Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
9 ธ.ค. 2024 เวลา 05:21 • ประวัติศาสตร์
“Cobra Effect” คำที่มีที่มาจากความหัวหมอของชาวอินเดีย
“Cobra Effect” คือการคิดแก้ปัญหาแบบเป็นเส้นตรงจนเกินไป ทำให้ลืมนึกถึงผลที่อาจตามมาจากการแก้ปัญหาเช่นนั้น โดยเวลามีปัญหาเกิดขึ้น สมองของเราชอบคิดตรงไปที่อะไรสามารถแก้ปัญหานั้นได้ และพอเราได้ทางแก้ให้ปัญหาแล้ว เราเลือกที่จะตรงไปที่ทางแก้นั้นก่อนเลยจนลืมถอยหลังกลับมามองภาพใหญ่
แต่คำว่า Cobra Effect นี้มีที่มาอย่างไร?
อันที่จริง มันเริ่มมาจากความหัวหมอของชาวอินเดีย
เรื่องราวเป็นอย่างไร ผมจะเล่าให้ฟังครับ
ย้อนกลับไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กรุงเดลี ประเทศอินเดีย คือเมืองที่เป็นเหมือนเมืองหลวงของงูเห่า
ทั่วทั้งเมืองเต็มไปด้วยงูเห่าพิษร้ายแรง และอังกฤษซึ่งปกครองอินเดียในฐานะเจ้าอาณานิคม ก็คิดว่าต้องทำอะไรซักอย่างแล้ว
ด้วยความที่งูเห่ามีมากเหลือเกิน ในขณะที่คนล่างูก็มีไม่เพียงพอ ทางการอังกฤษจึงตั้งค่าหัวงูเห่า หากใครสังหารงูเห่าได้และนำซากมาโชว์ให้ทางการดู ก็จะได้รับเงินรางวัล
ทางการอังกฤษคิดว่านี่คือวิธีการแก้ปัญหาชั้นดี หากแต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม
ในแต่ละวัน ชาวบ้านชาวอินเดียมักจะนำซากงูเห่ามาแสดงให้ทางการเห็นเสมอและรับเงินรางวัลไป จำนวนงูเห่าก็ลดลงมาก เมืองเริ่มมีความปลอดภัยขึ้น
แต่ปัญหาใหม่กำลังจะตามมา
การที่งูเห่าลดจำนวนลงนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องดี ทำให้เมืองมีความปลอดภัยมากขึ้น แต่คนที่เสียประโยชน์ก็คือพวกชาวบ้านอินเดียนี้เอง
ชาวบ้านต่างอยากได้เงินรางวัล แต่ในเมื่องูเห่าถูกฆ่าและจับไปให้อังกฤษเกือบหมดแล้ว จะไปล่างูเห่าที่ไหนเพื่อไปเอาเงินรางวัลล่ะ?
พวกชาวบ้านเลยเกิดไอเดียสุดแสนบรรเจิดขึ้น นั่นคือเพาะพันธุ์งูเห่าเองซะเลย เกิดเป็นฟาร์มงูเห่า และก็ฆ่างูเห่าในฟาร์มเพื่อไปรับเงินรางวัลจากอังกฤษ หลายครัวเรือนก็เลี้ยงงูเห่าเพื่อรอให้โตและไปรับเงินรางวัล
แต่ในไม่ช้า เรื่องนี้ก็ไปถึงหูของทางการอังกฤษ สร้างความโมโหแก่ทางการอังกฤษเป็นอย่างมาก
เมื่อทราบเรื่อง ทางการอังกฤษจึงสั่งยกเลิกการให้เงินรางวัล จะไม่มีการให้เงินรางวัลแก่ผู้ฆ่างูเห่าอีกต่อไป และคิดว่าปัญหาคงจบ
1
แต่ทางการอังกฤษก็ลืมคิดไปว่าหากทำอย่างนี้ ปัญหาใหม่จะตามมา
เมื่อฟาร์มงูเห่าและชาวบ้านที่เลี้ยงงูเห่าไม่สามารถหาประโยชน์อะไรจากงูเห่าที่เลี้ยงไว้ได้ แล้วพวกเขาจะทำยังไง?
นั่นก็คือการปล่อยงูเห่าออกไปเข้าป่า ปล่อยสู่เมือง
ในไม่ช้า กรุงเดลีก็เต็มไปด้วยงูเห่าเช่นเดิม หนักกว่าเดิมด้วย
1
นี่ก็เป็นที่มาของคำว่า “Cobra Effect” นั่นคือการแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง แต่นำมาสู่ปัญหาอีกอย่างที่ไม่ทันได้คาดคิด
References:
https://medium.com/exploring-history/when-british-indias-bizarre-cobra-plan-backfired-with-more-snakes-than-ever-4b11065ec0fa
https://www.thejuggernaut.com/cobra-effect-history-british-raj-india
https://www.choicehacking.com/2022/01/04/what-is-the-cobra-effect/
https://joshlinkner.com/the-cobra-effect/
ประวัติศาสตร์
5 บันทึก
37
1
13
5
37
1
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย