9 ธ.ค. 2024 เวลา 14:28 • ข่าวรอบโลก

กลุ่มอ่าวฯ วิจารณ์พันธมิตรยิวไร้ความสามารถให้ยิวหยุดรุกรานปาเลสไตน์

ประวัติศาสตร์การเมืองตะวันออกกลางสมัยใหม่ (40)
ตอน (1): คณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ
คณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ถือเป็นองค์กรความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคที่สำคัญของตะวันออกกลาง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1981 โดยมีสมาชิก 6 ประเทศ อันประกอบไปด้วยชาติที่ร่ำรวยทรัพยากรน้ำมันอย่าง ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน บาห์เรน สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และกาตาร์
1
หลายคนเข้าใจว่า GCC ก่อตั้งขึ้นมาเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงกลุ่มความร่วมมือนี้เกิดขึ้นจากปัญหาความมั่นคง โดยเฉพาะสถานการณ์ตะวันออกกลางหลังสงครามอิรัก-อิหร่านปะทุขึ้นและความหวาดระแวงต่อการปฏิวัติอิหร่านที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1979 ดังจะเห็นได้ว่ามีการก่อจลาจลโดยชาวชีอะห์ของประเทศในอ่าวฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการปฏิวัติอิหร่าน คือ ในซาอุดีอาระเบียระหว่างปี 1979-1980 และในบาห์เรนที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 1980
ดังนั้นประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียทั้งหลายจึงต้องสร้างหลักประกันความมั่นคงเพื่อป้องกันภัยคุกคามร่วมกัน โดยในระยะแรกได้มุ่งเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงเป็นหลัก แต่ต่อมาในระยะหลังจึงได้ขยายไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ประเทศในกลุ่ม GCC ให้ความสำคัญกับความใกล้ชิดในหมู่ประเทศสมาชิกเพราะเล็งเห็นว่าชาติสมาชิกทั้งหมดมีภาษาเดียวกัน นั่นคือภาษาอาหรับ มีศาสนาเดียวกัน นั่นคืออิสลาม มีโครงสร้างทางสังคมที่คล้ายคลึงกัน มีมาตรฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน มีระบบการเมืองที่คล้ายกัน มีวัฒนธรรมร่วมกัน และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เดียวกัน
กฎบัตรของ GCC ประกอบไปด้วย อารัมภบทและอีก 22 มาตรา บทอารัมภบทได้ระบุไว้ว่ากฎบัตร GCC ตั้งอยู่บนปัจจัยการดำรงอยู่ของความผูกพันกัน มีความสัมพันธ์พิเศษ มีระบอบการปกครองที่คล้ายคลึงกัน มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของชาติสมาชิก และมีความเชื่อที่ว่าประชาชนพลเมืองของกลุ่มประเทศอ่าวฯ มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน มีเป้าหมายในการสร้างเอกภาพ และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือและการประสานงานในหมู่ชาติสมาชิกจะช่วยรักษาผลประโยชน์ของชาติอาหรับในระยะยาวได้
เป้าหมายของ GCC คือ การสร้างความร่วมมือในหมู่ชาติสมาชิกและการป้องกัน การแทรกแซงจากต่างชาติ สร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในดินแดนรอบอ่าวอาหรับ ส่งเสริมความเป็นเอกภาพของอาหรับและเป็นเกราะป้องกันเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
วัตถุประสงค์ของ GCC มีระบุอยู่ในกฎบัตรมาตราที่ 4 โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกในหลายๆ ด้าน โดยการจัดตั้งระบบที่เป็นอันเดียวกันในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงิน การพาณิชย์ ภาษีศุลกากร การสื่อสาร การศึกษา สวัสดิการสังคม สุขภาพ ข้อมูลข่าวสารและการท่องเที่ยว พร้อมทั้งกระตุ้นส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์แร่ธาตุ เกษตรกรรม และปศุสัตว์
เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของ GCC ตามกฎบัตรมาตราที่ 4 จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในหลากหลายด้าน ในเดือนมิถุนายน 1981 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของชาติต่างๆ ในอ่าวฯ ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันซึ่งครอบคลุมไปถึงการลงทุน ปิโตรเลียม การยกเลิกภาษีศุลกากร การปรับกฎระเบียบด้านการธนาคารให้มีการสอดประสานกัน และการสร้างความร่วมมือด้านนโยบายการเงินในภูมิภาค
นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีขึ้นมา เพื่อให้มีการประสานความร่วมมือด้านนโยบายและการกำหนดราคาไฮโดรคาร์บอน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดและราคา เพื่อปรึกษาหารือถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นไฮโดรคาร์บอน เพื่อพิจารณาเรื่องการบริโภคและการช่วยเหลือด้านพลังงานภายใน เพื่อประสานให้มีการฝึกอบรมโดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และเพื่อประสานความร่วมมือในด้านการสำรวจและขุดเจาะแร่ธาตุใหม่ๆ
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของชาติสมาชิกได้สร้างนโยบายด้านเกษตรกรรมที่สอดคล้องกัน นอกจากนั้น ยังให้การรับรองข้อเสนอที่จะปรับแก้กฎหมายให้มีความสอดคล้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัด วัคซีนสำหรับสัตว์ ยาปราบศัตรูพืช ส่งเสริมเรื่องยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมเดียวกันของกลุ่มประเทศ GCC และที่ให้ความสำคัญมากสุดคือการนำเข้าผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมของ GCC
โครงสร้างหลักขององค์กรประกอบไปด้วย 3 หน่วยงานคือ คณะมนตรีสูงสุด สภารัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการ คณะมนตรีสูงสุดประกอบไปด้วยผู้นำของชาติสมาชิก โดยมีการประชุมสมัยสามัญทุกปี แต่ก็อาจมีการประชุมฉุกเฉินขึ้นมาในกรณีที่ประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศร้องขอ ตำแหน่งประธานในที่ประชุมจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป คณะมนตรีสูงสุดดังกล่าวนี้มีหน้าที่กำหนดนโยบายในภาพรวมขององค์กร
สภารัฐมนตรีประกอบไปด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิก โดยจะมีการประชุมกันทุกๆ 3 เดือน การประชุมฉุกเฉินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาติสมาชิกมากกว่า 2 ประเทศเรียกร้อง หน้าที่ของสภารัฐมนตรีคือ การจัดเตรียมการประชุมของคณะมนตรีสูงสุด ร่างนโยบาย ให้ข้อเสนอแนะ ศึกษาและวางแผนโครงการ
ส่วนสำนักงานเลขาธิการนั้นมีหน้าที่ช่วยประเทศสมาชิกในการนำเอาคำเสนอแนะของคณะมนตรีสูงสุดและสภารัฐมนตรีไปปฏิบัติใช้ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่จัดเตรียมรายงานและผลการศึกษา ตลอดจนงบประมาณและการทำบัญชี เลขาธิการจะได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีสูงสุดโดยการแนะนำของสภารัฐมนตรี ทั้งนี้เลขาธิการจะมีวาระอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 3 ปีโดยสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยหนึ่งได้
รายละเอียดการประชุมเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศปี 2561
ภารกิจของ GCC หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า คณะมนตรีความร่วมมือเพื่อรัฐอาหรับในภูมิภาคอ่าว (Cooperation Council for the Arab States of the Gulf-CCASG) เป็นองค์การความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคในตะวันออกกลาง
ประกอบด้วยรัฐรอบอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ก่อตั้งขึ้นตามกฎบัตร GCC ซึ่งลงนามในที่ประชุมระดับประมุขของรัฐรอบอ่าวอาหรับทั้ง 6 ประเทศ ที่อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เมื่อ 25 พ.ค.2524 ก่อนลงนามในความตกลงทางเศรษฐกิจร่วมกัน (Unified Economic Agreement) ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย เมื่อ 11 พ.ย.2524 และมีพัฒนาการความร่วมมือระหว่างกันมาโดยลำดับ เฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ GCC มีมติเมื่อ พ.ศ.2554 ตอบรับคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของจอร์แดนและโมร็อกโก ซึ่งทั้งสองประเทศมีที่ตั้งอยู่นอกอนุภูมิภาค แต่จนถึงปัจจุบันสมาชิก GCC กับจอร์แดนและโมร็อกโกยังไม่สามารถบรรลุการเจรจาเกี่ยวกับรูปแบบสมาชิกภาพของจอร์แดนและโมร็อกโกใน GCC ขณะเดียวกันเยเมนซึ่งเป็นประเทศในอนุภูมิภาค แสดงความสนใจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก
มาตรา 4 ของกฎบัตร GCC ปี 2524 ระบุวัตถุประสงค์การจัดตั้ง GCC ไว้ดังนี้
– ส่งเสริมการประสานงาน การบูรณาการ และการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐสมาชิกในทุก ๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเอกภาพในหมู่สมาชิก
– เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประชาชนของรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ
– เพื่อจัดทำกฎระเบียบให้สอดคล้องกันในด้านเศรษฐกิจและการเงิน การค้า ศุลกากร การสื่อสาร การศึกษา และวัฒนธรรม
– ส่งเสริมการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ การเกษตร การพัฒนาทรัพยากรและปศุสัตว์ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (joint ventures) และส่งเสริมความร่วมมือของภาคเอกชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความกินดีอยู่ดีของประชาชนในรัฐสมาชิก
ตราสัญลักษณ์ของ GCC
ส่วนการจัดโครงสร้างองค์กรตามมาตรา 6-16 ของกฎบัตร GCC กำหนดให้องค์กรหลักของ GCC ประกอบด้วย หน่วยงานที่สำคัญ 3 หน่วยงาน ได้แก่
คณะมนตรีสูงสุด (Supreme Council) เป็นหน่วยงานสูงสุด ทำหน้าที่กำหนดนโยบายในภาพรวมขององค์กร คณะมนตรีนี้ประกอบด้วย ประมุขของรัฐสมาชิก ซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นประธาน ตามลำดับอักษรของชื่อรัฐสมาชิกเป็นภาษาอาหรับ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย โอมาน กาตาร์ และคูเวต โดยจัดประชุมสุดยอดสมัยสามัญเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ดี อาจมีการจัดประชุมวาระพิเศษได้
หากมีการร้องขอจากรัฐสมาชิกอย่างน้อย 1 ประเทศ และมีรัฐสมาชิกให้การรับรองคำร้องอย่างน้อย 1 ประเทศ องค์ประชุมของคณะมนตรีสูงสุดที่จะทำให้มติของที่ประชุมมีผลบังคับใช้ได้อยู่ที่ 2 ใน 3 ของรัฐสมาชิก กล่าวคือ ต้องมีประมุขของรัฐสมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 4 ประเทศ จากปัจจุบันที่มีทั้งหมด 6 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีเสียงในการลงมติต่าง ๆ ที่ 1 เสียงเท่ากัน การออกข้อมติที่สำคัญจำเป็นจะต้องได้รับฉันทามติจากรัฐสมาชิกที่อยู่ในที่ประชุม ส่วนการลงมติในประเด็นทั่วไปให้ใช้การลงคะแนนโดยอาศัยเสียงข้างมาก
ในการประชุมสุดยอด GCC ครั้งที่ 19 ที่อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อปี 2541 คณะมนตรีสูงสุดมีมติเห็นควรให้จัดการประชุมคณะกรรมาธิการที่ปรึกษา (Consultative Commission) คั่นกลางระหว่างการประชุมสุดยอด 2 ครั้ง เป็นประจำทุกปี โดยคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิของรัฐสมาชิก 6 ประเทศ ประเทศละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี รับผิดชอบการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ที่คณะมนตรีสูงสุดมอบหมายให้
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมาธิการอีกคณะที่อยู่ในกำกับของคณะมนตรีสูงสุดคือ คณะกรรมาธิการระงับข้อพิพาท (Commission for the Settlement of Disputes) ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นชั่วคราว เพื่อแก้ไขข้อพิพาทต่าง ๆ เป็นกรณีไป
คณะมนตรีรัฐมนตรี (Ministerial Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของชาติสมาชิก มีหน้าที่จัดทำนโยบายและข้อเสนอแนะให้คณะมนตรีสูงสุดรับรอง ส่งเสริมและประสานงานการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในทุกสาขา รวมถึงมีหน้าที่เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการประชุมคณะมนตรีสูงสุดและระเบียบวาระการประชุมดังกล่าว
คณะมนตรีรัฐมนตรีมีการจัดการประชุมทุก 3 เดือน และอาจจัดประชุมวาระพิเศษได้ หากมีการร้องขอจากรัฐสมาชิกอย่างน้อย 1 ประเทศ และมีรัฐสมาชิกให้การรับรอง คำร้องอย่างน้อย 1 ประเทศ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีของรัฐที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดสมัยสามัญของคณะมนตรีสูงสุด กรณีที่มีเหตุจำเป็นก็อาจให้รัฐมนตรีจากประเทศที่จะเป็นประธานการประชุมสุดยอดครั้งต่อไปเป็นประธานคณะมนตรีรัฐมนตรีได้
องค์ประชุมของคณะมนตรีรัฐมนตรี ที่จะทำให้มติที่ประชุมมีผลบังคับใช้ได้อยู่ที่ 2 ใน 3 ของรัฐสมาชิกเช่นเดียวกับกรณีของคณะมนตรีสูงสุด นอกจากนี้ การลงมติของคณะมนตรีรัฐมนตรีก็ใช้หลักการเดียวกันกับการลงมติของคณะมนตรีสูงสุด
สำนักเลขาธิการ (Secretariat-General)
ตั้งอยู่ที่ริยาด ซาอุดีอาระเบีย รับผิดชอบด้านการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ การประสานงาน แผนงานและโครงการ ตลอดจนงบประมาณและการทำบัญชีสำหรับการทำงานร่วมกัน รวมทั้งจัดเตรียมรายงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ GCC ออกมาตามห้วงเวลา ผลักดันประเทศสมาชิกในการนำเอาข้อเสนอแนะของคณะมนตรีสูงสุดและคณะมนตรีรัฐมนตรีไปปฏิบัติ ติดตามการปฏิบัติตามข้อมติ จัดเตรียมรายงานและผลการศึกษาเมื่อได้รับการร้องขอจากคณะมนตรีสูงสุดหรือจากคณะมนตรีรัฐมนตรี
จัดเตรียมการประชุม ระเบียบวาระการประชุม และร่างข้อมติให้แก่คณะมนตรีรัฐมนตรี
โครงสร้างของสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วย
3.1 เลขาธิการ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กร โดยเป็นพลเมืองของรัฐสมาชิก GCC ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะมนตรีสูงสุด โดยการแนะนำของคณะมนตรีรัฐมนตรี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้เพียง 2 สมัย
3.2 ผู้ช่วยเลขาธิการ ซึ่งมีทั้งสิ้น 8 คน และแต่ละคนอาจได้รับมอบหมายหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบกิจการด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การทหาร ความมั่นคง มนุษยธรรม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย สื่อ วัฒนธรรม การเงินและการบริหาร และการเจรจา นอกจากนี้ ผู้ช่วยเลขาธิการจะรวมหัวหน้าคณะผู้แทน GCC ประจำบรัสเซลส์ เบลเยียมด้วย โดยทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีรัฐมนตรีตามที่เลขาธิการเสนอ และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
3.3 ผู้อำนวยการฝ่ายต่าง ๆ ในกำกับของสำนักเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการ ได้แก่ ฝ่ายกิจการการเมือง ฝ่ายกิจการเศรษฐกิจ ฝ่ายกิจการด้านมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายกิจการทหาร ฝ่ายกิจการความมั่นคง ฝ่ายกิจการด้านกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการ ฝ่ายกิจการการคลังและการบริหาร สำนักงานคุ้มครองสิทธิบัตร หน่วยพัฒนาด้านการบริหาร หน่วยตรวจสอบภายใน ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร คณะผู้แทนถาวร GCC ประจำบรัสเซลส์ เบลเยียม และสำนักงานโทรคมนาคมในบาห์เรน
การจัดตั้ง GCC ในระยะแรกเป็นความพยายามสร้างระบบพันธมิตรทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกันเป็นหลัก โดยอาศัยการฝึกซ้อมการป้องกันภัยทางอากาศ การพัฒนามาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ และการฝึกซ้อมการเคลื่อนพลเร็วสำหรับกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ถูกโจมตี เฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้ง กกล.ร่วมที่เรียกว่า “กกล.โล่พิทักษ์คาบสมุทร” (Peninsula Shield Force) เมื่อปี 2527
เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความอยู่รอดปลอดภัยจากภัยคุกคาม 2 ประการ ได้แก่ 1) การประกาศนโยบายส่งออกการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน หลังจากอายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ มูซาวี โคมัยนี สามารถโค่นล้มระบอบกษัตริย์และสถาปนาการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามขึ้นมาแทนเมื่อปี 2522 และ
2) สงครามอิรัก-อิหร่านเมื่อปี 2523 ที่ยืดเยื้อถึง 8 ปี ก่อนจะยุติลงเมื่อปี 2531 ปัจจุบัน กกล.ดังกล่าวมีกำลังพลเกือบ 40,000 นาย ประจำการอยู่ที่ฐานทัพถาวรใน King Khalid Military City (KKMC) ใกล้เมือง Hafar al-Batin ทางภาคตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย โดยที่ผ่านมามีการส่ง กกล.ดังกล่าวไปปฏิบัติภารกิจเพื่อรักษาความมั่นคงและบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐสมาชิก 3 ครั้ง ได้แก่ สงครามอ่าวเปอร์เซียปี 2534 สงครามอิรักปี 2546 และการส่ง กกล.ไปรักษาความสงบในบาห์เรนจากเหตุวุ่นวายทางการเมืองเมื่อ มี.ค.2554
ความร่วมมือของ GCC ในปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมของ GCC ค่อนข้างประสบความสำเร็จโดดเด่นกว่าความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหารอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งมีความคืบหน้ามาโดยลำดับ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area-FTA) เมื่อปี 2526 และมีการยกระดับความร่วมมือเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) เมื่อปี 2546 จนปัจจุบันกลายเป็นตลาดร่วม (Common Market) ตั้งแต่ 1 ม.ค.2551 นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะจัดตั้งสหภาพการเงิน (Monetary Union)
และเริ่มใช้เงินตราสกุลเดียว (single currency) ให้ได้ในอนาคต หลังจากมีการจัดตั้งคณะมนตรีการเงิน (Monetary Council) ที่ริยาด ซาอุดีอาระเบีย เมื่อ มี.ค.2553 อย่างไรก็ดี การบังคับใช้ข้อตกลงจัดตั้งสหภาพศุลกากรของ GCC จากเดิมที่กำหนดจะเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2550 ถูกเลื่อนบังคับใช้มาตลอด เนื่องจากประเทศสมาชิกไม่สามารถเห็นพ้องร่วมกันในประเด็นการจัดเก็บภาษีเงินได้ การทุ่มตลาด และการปกป้องตลาด เฉพาะอย่างยิ่งการจัดแบ่งภาษีเงินได้ระหว่างประเทศสมาชิก
ส่งผลให้การบังคับใช้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 ม.ค.2558
ลขาธิการ GCC Jasem Mohamed Al-Budaiwi เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการรุกรานกาซาอย่างโหดร้ายโดยทันที
ลขาธิการ GCC Jasem Mohamed Al-Budaiwi เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการรุกรานกาซาอย่างโหดร้ายโดยทันที
คณะมนตรีความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) วิพากษ์วิจารณ์พันธมิตรของอิสราเอลอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถโน้มน้าวให้รัฐบาลอิสราเอลยุติการรุกรานชาวปาเลสไตน์ได้
เลขาธิการ GCC Jasem Mohamed Al-Budaiwi เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการรุกรานกาซาอย่างโหดร้ายโดยทันที
ในการให้สัมภาษณ์กับนักข่าวหนึ่งวันก่อนการประชุมสุดยอด GCC ครั้งที่ 45 ที่คูเวตเมื่อวันอาทิตย์ Al-Budaiwi ให้คำมั่นว่ากลุ่มประเทศอ่าวอาหรับจะยังคงดำเนินความพยายามทุกวิถีทางเพื่อบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในกาซา และเสริมว่ากองกำลังยึดครองของอิสราเอล ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่สำหรับการกระทำอันโหดร้ายต่อชาวปาเลสไตน์
กองทัพอิสราเอลเปิดฉากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซา หลังจากการโจมตีข้ามพรมแดนของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมปีที่แล้ว
หลังจากสงครามที่ฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์เป็นเวลา 419 วัน อิสราเอลได้สังหารผู้คนไปกว่า 44,360 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก บาดเจ็บประมาณ 106,000 คน และสูญหายเกือบ 11,000 คน
Al-Budaiwi วิพากษ์วิจารณ์มหาอำนาจอย่างรุนแรงว่าไม่สามารถดำเนินการใดๆ เพื่อยุติสงครามได้เพียงพอ โดยกล่าวว่า “แม้แต่พันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของอิสราเอลก็ไม่สามารถโน้มน้าวรัฐบาลอิสราเอลให้หยุดปฏิบัติการทางทหารอันโหดร้ายในฉนวนกาซาได้”
ขณะเดียวกัน Al-Budaiwi อดีตนักการทูตคูเวต ชื่นชม “สถานะพิเศษ” ที่ GCC บรรลุบนเวทีระหว่างประเทศได้ เนื่องจาก “นโยบายต่างประเทศที่เป็นหนึ่งเดียวที่ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระดับโลก”
เขาย้ำว่าชุมชนระหว่างประเทศถือว่าประเทศสมาชิก GCC เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ที่ “น่าเชื่อถือและไว้ใจได้” “โดยไม่มีวาระซ่อนเร้น”
GCC ซึ่งรวมถึงซาอุดีอาระเบีย คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน และโอมาน เชื่อว่าเสถียรภาพของภูมิภาคอ่าวอาหรับต้องการทางออกที่ยุติธรรมต่อประเด็นปาเลสไตน์
ในแถลงการณ์สุดท้ายของการประชุมสุดยอดครั้งแรกในกรุงอาบูดาบีเมื่อปี 1981 ผู้นำกลุ่มอ่าวได้ยืนยันว่าเสถียรภาพของภูมิภาคอ่าวอาหรับ และตะวันออกกลางเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับประเทศสมาชิก GCC
#อิสราเอล #ปาเลสไตน์ #ข่าวรอบโลก #GCC #สงคราม #หยุดยิง
#คณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
โฆษณา