11 ธ.ค. เวลา 08:03 • สุขภาพ

Mycoplasma ระบาดหน้าหนาว ต้องเตรียมตัวอย่างไร

เชื้อ Mycoplasma pneumoniae เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ สามารถระบาดได้ทั้งปี แต่มักจะระบาดมากช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับฤดูกาลระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ปัจจุบันพบว่าการรายงานผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อ Mycoplasma pneumonice มีแนวโน้มเพิ่มขึ้มขึ้นโดยเฉพาะภาคกลาง และภาคใต้
ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบ กองระบาดวิทยา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 12 พฤศจิกายน 2567 พบว่ามีผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อ Mycoplasma pneumonice จำนวน 1,103 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของผู้ป่วยปอดอักเสบทั้งหมด
และคิดเป็นอัตราป่วย 1.70 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 รายอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 1.24 กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด 3 อันดับ คือ อาย 5-9 ปี มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน คิดเป็น 7.36 รองลงมา คือ อายุต่ำกว่า 5 ปี (7.02) และอายุ 10-14 ปี (4.03)
โดยภาคที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสน คนสูงสุด คือ ภาคกลาง (2.42) รองลงมา คือ ภาคใต้ (2.17) ภาคเหนือ (1.26) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (0.87)
จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 10 จังหวัดแรก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน (13.27) ภูเก็ต (12.59) สิงห์บุรี (887) ปทุมธานี (6.36) สมุทรปราการ (6.15) พังงา (6.09) ยะลา (5.93) นครพนม (5.32) ชลบุรี (4.82) และน่าน (4.44)
Mycoplasma pneumoniae สามารถติดต่อได้โดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยผ่านการไอ จาม แต่อาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ 2-12% ระยะฟักตัวโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1 ถึง 4 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ในช่วงก่อนแสดงอาการถึงช่วงที่เริ่มมีอาการป่วย
โดยเชื้อสามารถก่อให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรงจึงไม่ทราบว่าติดเชื้อและแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น การระบาดเกิดขึ้นได้มากขึ้นในกลุ่มคนที่อยู่กันแออัดเช่นค่ายทหาร โรงเรียน และแพร่กระจายให้คนที่อยู่ในบ้านเดียวกันได้ง่ายมาก
1
อาการที่พบได้บ่อยคือ ไอ อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หายใจเร็ว บางรายอาจเกิดภาวะแทรกช้อนรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ปอดอักเสบชนิดรุนแรง หรือ มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก การรักษาทำได้โดยการรักษาตามอาการร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolides เช่น azithromycin, erythromycin และ clarithromycin แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานพบอัตราการดื้อยาสูงขึ้น ในอเมริกาอัตราการดื้อยา macrolide ประมาณ 10% และอาจมากถึง 70-90% ในประเทศจีน ส่วนประเทศไทยรายงานการดื้อยา macrolide ประมาณ 30%
การป้องกันการติดเชื้อ ทำได้โดย
1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวหรืออากาศเปลี่ยนแปลง
3. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจล หลังสัมผัสสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อย ๆ
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอาการทางเดินหายใจ เช่น อาการหวัด หรือปอดอักเสบ
5. ผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อต้องคลุกคลีกับผู้อื่น ใช้กระดาษทิชชู่หรือผ้าเช็ดหน้าปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้ง เวลาไอ จาม และหากอาการไม่ดีขึ้น เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
อ้างอิง
โฆษณา