เมื่อวาน เวลา 14:00 • สิ่งแวดล้อม

'ฉลาม-กระเบน' ลดลงเกินครึ่ง สายพันธุ์ 33% เสี่ยงสูญพันธุ์ เพราะมนุษย์ล่ามากเกินไป

จำนวน “ฉลาม” และ “ปลากระเบน” ลดลงมากกว่า 50% นับตั้งแต่ปี 1970 โดยสาเหตุหลักมาจาก “การประมงเกินขีดจำกัด” (overfishing)
รายงานจาก องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ที่รวบรวมความรู้ด้านชีววิทยา การประมง การค้า ความพยายามในการอนุรักษ์ และการปฏิรูปนโยบายสำหรับกลุ่มปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลาม ปลากระเบน และปลาคิเมียรา ซึ่งมีความใกล้ชิดกับฉลาม จนบางครั้งถูกเรียกว่า ฉลามผี ใน 158 ประเทศและเขตแดน เผยให้เห็นว่า การทำประมงและการล่าปลาทำให้ปลาเหล่านี้มีจำนวนลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันความต้องการเนื้อฉลามทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า โดยปัจจุบันมูลค่าของเนื้อฉลามและปลากระเบนสูงกว่ามูลค่าการค้าครีบฉลามทั่วโลกถึง 1.7 เท่า การค้าขายมีความหลากหลายมากขึ้น และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แผ่นเหงือกปลากระเบน น้ำมันตับปลา และหนังปลา มีมูลค่าเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
นอกจากจะเป็นนักล่าแล้ว กลุ่มปลาโบราณเหล่านี้ ยังเพิ่มความหลากหลายทางระบบนิเวศ แต่พวกมันกำลังถูกมนุษย์ล่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีมากกว่า 1,199 สายพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าปัจจุบันเราจะรู้เกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้มากขึ้นกว่าที่เคย แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าพวกมันลดลงมากเพียงใด ก็จะทำให้เราไม่สามารถช่วยเหลือสายพันธุ์เหล่านี้ได้ทัน
1
ปัจจุบัน กระดูกอ่อนกว่า 1 ใน 3 ของทั้งหมดกำลังเผชิญกับความเสี่ยงในการสูญพันธุ์
การลดลงของจำนวนฉลามและปลากระเบนอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำทั้งหมด เพราะพวกมันเป็น
สัตว์นักล่าที่สำคัญ หากพวกมันสูญพันธุ์จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารทั่วทั้งมหาสมุทร
ฉลามและปลากระเบนเป็นสัตว์นักล่าที่ที่เชื่อมโยงระบบนิเวศเข้าด้วยกัน เช่น ฉลามแนวปะการังมีความสำคัญในการถ่ายโอนสารอาหารจากแหล่งน้ำลึกไปยังแนวปะการัง ซึ่งช่วยรักษาระบบนิเวศเหล่านั้นไว้ได้ ส่วนปลากระเบนเป็นสัตว์ที่หากินที่สำคัญ โดยจะผสมและเพิ่มออกซิเจนให้กับตะกอน ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตทางทะเลและการกักเก็บคาร์บอน
การประมงเกินขีดจำกัดจะเกิดขึ้นเมื่อมีการจับปลามากเกินไป และไม่มีปลาเหลือเพียงพอที่จะเพาะพันธุ์ เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรให้ยั่งยืน จำนวนปลาที่ถูกจับจากการทำประมงเพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันการทำประมง 1 ใน 3 ของโลก ถือเป็นการประมงเกินขีดจำกัด ซึ่งเกินขีดจำกัดทางชีวภาพ ตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO)
โฆษณา