18 ธ.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

เล่นโน้ตผิดตัว

ช่วงหลังนี้ผมมักฟังดนตรีคลาสสิกใน YouTube วงดนตรีออร์เคสตราแต่ละวงเก่งๆ นักดนตรีฝึกฝนมาอย่างหนักหน่วง นานคนละหลายๆ ปี ฟังแล้วก็นึกชื่นชมและแลเห็นความอุตสาหะวิริยะพยายามของเหล่านักดนตรี
กระนั้นก็มีคอมเมนต์จำนวนมากที่ทำร้ายจิตใจ เช่น
“เล่นผิดโน้ตไปสองตัว”
“เล่นไม่ได้เท่าคนแต่งบ้าง”
“เล่นสู้คนนั้นไม่ได้”
“เล่นได้แค่นี้เองหรือ” ฯลฯ
ทั้งหมดพยายามจับผิด แทนที่จะเอนจอยกับการแสดงโดยรวม (ความจริงถ้าไม่ชอบ ก็ไม่ต้องทนดูก็ได้)
ในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์ก ยุคที่ผู้คนสามารถติและวิพากษ์ได้ง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส บ่อยครั้งในเรื่องเล็กน้อยอย่างยิ่ง ทำให้นึกถึงคำของนักดนตรีเอกคนหนึ่งในศตวรรษที่ 18-19 Ludwig van Beethoven
“To play a wrong note is insignificant; to play without passion is inexcusable.”
1
เล่นผิดโน้ตไปตัวหนึ่งไม่สำคัญ เล่นโดยไร้ไฟกระตือรือร้นเป็นเรื่องที่แก้ตัวไม่ได้
ระดับเบโธเฟนยังเห็นว่าเล่นผิดโน้ตไม่สำคัญ ขอให้ภาพรวมดีมีไฟก็ใช้ได้แล้ว
1
เราสามารถมองทะลุนิสัยคนได้จากคอมเมนต์ บางคนติได้ทุกเรื่อง สามารถหาข้อผิดพลาดได้ทุกจุด
คอมเมนต์ยังบอกถึงวิธีการติของแต่ละคน บางคนติเพื่อก่อ บางคนติเพื่อระบายอารมณ์ บางคนยังไม่ทันดูงานครบถี่ถ้วน ก็ติแล้ว
1
ความจริงคืองานศิลปะทุกแขนงทุกชิ้น ไม่ว่าดีเยี่ยมเพียงใด ก็มีจุดตำหนิทั้งสิ้น
ถ้าจะมองด้วย ‘ตาหาเรื่อง’ ย่อมหาจุดตำหนิพบในภาพ Mona Lisa ภาพเขียนของแวน โกะห์ มีก็จุดตำหนิ หนังเรื่อง The Godfather ที่ได้คะแนน 10/10 ก็มีจุดตำหนิ
บรรดาดอกไม้งดงามในโลก ย่อมมีบางกลีบที่ชอกช้ำหรือลีบ กลิ่นหอมของดอกไม้ใบหญ้าอันสดชื่นก็อาจมีฝุ่น 2.5 เจือมาบ้าง
2
แต่หากเราจะเสพศิลป์และมองโลกแบบมีความสุข ก็คงต้องหัดมองข้ามจุดตำหนิเล็ก ๆ บ้าง
แล้วทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
จากหนังสืออีบุ๊ค ปล่อยให้เสียงในหัวพาไป
โฆษณา