8 ธ.ค. 2024 เวลา 15:12 • หุ้น & เศรษฐกิจ

อธิบายปัญหา ภาษีไทย แบบเข้าใจง่ายที่สุด

- รู้ไหมว่าตอนนี้เราเดินเจอคนไทย 17 คน ในบรรดาคนที่เจอทั้งหมด 16 คนจะไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมีแค่ 1 คนเท่านั้นที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..
6
ข้อเท็จจริงคือ
คนไทย 66 ล้านคน มี 10 ล้านคนที่อยู่ในระบบภาษี และมีเพียง 4 ล้านคนเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตัวเลข 4 ล้านคนจาก 10 ล้านคนอาจไม่แปลก เพราะคนส่วนใหญ่อาจมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์
แต่สิ่งที่แปลกคือ มีคนอยู่ในระบบภาษี 10 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
2
ดังนั้นแปลว่าประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ไม่ได้อยู่ในระบบแบบมหึมา เป็นสัดส่วนที่ใหญ่เมื่อเทียบกับ GDP ในระบบ
3
แล้ว 56 ล้านคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีทำอะไรกันอยู่บ้าง ?
1. เป็นบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในวัยทำงาน หรือว่างงาน
2. เป็นบุคคลที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ
3. เป็นเจ้าของกิจการที่ไม่ได้เอากิจการเข้าไปอยู่ในระบบ เช่น ไม่ได้จัดตั้งบริษัท
1
หมายความว่าถ้าขอสัก 10 ล้านคนใน 56 ล้านคน หรือแค่ 1 ใน 5 เข้ามาอยู่ในระบบ รัฐจะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่มเป็น 2 เท่า ทันที..
3
ต้องบอกก่อนว่า
ตอนนี้รัฐบาลมีงบประมาณที่ขาดดุล
ปีงบประมาณ 2567
มีรายได้ 2,780,000 ล้านบาท
แต่มีค่าใช้จ่าย 3,270,000 ล้านบาท
2
รัฐหาเงินไม่พอจ่าย
มีทางเลือกอยู่ 3 ทาง
1. ลดรายจ่ายลง
2. เพิ่มรายได้
3. กู้เพิ่มมาโปะส่วนต่าง
1
หากไม่อยากกู้เพิ่มแล้วเพราะชนเพดาน และหากไม่อยากลดรายจ่าย ก็ต้องเพิ่มรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่รายได้มาจากภาษี
ล่าสุดมีข่าว รัฐต้องการปฏิรูปอัตราภาษี 15/15/15
ซึ่งก็คือ VAT 15% ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 15% และภาษีเงินได้นิติบุคคล 15%
เมื่อไปดูรายการภาษีที่มีรายได้มากสุด 3 อันดับแรกของรัฐ หวยก็มาออก 3 รายการนี้พอดิบพอดี..
งบประมาณปี 2567
อันดับ 1 VAT รัฐเก็บได้ 950,000 ล้านบาท
อันดับ 2 ภาษีที่เก็บจากนิติบุคคล 780,000 ล้านบาท
อันดับ 3 ภาษีที่เก็บจากบุคคล 420,000 ล้านบาท
เริ่มจาก VAT รายการใหญ่สุดคิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้รัฐบาลเลยทีเดียว
เรียกได้ว่า ใหญ่ขนาดนี้ ถ้ารัฐอยากได้รายได้เพิ่มง่ายที่สุด ก็คือการปรับ VAT ขึ้น
เพราะการเก็บเพิ่ม VAT ทุก ๆ 1 % รัฐจะมีรายได้เพิ่มถึงปีละ 135,000 ล้านบาท 😲
เช่นถ้า VAT เพิ่มจาก 7% ในตอนนี้ เป็น 10% รัฐจะมีรายได้เพิ่ม 400,000 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
มาถึงตรงนี้ทุกคนคงรู้แล้วว่าทำไมรัฐถึงอยากเพิ่ม VAT มาก และอย่างที่หลายคนบอก VAT ของประเทศไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ สามารถขึ้นได้ถึง 10% (แต่ 15% ก็อาจจะเป็นตัวเลขที่โอเวอร์เกินไป)
5
ต่อมาภาษีเงินได้นิติบุคคล
1
มีคำถามเดียวสำหรับรายการนี้ คุณคิดว่าคนที่คุณรู้จักรอบตัวคุณที่เปิดบริษัท เขาจะทำบัญชีแบบไหนระหว่าง
1. มี 2 บัญชี ยัดค่าใช้จ่ายตัวเองเข้าไปในค่าใช้จ่ายในบริษัทเยอะๆ ให้กำไรบาง ๆ บริษัทจะได้เสียภาษีน้อย ๆ
2. หรือมีบัญชีเดียว ตรงไปตรงมา และยินดีเสียภาษีตามที่บริษัทกำไรจริง
ไม่ต้องบอกก็คงรู้กันดีว่า กิจการส่วนใหญ่เป็นแบบไหน
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐเก็บได้ตอนนี้ มักจะเก็บได้จากบริษัทใหญ่ ไม่ใช่เก็บได้จากบริษัทเล็ก
2
โจทย์ของรัฐก็คือ จะทำอย่างไร
1. ให้คนที่มีกิจการแต่ไม่ได้จัดตั้งบริษัท ให้จัดตั้งบริษัทและอยู่ในระบบ
2. ให้คนที่มีบริษัทแล้วมีบัญชีเดียว มีค่าใช้จ่ายจริง มีกำไรจริง ไม่ยัดค่าใช้จ่ายเข้ามาในบริษัท
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 15% หรือ 20% คงไม่ได้มีผลมากนักในการจูงใจให้คนใน 2 ข้อด้านบนทำถูกต้องมากขึ้น เพราะคนที่อยากจะหลบเลี่ยง จะ 20% หรือ 15% ก็จะหลบอยู่ดี แต่ก็อาจจูงใจได้บ้างสำหรับคนที่อยากเริ่มทำถูกต้อง และอาจเป็นปัจจัยที่จูงใจบริษัทข้ามชาติให้มาตั้งสำนักงานในไทยได้บ้าง
4
ข้ออ้างยอดฮิตของคนประเภทนี้จะบอกประมาณว่า “ฉันก็อยากจะเสียภาษีให้รัฐนะ แต่รัฐเอาไปใช้อะไรก็ไม่รู้ ฉันเลยไม่อยากเสีย”
🙄
9
ดังนั้นของพวกนี้มันอยู่ที่ระบบตรวจสอบ และการสร้างค่านิยมให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทรุ่นใหม่ ๆ จะพยายามทำบัญชีเดียวและถูกต้องกันมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยมาก
รายการสุดท้าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อย่างที่ได้บอกไปแล้ว โดยเฉลี่ยแล้วเดินไปตามท้องถนนในประเทศไทย 17 คน จะมีคนเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแค่ 1 คน
1
ใน 66 ล้านคน มี 56 ล้านคนที่อยู่นอกระบบภาษี..
ข้ออ้างยอดฮิตของคนประเภทนี้จะบอกประมาณว่า “ฉันเสีย VAT แล้ว ถือว่าเสียภาษีแล้ว ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฉันขอไม่ยื่นภาษี ไม่อยากโดนตรวจสอบ”
🙄
1
รัฐจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ยอมเสียภาษี ?
1
การลดภาษีบุคคลธรรมดาเป็นอัตราเดียว 15% ก็อาจจะเหมือนกรณี ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ต่อให้กี่ % ก็ไม่อยากอยู่ในระบบอยู่ดี
แต่ก็อาจจูงใจให้คนที่มีเงินได้มากบางรายยอมเข้าระบบ รวมไปถึงดึงดูดบุคคลต่างชาติที่มีเงินได้สูงย้ายเข้ามาในประเทศไทย
1
กลับมาดูตัวเลขอีกครั้ง
อันดับ 1 VAT รัฐเก็บได้ 950,000 ล้านบาท
1
อันดับ 2 ภาษีที่เก็บจากนิติบุคคล 780,000 ล้านบาท
อันดับ 3 ภาษีที่เก็บจากบุคคล 420,000 ล้านบาท
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าลดจาก 20% เหลือ 15% รายได้ของรัฐจะหายไป 1 ใน 4 หรือเกือบ 200,000 ล้านบาทต่อปีทันที ซึ่งเสี่ยงเหมือนกันที่จะทำแบบนี้ และถ้าทำต้องมั่นใจจริง ๆ ว่า จะมีบริษัทเข้าระบบมากขึ้น หรือมีบริษัทต่างชาติมาตั้งสำนักงานมากขึ้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าลดเป็น 15% อัตราเดียว รายได้ก็น่าจะหายเป็นหลักแสนล้านบาทเช่นกัน แต่ถ้ามันทำให้อีก 56 ล้านคนที่อยู่นอกระบบ เข้ามาในระบบมากขึ้น มันก็อาจจะคุ้มค่าเสี่ยง เพราะตอนนี้มีคนอยู่ในระบบแค่ 10 ล้านคน คิดเป็นช่องว่างให้จำนวนคนเติบโตอีกตั้ง 5 เท่า..
1
ทั้งหมดนี้ ถ้าผู้อ่านรู้ตัวว่าเป็นหนึ่งในคนที่อยู่นอกระบบ ทั้งตัวบุคคลเอง และกิจการเอง คิดว่าจะทำอย่างไร ตัวเองถึงจะยอมเสียภาษี ก็ลองแสดงความคิดเห็นกันมาได้
2
เพราะปัญหาหลักของเรื่องนี้มันมีอยู่แค่ว่า
1
จะทำอย่างไร ให้คนไทยทุกคนและทุกบริษัท อยู่ในระบบภาษี นั่นเอง.. 😂
5
โฆษณา