจมันมีในคนทุกคน ไม่ยกเว้น
หนุ่ม ๆ-สาว ๆ อย่างหนูก็มีจิตใจ
คนเฒ่า-คนแก่ก็มีจิตใจ เด็ก ๆ ก็มีจิต-มีใจ
ผู้หญิง-ผู้ชายก็มีจิต-มีใจ พระสงฆ์องค์เณรก็มีจิต-มีใจ
ธรรมะแท้จึงคือสิ่งเดียวกันนั่นเอง มีอันเดียวเท่านั้น-คือพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าคือคนทุกคน**
ถ้าเราไปโกรธคน-ก็ไปโกรธพระพุทธเจ้าแล้ว เราก็ไม่มีธรรมะในใจ
เราไปโกรธคน-ก็ไปโกรธธรรมะแล้ว ก็ไม่มีธรรมะในใจ
ถ้าเราเห็นว่าธรรมะคือตัวคน เราก็ไม่ต้องไปโกรธคน
ถ้าเราเห็นจิตใจมันสะอาด-สว่าง-สงบ คือพระพุทธเจ้า
เราก็ต้องไม่ไปโกรธพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น**พระพุทธเจ้าก็คือคนธรรมดา ให้ทุกคนศึกษาอย่างนี้**...”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว...รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_
โฆษณา