19 ธ.ค. เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

✨คำนวณภาษีด้วยตัวเองง่ายๆได้อย่างไร?✨

📌 เงินได้ที่ต้องเสียภาษีมีอะไรบ้าง?
เงินได้ที่ต้องเสียภาษี คือ เงินได้หรือรายได้ที่เราได้รับจากการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เป็นต้น
✅ รายได้ รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคาจนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่นๆ
✅ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักค่าใช่จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยไม่เกิน 100,000 บาท
✅ ค่าลดหย่อนภาษี สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน ครอบครัว การลงทุน กองทุน หรือประกัน
✅ อัตราภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น
📌 วิธีคำนวนภาษี
✅ หารายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
วิธีหารายได้ต่อปี คือ เงินเดือนทั้งปี + รายได้อิสระทั้งปี = รายได้ต่อปี
วิธีการหักค่าใช้จ่าย คือ รายได้ x 50% = รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย หรือ รายได้ - 100,000 = รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
✅ หารายได้สุทธิหักค่าลดหย่อนภาษี
วิธีการหารายได้สุทธิ คือ รายได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
✅ นำมาหักภาษีแบบขั้นบันได
นำรายได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำรายได้ได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ โดยอัตราภาษีเพิ่มขึ้นตามเงินได้สุทธิที่มากขึ้น
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามขั้นบันได) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
📌 อัตราภาษีแบบขั้นบันได
0 – 150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิการลดหย่อนภาษีได้ที่ : https://www.facebook.com/share/p/DqFydo68opkzdAwo/
#คำนวณภาษี #ภาษี #การลงทุน #ลดหย่อนภาษี #SSF #RMF #ประกัน #ประกันสังคม #ประกันสุขภาพ #บริจาค
#ASL #ASLSecurities
โฆษณา