Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
10 ธ.ค. เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หนี้ครัวเรือน ภาพจริงประเทศไทย | บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 11 ธันวาคม 2567 รัฐบาลจะประกาศมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนลดภาระหนี้ให้กับประชาชน
ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ และหนี้เอสเอ็มอี โดยหนี้บ้านกำหนดเพดานราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สินเชื่อรถยนต์ ไม่เกิน 8 แสนบาท หนี้เอสเอ็มอี ต้องมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งมีการคาดว่าอาจจะขยายเพดานการแก้หนี้ในกลุ่ม เอสเอ็มอี เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท เพื่อให้ลูกหนี้ออกจากบัญชี “เอ็นพีแอล” หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และมีโอกาสกลับมาเข้าสู่ระบบการเงินได้อีกครั้ง
ลูกหนี้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจะต้องจ่ายหนี้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 12 เดือน ทั้งลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 1 ปี และลูกหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้ โดยให้จ่ายเฉพาะเงินต้นติดต่อกัน 12 เดือนต่อเนื่อง และไม่สามารถก่อหนี้ใหม่ได้ในช่วงที่ทำสัญญาแก้หนี้
1
หากทำได้ สถาบันการเงินจะยกเว้นดอกเบี้ยทั้งหมดให้ ถือว่าเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือลูกหนี้ที่สามารถชำระหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตที่ค้างชำระหนี้ในกลุ่มที่จ่ายเงินต้น 10-15 % จากเงินค้างชำระทั้งหมด สามารถล้างหนี้ ปิดหนี้ทั้งก้อนได้ทันทีเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ ให้พ้นจากการเป็นหนี้ทั้งก้อน
1
ณ สิ้นเดือน ต.ค.หนี้เอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท แยกเป็นหนี้บ้าน ที่ 2.3 แสนล้านบาท 1.6 แสนสัญญา หนี้รถยนต์ 2.6 แสนล้านบาท 8.4 แสนสัญญา บัตรเครดิต 7 หมื่นล้านบาท 1 ล้านสัญญา สินเชื่อส่วนบุคคล 2.8 แสนล้านบาท 4.9 ล้านสัญญา หนี้ทำธุรกิจ 7.9 หมื่นล้านบาท 1.7 แสนสัญญา และ นาโนไฟแนนซ์ 1 หมื่นล้านบาท มีบัญชีค้างชำระที่ 2.5 แสนสัญญา โดยหากรวมทั้งหมด คิดเป็นหนี้เสียที่ 1.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นบัญชีที่เป็นหนี้เสียแล้ว 9.6 ล้านบัญชี
ส่วนหนี้ที่กำลังจะเสีย หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน หรือ SM มีจำนวน 6.6 แสนล้านบาท หรือ 2.2 แสนสัญญา หลักๆคือสินเชื่อบ้าน 1.3 แสนสัญญา, สินเชื่อรถยนต์ 5.4 แสนสัญญา บัตรเครดิต 1.7 แสนใบ สินเชื่อส่วนบุคคล 7.9 แสนสัญญา เงินกู้ไปค้าขาย6.7 หมื่นสัญญาและนาโนไฟแนนซ์ 5.5 หมื่นสัญญา ทั้งสองกลุ่ม มียอดหนี้รวมเกือบ 3 ล้านล้านบาท และมีบัญชีที่ค้างชำระรวมกันถึง 11.82 ล้านสัญญา
นี่ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบ ซึ่งจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2566 พบว่าครัวเรือนไทยก่อหนี้นอกระบบมูลค่า 6.7 หมื่นล้านบาท และส่วนใหญ่ 47.5% ก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค ลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ หรือ หยุดชำระสินเชื่อจะเลือกผิดนัดสินเชื่อบ้าน
โดยเฉพาะกลุ่มวงเงินต่ำกว่า 3 ล้านบาทก่อนสินเชื่อบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อรักษาวงเงินในบัตรไว้ใช้จ่ายการที่รัฐบาลแก้หนี้ด้วยการพยายามให้คนตัวเล็กชำระหนี้อย่างต่อเนื่องและห้ามก่อหนี้เป็นเวลา 1 ปีควรทำควบคู่กับการเพิ่มสภาพคล่องให้ครัวเรือนมีกำลังในการชำระหนี้ เป็นการแก้หนี้อย่างยั่งยืน โดยไม่กลับมาก่อหนี้ป้องกันไม่ให้มีมาตรการแก้หนี้วนลูปอีก
#กรุงเทพธุรกิจ #InsightforOpportunities #กรุงเทพธุรกิจEconomic
5 บันทึก
17
2
16
5
17
2
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย