Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
11 ธ.ค. 2024 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์
คนที่ดูแลการเงินตัวเองได้ = ฮีโร่ของตัวเราเอง
สรุป 5 บทเรียนจาก Money Coach on Stage คร้ังที่ 9 ในธีม Money Hero
ในแง่ของการเงินส่วนบุคคลที่โค้ชหนุ่มมาพูดให้ความรู้และพูดถึงมุมมองทางการเงินของ จักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือที่รู้จักในชื่อ โค้ชหนุ่ม โค้ชการเงินที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้ง The Money Coach ซึ่งมุ่งเน้นการให้ความรู้ด้านการเงินแก่ประชาชนไทยเพื่อเสริมสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี
โค้ชหนุ่มจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นอาชีพในฐานะวิศวกร แต่ประสบปัญหาหนี้สินอย่างหนักในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และเริ่มเปลี่ยนเส้นทางอาชีพมาเป็นโค้ชการเงิน ต่อยอดมากจากการตั้งชมรมเล่นบอร์ดเกม “พ่อรวยสอนลูกแห่งประเทศไทย” ในช่วงปี 2548
ปัจจุบัน โค้ชหนุ่มเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท เดอะมันนีโค้ช จำกัด และลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์ จำกัด
[ จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจ ]
โค้ชหนุ่มย้ำอยู่เสมอว่า เขาเริ่มสนใจเรื่องการเงินอย่างจริงจังเมื่อเขาประสบปัญหาหนี้สินที่เกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเงินที่ตอนนั้นโค้ชหนุ่มไปเซ็นรับหนี้แทนพ่อ และกว่าจะแก้สถานการณ์ตอนนั้นได้ โค้ชหนุ่มต้องใช้เวลาหลายปีในการศึกษาและค้นคว้าหาความรู้
โดยหนึ่งในคนที่จุดประกายความเข้าใจทางการเงินของโค้ชหนุ่มที่โค้ชพูดถึงใน Money Coach on Stage คือเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารที่มาตามทวงเงินค่างวดด้วยประโยคที่ว่า
“ไม่เห็นต้องหนีเลย แค่เป็นหนี้ไม่ได้ไปทำใครตาย”
และหลังจากนั้นโค้ชหนุ่มก็สามารถพลิกสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง และมีอิสรภาพทางการเงินได้เมื่ออายุ 34 ปี ได้สำเร็จ
[ Money Coach on Stage คร้ังที่ 9 ในธีม Money Hero ]
Money Coach on Stage คร้ังที่ 9 หนึ่งในประเด็นสำคัญคือการพูดถึง Mindset เรื่องการจัดการการเงิน ที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องของตัวเลขหรือเทคนิคการลงทุน แต่ในงาน Money Coach On Stage ได้เปิดมุมมองใหม่ที่ลงลึกถึง “ชีวิตหลังตัวเลข” และเน้นย้ำว่าการเงินที่ดีไม่ได้เริ่มต้นจากเงินอย่างเดียว แต่ต้องเริ่มจาก “วิธีคิด” และ “ความเข้าใจ”
1. แก้หนี้ เริ่มต้นที่ Cashflow
ปัญหาหนี้สินเป็นเรื่องที่หลายคนเผชิญ การแก้ไขไม่ได้อยู่ที่การหาเงินเพิ่มอย่างเดียว แต่ต้องเริ่มจากการเข้าใจ Cashflow หรือกระแสเงินสดของตัวเองก่อน ดูว่าเงินเข้าและเงินออกของคุณสมดุลกันหรือไม่ หากยังมีปัญหา อาจถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน
2. Know-how มีทุกที่ แต่ความเข้าใจหายาก
ในยุคที่ข้อมูลการเงินล้นหลาม การมีความรู้หรือ know-how ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ ความเข้าใจลึกซึ้ง หรือ understanding ซึ่งตรงนี้เราต้องเข้าใจว่าสิ่งใดเหมาะสมกับชีวิตและสถานการณ์ของตัวเอง ไม่ใช่แค่ทำตามคนอื่น
3. สวนที่สวยจะดึงดูดทั้งผีเสื้อและตัวเหี้ย
ในชีวิตการทำงานและการเงิน โค้ชหนุ่มเล่าว่าความสามารถจะดึงดูดผู้คนและโอกาสมากมายเข้ามา แต่ต้องระวัง เพราะไม่ใช่ทุกสิ่งที่เข้ามาจะเป็นเรื่องดี
โค้ชหนุ่มเล่าเรื่องสะเทือนใจจากประสบการณ์จริง ถึงวันที่ตำรวจมาจับกุมคนในชมรมของเขา เพราะสมาชิกท่านหนึ่งได้รับความน่าเชื่อถือและได้ทำสัญญาว่าจะช่วยลงทุน มีการทำสัญญาผลตอบแทนกัน แต่เมื่อถึงเวลาจริง การลงทุนกลับผิดพลาดและทำให้เขาไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนตามที่ตกลงได้ นำไปสู่การออกหมายจับในข้อหาหลอกลวงทางการเงิน เรื่องราวจบลงอย่างเศร้าสลด เพราะผู้กระทำผิดทนรับแรงกดดันไม่ไหวและตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง
โค้ชหนุ่มเล่าว่าบทเรียนสำคัญจากเรื่องนี้คือ ไม่ใช่ทุกโอกาสจะนำไปสู่ความสำเร็จ และการรับผิดชอบต่อความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในโลกการเงิน เราต้องระวังการกระทำของตัวเอง อย่าหลงเชื่อคำพูดหรือโอกาสที่ดูดีเกินจริง การมองโลกอย่างรอบคอบและใช้วิจารณญาณ จะช่วยป้องกันไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อ หรือกลายเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง
4. บัญชีการเงินในธุรกิจที่โค้ชแนะนำให้ลูกศิษย์คนโปรดของ
เงินกำไรที่ได้จากธุรกิจ ควรถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญ
- ลงทุนต่อ เพื่อขยายธุรกิจหรือเพิ่มพูนทรัพย์สิน
- ออม เพื่อความมั่นคงในอนาคต
- ใช้จ่าย เพื่อเติมเต็มความสุขในชีวิต
5. คิด ทำ มี เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ชีวิตการเงินที่ดีขึ้นต้องเริ่มจาก 3 สิ่งนี้:
•คิดทำ: ลงมือทำตามแผน
•คิดสู้: ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
•คิดใหม่: ปรับตัวและมองหาวิธีที่ดีกว่าเสมอ
[ 4 หลักสำคัญเพื่อการเงินที่มั่นคงแบบไม่ต้องตื่นเต้น ]
1.ดูแลการเงินตัวเองไม่ให้บกพร่อง จัดการชีวิตของตัวเองให้ดีแล้ว ค่อยช่วยคนอื่น
ถ้าแบกแล้ว การเงินตัวเองเฮงซวยอันนี้ก็ไม่ผ่าน จะดูแลการเงินคนอื่นได้ การเงินของตัวเองต้องดีก่อน
2.สะสมต่อยอดชีวิตให้มีความสุข และเติมเต็มความสุขให้กับตัวเองบ้าง ไม่งั้นสิ่งที่ทำไปก็ถือว่ายังไม่สำเร็จ
3.เวลาทำงาน อย่าสนใจแต่รายได้ จนลืมคำว่าความมั่งคั่ง และอย่าลืมว่าเรามีเวลาในการใช้ทุนมนุษย์ของเรา
4.จัดการชีวิตให้สมดุลโดยวัย เพราะสุดท้ายแล้วเราจะได้เจออีกหลายวิกฤต มันอาจจะติดลบก็ได้ อย่าลืมหลักคิด เก้าอี้ 3 ขา สภาพคล่อง การโอนย้ายความเสี่ยง ลงทุนต่อยอด และที่สำคัญคือการทำให้เงินของเราเป็นระบบให้ดี
[ ทิ้งท้าย - ‘การเงินส่วนบุคคล’ ที่แปลว่าปัญหาการเงินเหมือนกันแต่ทางแก้อาจไม่เหมือนกัน ]
ทุกปัญหาการเงินมีเรื่องราวเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นเพราะ “แบกภาระมากเกินไป,” “ใช้เงินเกินตัว,” หรือ “พลาดจากการตัดสินใจ” การแก้ปัญหาเหล่านี้หลายครั้งมันไม่ได้เริ่มจากเงิน แต่ต้องเริ่มจากความเข้าใจในปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง
เพราะจากเรื่องราวที่โค้ชหนุ่มเล่าบนเวที เราจะได้รู้ว่าการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เริ่มต้นจากการหาเงินเพิ่มเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมาจากความเข้าใจในรากของปัญหาและการปรับเปลี่ยนมุมมอง
การเงินที่ดีคือการสร้างระบบที่สอดคล้องกับชีวิตของเราเอง พร้อมกับการลุกขึ้นมาปรับตัวและลงมือทำให้ดีขึ้นในทุกวัน เพราะทางแก้ไม่ได้อยู่ที่วิธีที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว
และสุดท้าย คนที่ดูแลการเงินตัวเองได้ = เป็นฮีโร่ของตัวเราเองแล้ว ⭐️
#aomMONEY #MoneyCoach #โค้ชหนุ่ม #Talkshow #MoneyCoachOnStage
2 บันทึก
9
5
2
9
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย