Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สร้างบ้าน บ้าน
•
ติดตาม
9 ธ.ค. 2024 เวลา 05:14 • บ้าน & สวน
ลำปาง
ขั้นตอนสำคัญเพื่อสร้างบ้านอย่างมีมาตรฐาน
1. เตรียมพื้นที่สร้างบ้าน
ขั้นตอนแรกที่ต้องทำก่อนก่อสร้างบ้านคือการเตรียมพื้นที่สร้างบ้าน เพื่อดำเนินการต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการก่อสร้างบ้าน
- ตรวจสอบระดับดินและความแข็งแรงของเนื้อดินให้ได้ตามแบบที่สถาปนิก วิศกร ออกแบบไว้เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆภายหลัง
- ตรวจสอบระยะร่นให้ถูกต้องตามแบบขออนุญาต
- กำหนดจุดกองเก็บอุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานก่อสร้าง รวมถึงเตรียมที่พักคนงานกรณีคนงานไม่ได้พักอาศัยใกล้ที่ก่อสร้าง ตามผัง
- ดำเนินการในเรื่องการขอน้ำ-ไฟฟ้า ชั่วคราว สำหรับใช้ในงานก่อสร้าง
2. กำหนดผังอาคาร
การวางผังอาคารจะเป็นการกำหนดตำแหน่งต่างๆ ของเสาเข็ม ซึ่งจะอ้างอิงจากแบบบ้านเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างเข้าใจตรงกัน ทั้งเจ้าของบ้าน สถาปนิก วิศวกร และทีมก่อสร้าง
ในขั้นตอนนี้จะทำให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคหน้างาน ไม่ว่าจะเป็นแนวต้นไม้ใหญ่ แนวเสาเข็มของบ้านหลังเก่า หรือตำแหน่งของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงและมีผลกับตัวบ้าน ซึ่งขั้นตอนนี้อาจมีผลให้เกิดการปรับแบบหรือการแก้ไขต่างๆ ที่จะดำเนินการได้ต้องมีผู้ออกแบบบ้านเซ็นชื่อรับรองและเจ้าของบ้านรับทราบและยอมรับเพื่อให้งานในขั้นตอนต่อไปเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อแบบภายหลัง
3. งานฐานรากและโครงสร้างชั้นล่าง-ชั้นบน
เมื่องานเสาเข็มเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนของงานโครงสร้างฐานราก ที่ประกอบด้วยฐานรากและตอม่อ จากนั้นจึงจะต่อด้วยขั้นตอนของโครงสร้างชั้นล่าง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับส่วนของคาน คานคอดิน เสา พื้น
ส่วนโครงสร้างชั้นบนจะเกี่ยวข้องกับเสา คาน คานหลังคา รวมถึงการหล่อชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งบัว กันสาด หรือขอบปูน ซึ่งแต่ละส่วนต้องใช้เวลาให้คอนกรีตเซตตัวก่อน แล้วจึงจะขึ้นโครงหลังคา ซึ่งปัจจุบันโครงหลังคามีหลากประเภท เช่น โครงหลังคาเหล็ก โครงหลังคาสำเร็จรูป
นอกจากนี้ยังมีส่วนของงานวางระบบสุขาภิบาล เช่น บ่อพัก ถังเก็บน้ำใต้ดิน ระบบน้ำทิ้ง ท่อประปา ซึ่งจะเป็นการขุดดินเพื่อวางระบบ และดำเนินการติดตั้งให้เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นหากทีมสร้างบ้านไม่ได้ทำข้อมูลตำแหน่งต่างๆ ไว้ เจ้าของบ้านควรถ่ายรูปและจดบันทึกรายละเอียดตำแหน่งๆ และระยะของงานระบบไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงกรณีที่มีการซ่อมแซมในอนาคต
ในขั้นตอนนี้สิ่งสำคัญคือจะต้องมีการตรวจสอบระยะให้ได้ตามแบบที่กำหนดตั้งแต่ฐานราก เสา ตรวจจำนวนเหล็ก การ ต่อทาบเหล็ก ระยะหุ้มเหล็ก การเข้าแบบ ให้ได้ดิ่งได้ฉาก หากไม่มีความรู้ด้านนี้ควรจ้างที่ปรึกษาเช่น สถาปนิก หรือวิศวกรช่วยตรวจสอบในแต่ละครั้งก่อนเทปูนเพื่อความถูกต้อง
4. โครงสร้างหลังคา งานมุงหลังคา
ขั้นตอนของการติดตั้งมุงหลังคา ซึ่งต้องมุงตรวจขนาดเหล็กระยะห่างแป จันทัน อะเสให้ถูกต้องตามแบบ หากเป็นเหล็กตวรจการพ่นหรือทาสีในส่วนต่่างให้ละเอียด ก่อนเริ่มมุงหลังคา เมื่อมุงหลังคาเสร็จตรวจสอบแนวรอบต่อกระเบื้อง ให้ได้แนวฉากแนวเอียงตามองศาที่กำหนด ทำความสะอาด และทำการทดสอบ โดยการปล่อยน้ำลงด้านบนหาแนวรั่วซึม ทั้งนี้ต้องรอทดสอบจริงเมื่อมีฝนตกอีกครั้ง เพราะฉนั้น ควรมีการรับประกันงานอย่างน้อย 1 ปี
5. งานก่อผนังฉาบปูน
งานก่อผนังที่ได้รับความนิยมจะเป็นผนังก่ออิฐ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ผนังก่ออิฐโชว์แนว เป็นผนังที่มีการก่ออิฐเรียงกันโดยไม่มีการฉาบปูนทับ และผนังก่ออิฐฉาบปูน เป็นผนังที่ใช้อิฐก่อขึ้นแล้วฉาบทับด้วยปูนเพื่อความเรียบร้อย
การทำผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะไหน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ตรวจสอบว่าได้มีการเตรียมเหล็กหนวดกุ้งยื่นออกมาจากเสา เพื่อยึดประสานระหว่างเสาและผนังบ้านแล้วหรือยัง เพื่อป้องกันการร้าวของผนัง ตามมุมผนังและรอยต่อผนังที่เป็นวัสดุที่ต่างชนิด ใช้ลวดกรงไก่บุผนังก่อนฉาบปูน เพื่อยึดและป้องกันการแตกร้าว
นอกจากนี้ยังมีหลักปฏิบัติที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้งานผนังมีมาตรฐาน เช่น
อิฐที่นํามาก่อผนังต้องชุบน้ำจนอิ่มตัวก่อน เพื่อไม่ให้ดูดน้ำจากปูนก่อเร็วเกินไป
การก่อต้องก่อสลับแนวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เว้นระยะระหว่างแถวเท่ากัน โดยไม่น้อยกว่า 1 ซ.ม. และไม่เกิน 1.5 ซ.ม.
อิฐที่ก่อต้องได้แนวทั้งทางดิ่งและระดับ
เศษอิฐที่ก่อไม่เต็มก้อนให้ก่อไว้ริมเสา
ก่อนฉาบปูนต้องทำความสะอาดผิวและราดน้ำให้เปียก ก่อนฉาบผิวคอนกรีตต้องกะเทาะให้ผิวหยาบ
ปูนที่ฉาบผิวเสร็จแล้วมองดูต้องไม่เป็นคลื่น
น้ำเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความแข็งแกร่งของปูน ดังนั้น เพื่อให้เนื้อปูนมีน้ำเพียงพอต่อการทำปฏิกิริยา ควรมีการรดน้ำผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อไปอีก อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 3-7 วันหลังฉาบเสร็จ การรดน้ำหรือบ่มน้ำ ก็เพื่อที่จะช่วยให้เนื้อปูนไม่เสียน้ำเร็วเกินไป จนเกิดการแตกร้าวลายงาได้ จึงเป็นอีกขั้นตอนที่ไม่ควรละเลย .
6. ติดตั้งฝ้าเพดาน
กำหนดความสูงของฝ้าเพดานตามต้องการ จากนั้นจึงติดตั้งฝ้าเพดานตามมาตรฐานให้แล้วเสร็จ สิ่งสำคัญคือต้องมีการระบตำแหน่งไฟกับตำแหน่งโครงเคร่าฝ้าไม่ให้ตรงกัน
หากมีการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โคมไฟ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับฝ้าเพดานที่มีน้ำหนักมาก ควรมีเสริมโครงคร่าวฝ้าเพดาน หรือยึดแขวนกับโครงสร้างหลักของบ้าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและปลอดภัย
การติดตั้งช่องเซอร์วิส ที่จะใช้เปิดเวลาเข้าไปตรวจสอบหรือบำรุงรักษางานระบบต่างๆ โดยควรอยู่ในบริเวณที่ไม่เป็นจุดสังเกตมาก เช่น ห้องครัว หรือห้องน้ำ
7. งานติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งพื้นผิว ผนัง ประตู-หน้าต่าง
งานในส่วนนี้ต้องอาศัยความละเอียดความชำนาญของช่าง หากมีแบบการติดตั้งจากสถาปนิกจำทำให้ส่วนต่างมีความสวยงานเกิดปัญหาน้อย จึงควรทำความเข้าใจและเขียนแบบวัสดุต่างๆ ก่อน เช่นลวดลายหรือแนวกระเบื้องแต่ละห้องจะเริ่มจากด้านใดก่อนเศษที่เหลือจะจบแบบใหน ประตู หน้าต่างก็เช่นกัน
เมื่อขั้นตอนหลักๆ เสร็จสิ้นตามลำดับข้างต้น ก็ได้เวลาที่ต้องทำความสะอาดและตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อให้พร้อมสำหรับการเข้าอยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่บ้านที่สร้างโดยใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ มักไม่พบปัญหาในขั้นตอนท้ายๆ เพราะจะมีการสร้างและส่งงานเป็นงวดๆ เพื่อให้เจ้าของบ้านตรวจสอบและแจ้งแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ทำให้บ้านสร้างเสร็จสมบูรณ์และมีมาตรฐาน
facebook.com
สร้างบ้านลำปาง รับเหมาโครงสร้าง LPH | Lampang
สร้างบ้านลำปาง รับเหมาโครงสร้าง LPH, Lampang. 10,093 likes · 3 talking about this. บริการออกแบบบ้าน ก่อสร้างบ้าน รับเหมางานโครงสร้าง บ้านลำปาง งานระบบไฟฟ้า งานประปา งานสี งานหลังคา ให้คำปรึกษาฟรี
เยี่ยมชม
บ้าน
อสังหาริมทรัพย์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย