11 ธ.ค. เวลา 13:33 • ศิลปะ & ออกแบบ

ทำไมบางคนเรียก 'สีฟ้า' ว่า 'สีเขียว' ?

คนไทยเรียก Blueprint ว่าพิมพ์เขียว ?
คนญี่ปุ่นเรียกไฟจราจรเขียว ว่าไฟฟ้า (ที่ไม่ใช่เสาไฟฟ้า) มันทำไมกันนะ ?
เคยมีใครประสบปัญหาผู้ใหญ่ที่บ้านเรียกของสีฟ้า น้ำเงิน เขียว โดยรวมทั้งหมดว่าสีเขียวบ้าง คุณอาจคิดว่าเป็นความผิดปกติของครอบครัวคุณแค่คนเดียว มีหลายคนเคยเจอประสบการณ์แบบเดียวกัน และมีหลายข้อสันนิษฐานที่อธิบายที่มาที่ไปของชื่อเรียก 'สีฟ้า-เขียว'
🟢 เมื่อแก่ตัวลง สายตาก็แย่ลงไปด้วย
สีน้ำเงิน - ฟ้า และสีเขียวเป็นสีที่คลื่นแสงใกล้เคียงกัน เมื่อแก่ตัวลง สายตาก็ไม่ดี ทำให้ receptors ในตาทำการแยกสีฟ้าและเขียวที่ใกล้เคียงกันเป็นเรื่องยาก
🔵 สีฟ้ามีน้อยในธรรมชาติ
อ่านแล้วคงจะไม่เห็นด้วย ในเมื่อท้องฟ้ากว้างใหญ่ ผืนทะเลสุดลูกหูลูกตา ทุกคนย่อมต้องเคยเห็นสีฟ้า ทว่าท้องฟ้าเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แม้แต่ผืนน้ำก็สะท้อนสีฟ้าลงมา แต่หากตักตวงน้ำขึ้นมาก็ไม่มีสี (ยกเว้นน้ำจะดำ) หากลองนับดูแล้วดอกไม้และสัตว์ที่มีสีฟ้าในธรรมชาติหาได้ยากยิ่ง
ในขณะที่สีเขียวมีมากมายในธรรมชาติ และมักอยู่ในรูปของสิ่งของที่จับต้องได้ อย่างต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งสามารถนำมาสกัดเป็นสีได้ ทำให้ในหลายวัฒนธรรมใช้คำเดียวกันในการเรียกสีฟ้าไปจนถึงเขียวไม่มีการแบ่งแยก
🟢 ภาษามีผลต่อการรับรู้ของคน
มีนักวิจัยทำการทดสอบในชาวแอฟริกากลุ่มหนึ่งที่ไม่มีคำว่าสีฟ้าในภาษา โดยการให้ตัวอย่างสีเขียวและน้ำเงินวางเทียบกันแล้วให้หาสีที่แตกต่าง พบว่าไม่สามารถชี้สีที่แตกต่างออกมาได้
อาจอธิบายได้ว่าเราจะเห็นและรับรู้ถึงสิ่งหนึ่งๆ ได้ดีกว่า ถ้าเรามีคำที่เรียกมันโดยเฉพาะ หรืออาจอนุมานได้ว่าพวกเขาเห็นความแตกต่างของสี แต่ไม่ได้รู้สึกว่าต่างก็ว่าได้
อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ภาษาญี่ปุ่น ที่ใช้คำว่า 青 ao แทนสีฟ้าและเขียวมาอย่างยาวนาน โดยเพิ่งจะมีการเริ่มใช้คำว่า 緑 midori มาอธิบายสีเขียวเมื่อราวพันปีก่อนเท่านั้น
แต่หลายๆ คำที่ใช้สีเขียวก็ยังใช้ คำว่า 青 ao ประกอบในคำอยู่ เช่น แทนที่จะเรียกว่าไฟเขียว คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า 青信号 ao-shingō ไฟฟ้าแทน (แม้ว่าจะมีสีเขียวก็ตาม)
🔵 เพราะฉะนั้นหากคุณยายที่บ้านโมโหที่คุณหยิบหม้อมาผิดสีผิดใบ ก็ขอให้ทำใจร่มๆ เข้าไว้ ความสัมพันธ์ของสีฟ้าและเขียวมันลึกล้ำกว่านั้น
โฆษณา