19 ธ.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

ตัวละครไม่มีพัฒนา

ในปี 1985 ขณะที่ผมกำลังเริ่มหัดเดินในโลกหนังสือนั้น นักเขียนฝรั่งเศส Claude Simon ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
ก่อนหน้านั้น สำนักพิมพ์ 19 แห่งปฏิเสธงานของเขา
บรรณาธิการคนหนึ่งเขียนตอบเขาว่า งานของเขาใช้ประโยคยาวเกินไป ทำให้คนอ่านเบื่อ อีกทั้งเรื่องไม่มีพล็อต และตัวละครก็ไม่มีพัฒนาการ
สำนักพิมพ์แห่งที่ 20 ตีพิมพ์งานของเขา และมันก็พาเขาไปสู่รางวัลสูงสุดของวงการวรรณกรรมโลก
Serge Volle นักเขียนชาวฝรั่งเศสอีกคนหนึ่งกล่าวว่า ทุกวันนี้โลกกำลังทอดทิ้งงานดี ๆ ที่อ่านยาก-ขายยาก
2
เขาบอกว่า “คุณต้องมีชื่อเสียงก่อน งานจึงจะได้รับการตีพิมพ์”
หากฝรั่งเศสซึ่งมีพัฒนาการด้านหนังสือวรรณกรรมไกลกว่าเราเป็นเช่นนี้ ก็คงไม่ต้องพูดอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์หนังสือในบ้านเรา
ทำให้เราต้องย้อนคิดว่า เราติดนิสัยกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับหนังสือมากเกินไปหรือเปล่า?
2
เราเคยชินที่จะกำหนดหลักการว่า เรื่องที่ดีต้องมีพล็อต ต้องมีพัฒนาการของตัวละคร
แน่ละ เรื่องดีจำนวนมากเป็นอย่างนี้ แต่นี่อาจสร้างกรอบทำให้เราไม่เปิดกว้างรับงานใหม่ หรือกล้าสร้างงานแนวใหม่
เขียนเรื่องไม่เน้นพล็อต ก็กลัวว่าไม่มีใครพิมพ์
เขียนเรื่องที่ตัวละครไม่มีพัฒนาการ ก็กลัวนักวิจารณ์ด่า
หนังเรื่อง Dunkirk (2017) ก็เข้าข่ายนี้ นักดูหนังจำนวนมากวิจารณ์ว่ามันไม่ดีเพราะไม่แทบไม่มีพล็อตและไม่แสดงพัฒนาการของตัวละคร
มันตั้งคำถามว่า บรรณาธิการและนักวิจารณ์ต้องพัฒนาตัวเองด้วยหรือเปล่า
การสร้างงานศิลปะก็คือการเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่หากนักเขียนไม่กล้าทดลอง วงการหนังสือก็จะยิ่งหดแคบลง
1
ในสถานการณ์ที่นิตยสารปิดตัวไปทีละปก ๆ และยอดพิมพ์หนังสือตกต่ำทั้งตลาด นักเขียนยิ่งต้องกล้าฉีกแนว
1
โฆษณา