10 ธ.ค. เวลา 03:04 • หนังสือ

5 ข้อคิดจากหนังสือ"คนฉลาดเจรจาเป็น"

อ้างอิงจากหนังสือ: คนฉลาด เจรจาเป็น
ผู้เขียน: ฮิโรตสึกุ คิยามะ (Hirotsugu Kiyama)
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะเกี่ยวข้องวิธีการโต้ตอบและวิธีการโน้มน้าวใจให้อีกฝ่ายรู้สึกเชื่อถือผ่านมุมมองของนักกฎหมายและการเป็นพนักงาน
โดยในหนังสือจะไม่เน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่จะเน้นที่การเอาชนะการโต้แย้ง
ในบทความนี้ ผมดรีมจากทางเรียนรู้วันละเรื่องจะมาชวนทุกท่านคุยถึงข้อคิดจากหนังสือ คนฉลาดเจรจาเป็นกันครับ
.
.
1.จงซื้อเวลาด้วย"การตั้งคำถาม"
การตั้งคำถามสวนคืนอีกฝ่ายกลับไป จะช่วยให้เราได้มีเวลาคิดในตอนที่เขากำลังอธิบาย
และเราจะยังมีความเข้าใจในสิ่งนั้นมากขึ้น เช่น เจ้า....ที่คุณพูดมันคืออะไรนะครับ?
นอกจากนี้ถ้าเขาอธิบายไม่ได้แสดงว่าเขาไม่มีความเข้าใจในเรื่องนั้นมากพอ ซึ่งเราสามารถเอามาเล่นงานเขาได้
ดังนั้นเวลาถูกถามอย่าตอบ แต่จงตั้งคำถามเพื่อให้เขาต้องอธิบาย แล้วเราจะมีเวลาในการคิดไตร่ตรองรวมไปถึงสามารถจับพิรุธที่เขาไม่สามารถอธิบายได้ด้วย
.
.
2.รู้จัก"เบี่ยงประเด็นหรือเปลี่ยนเรื่องให้เป็น"
เวลาที่เราต้องเจอกับเรื่องที่เป็นจุดอ่อนหรือเป็นสิ่งที่เราไม่อยากพูดถึง การที่เราใช้เทคนิคเบี่ยงประเด็นหรือเปลี่ยนเรื่องจะช่วยให้เราเอาตัวรอดได้
เช่น สรุปแล้วปัญหาก็คือ..... ใช่ไหมครับ? เพื่อเปลี่ยนทิศทางการสนทนาให้เข้าทางเรา
หรือการทำเป็นไม่สนใจและเปลี่ยนเรื่องไปเลยก็ได้เช่นกัน เช่น
A: หิวจังเลย เมื่อไหร่คุณจะทำงานเสร็จสักทีเนี่ย!
B: (ทำหน้าเฉยๆ) บ่ายนี้ไปลองกินอาหารเวียดนามกันไหม
A: ก็น่าสนนะ แต่ก็อยากกินอาหารอินเดียเหมือนกัน
การทำแบบนี้จะช่วยให้เราสามารถดึงความสนใจของอีกฝ่ายและปรับทิศทางการสนทนาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้นั่นเอง
.
.
3.ฝึกที่จะเลี่ยง"การตอบคำถามให้เป็น"
อีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นเลยก็คือการเลี่ยงหรือไม่ตอบคำถาม เพราะบางครั้งการตอบออกไปเลยโดยที่ไม่ได้กลับมาคิดและไตร่ตรองก่อน จะกลายเป็นหลักฐานมัดตัวเราได้
แทนที่จะตอบออกไปเลยแต่ให้เราเลี่ยงการตอบคำถามด้วยการถ่วงเวลา
เช่น ตอนนี้ผมยังไม่มีข้อมูล หรือ ตอนนี้ผมยังไม่มีข้อมูล เดี๋ยวจะส่งอีเมลไปให้ในภายหลังนะครับเดี๋ยวจะส่งอีเมลไปให้ในภายหลังนะครับ
การทำแบบนี้จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คับขันและสามารถทำให้เรากลับมาคิดสิ่งที่จะตอบกลับไปได้ดีขึ้นนั่นเอง
.
.
4.จงมองหา"จุดอ่อนหรือช่องโหว่ของอีกฝ่าย"
ในการจะเอาชนะการโต้แย้ง เราจำเป็นจะต้องสังเกตจุดอ่อน หรือช่องโหวตที่อีกฝ่ายเผยออกมา
จากนั้นก็โจมตีที่จุดนั้นเพื่อสร้างความได้เปรียบหรือลดความน่าเชื่อถือของอีกฝ่าย
เช่น การสังเกตสิ่งที่อีกฝ่ายพูดขัดแย้งกับคำพูดก่อนหน้าของตัวเอง การที่อีกฝ่ายพูดผิดหรือนำเสนอข้อมูลผิด เป็นต้น
ถ้าเราสามารถหาจุดอ่อนหรือช่องโหว่ได้ เราก็จะมีความได้เปรียบในการสนทนานั้นมากขึ้นนั่นเอง
.
.
5.แสดงสิ่งต่างๆออกมา"สนับสนุนให้ดูน่าเชื่อถือ"
สิ่งที่จะโน้มน้าวใจคนมากขึ้นก็คือ การแสดงหลักฐานหรือสิ่งสนับสนุนออกมา แล้วคำพูดของเราจะมีน้ำหนักมากขึ้น
โดยสิ่งที่นำมาสนับสนุน ควรจะเป็นหลักฐานที่เป็นกลางและเป็นจริงที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่น แบบสำรวจหรืองานวิจัยของหน่วยงานทางราชการ
หรือเป็นงานวิจัยและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น งานวิจัยของมหาวิทยาลัย.... และคำแนะนำจากดอกเตอร์.....
แล้วสิ่งที่เราพูดจะมีน้ำหนักมากขึ้นจนอีกฝ่ายรู้สึกเชื่อถือและตัดสินใจไปในแบบที่เราต้องการอย่างแน่นอนนะครับ
.
.
ใครที่อยากมี Community ดีๆที่ทำให้เราเติบโตขึ้นเสมอและอยากเรียนรู้เรื่องการเงิน
ผ่านคลาสเรียนเรื่องเงินฟรีและการเล่นเกมกระแสเงินสด สามารถกดลิงค์ใน Comment ได้เลยนะครับ
.
.
นี่เป็นแค่ส่วนเล็กๆจากความรู้ในหนังสือที่ผมได้ตกผลึกมาเท่านั้น ถ้าอยากได้ความรู้แบบจัดเต็ม ลองซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันได้นะครับ
.
.
ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ ผมขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่าน ที่เสียสละเวลามีค่าของท่านมาอ่านบทความนี้ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้นนะครับ
ถ้าท่านใดมีคำติชมหรือความเห็นก็สามารถ Comment ไว้ได้เลยนะครับเราจะได้เรียนรู้มุมมองใหม่ๆไปด้วยกันนะครับ
.
.
พิกัดหนังสือ: https://s.shopee.co.th/3fn6C41oFM
#หนังสือน่าอ่าน #เรื่องน่ารู้ #นิสัย #อ่านใจคน #คนฉลาดเจรจาเป็น #ปรัชญาชีวิต #เจรจา #จิตวิทยา #ข้อคิดดีดี #เกร็ดความรู้ #ความรู้ #ข้อคิดสอนใจ #ข้อคิดดีๆ #แรงบันดาลใจ #learn #learneveryday #เรียนรู้วันละเรื่อง
โฆษณา