11 ธ.ค. 2024 เวลา 14:30 • ไลฟ์สไตล์

‘เก็บให้พอ แล้วใช้ให้เกลี้ยง’ ด้วยเทคนิคจัดการเงินแบบ “SPA”

เตรียมพร้อมสำหรับเกษียณตั้งแต่วันแรกที่ได้เงินเดือน
ในงาน THE MONEY FORUM 2024 คุณเฟิร์น - ศิรัถยา อิศรภักดี และ คุณเฌอปราง อารีย์กุล ได้มาพูดคุยกันถึงประเด็นเรื่องการเตรียมตัวเก็บเงินสำหรับการเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงานและได้เงินเดือนเลย
เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นคุณเฟิร์นบอกว่ายิ่งเริ่มได้ไว ค่าใช้จ่ายยิ่งน้อย เริ่มช้ามีราคาที่ต้องจ่าย เพราะระยะเวลาในการเก็บจะน้อยลง
สมมุติคนอายุ 20 ปี เริ่มเก็บเงิน ลงทุน มีผลตอบแทน 8% ต่อปี ลงเดือนละ 4,500 บาท พออายุ 60 ปีก็มีเงิน 15 ล้านบาท
แต่ถ้ารอจนอายุ 40 ปี เริ่มเก็บเงิน ลงทุน มีผลตอบแทน 8% ต่อปีเหมือนกัน ลง 9,000 บาท พออายุครบ 60 ปี จะมีเงินแค่ 5 ล้านบาทเท่านั้น
เพราะฉะนั้นเวลาเป็นตัวแปรที่สำคัญมาก หากเริ่มได้เร็ว ยิ่งได้เปรียบ
✅ [ เทคนิค SPA ]
คุณเฌอปรางเล่าว่า ‘เก็บให้พอ แล้วใช้ให้เกลี้ยง’ ด้วยเทคนิคจัดการเงินแบบ “SPA” เตรียมพร้อมสำหรับเกษียญตั้งแต่วันแรกที่ได้เงินเดือนๆ บ้าง แต่ช่วงหลังพอเริ่มตั้งเป้าหมาย ก็ทำให้การเก็บเงินลงทุนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การมีเป้าหมายคือจุดเริ่มต้นที่ดี มันทำให้เรารู้ว่าควรจะจัดแบ่งเงินเอาไว้ตรงไหนบ้าง
➡ คุณเฟิร์นแนะนำเฟรมเวิร์กที่เรียกว่า “SPA” ให้ลองเอาไปใช้กันดู
S = Set Goal
P = Prioritize
A = Allocate
🎯 Set Goal คือการตั้งเป้าหมายก่อนเลยว่า
1. เป้าหมายอะไร?​ (มีล้านแรก, เกษียณสุข, ดาวน์บ้าน ฯลฯ)
2. เมื่อไหร่ที่ต้องใช้เงินก้อนนี้ (5 ปี, 10 ปี, 40 ปี ฯลฯ)
3. ต้องมีเงินเท่าไหร่? (1 ล้าน, 20 ล้าน ฯลฯ)
📑 Prioritize คือการจัดลำดับความสำคัญ
แบ่งออกเป็น 4 หมวด (ใช้หลัก ​Eisenhower Matrix)
1. [ทำทันที] เร่งด่วน และ สำคัญ : เงินสำรองฉุกเฉิน
2. [ต้องรีบทำ] ไม่ด่วนมาก และ สำคัญ : เกษียณ, ล้านแรก, ปลดหนี้
3. [คิดอีก...จำเป็นไหม] เร่งด่วน แต่ ไม่สำคัญ : ซื้อของลดราคา
4. [ตัดออกได้] ไม่ด่วนมาก และ ไม่สำคัญ : ท่องเที่ยว สินค้าฟุ่มเฟือย
📩 Allocate คือการจัดสัดส่วนของเงินไปตามหมวดต่างๆ
สมมุติว่าเราสามารถเก็บเงินได้เดือนละ 5,000 บาท (หลังจากได้เงินเดือนและหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตหมดแล้ว) ก็แบ่งสัดส่วนตามนี้ได้เลยครับ
1. [ทำทันที] เร่งด่วน และ สำคัญ : 50% (2,500 บาท)
2. [ต้องรีบทำ] ไม่ด่วนมาก และ สำคัญ : 35% (1,750 บาท)
3. [คิดอีก...จำเป็นไหม] เร่งด่วน แต่ ไม่สำคัญ : 10% (500 บาท)
4. [ตัดออกได้] ไม่ด่วนมาก และ ไม่สำคัญ : 5% (250 บาท)
คุณเฟิร์นบอกว่าเฟรมเวิร์กและตัวเลขตรงนี้วางเอาไว้ให้เห็นเป็นตัวอย่าง ลองเอาไปปรับใช้กันดูได้ (เพราะแต่ละคนเงินแต่ละหมวดและแต่ละก้อนก็ไม่เท่ากัน)
แต่ที่มันสนุกคือหลังจากที่เราใส่เงินในหมวด 1 และ 2 เรียบร้อยครบแล้ว (เช่นเงินเดือนเพิ่มขึ้น เก็บเงินสำรองฉุกเฉินได้ครบตามเป้าแล้ว เงินเกษียณใส่ไปตามที่วางไว้แล้ว มีเงินล้านแล้ว ปลดหนี้ได้แล้ว) เราสามารถโยกเงินตรงนั้นไปวางไว้ในหมวดอื่นได้
“ดังนั้นมันเป็นหลักการที่ว่า ‘เก็บให้พอ แล้วใช้ให้เกลี้ยง’” คุณเฟิร์นอธิบาย
หมายถึงว่าหลังจากที่เราจัดสรรเงินในส่วนที่ต้องดูแลเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถใช้เงินส่วนที่เหลือได้อย่างสบายใจมากขึ้นว่ามันจะไม่ไปกระทบส่วนที่จำเป็น ทั้งเงินฉุกเฉินหรือเงินเกษียณ เพราะฉะนั้นก็จะเบาใจขึ้นนั่นเอง (แต่ที่จริงจะใส่ลงทุนหรือเกษียณเพิ่มก็ได้)
ถือเป็นเฟรมเวิร์กที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับการเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับทุกคนเลย สามารถลองเอาไปใช้กันดูได้นะครับ
#aomMONEY #เฟิร์น #ศิรัถยาอิศรภักดี #เฌอปรางอารีย์กุล #TheMoneyForum2024 #SPA #Framework
โฆษณา