Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
11 ธ.ค. 2024 เวลา 15:17 • ข่าวรอบโลก
เจาะลึกเชื้อ 3 ชนิดที่สูญหายในออสเตรเลีย
ช่วงนี้ข่าวเชื้อโรคแปลกๆเยอะจริงๆ ยังไม่ทันไร ล่าสุดสำนักข่าวฟ็อกซ์นิวส์ รายงานเมื่อวันอังคาร (10 ธ.ค.67) ว่า รัฐบาลได้สั่งให้ Queensland Health ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย รายงานว่า ขวดบรรจุไวรัสติดเชื้อหลายชนิดจำนวน 323 ขวด หายไปจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยสาธารณสุขในรัฐควีนส์แลนด์เมื่อปี 2564 และมีการเปิดเผยเมื่อเดือน ส.ค. 2566 ตามข้อมูลของสำนักข่าว ABC
3
ในจำนวน 323 ขวด ที่มีข่าวนั้น ชื่อ 3 ชื่อที่หลุดออกมาได้รับความสนใจจากคนทั้งโลก ด้วยเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงความอันตรายของมัน ชื่อนั้นก็คือ Hendra Virus,
Lyssavirus และ Hantavirus
ว่าแต่ เชื้อไวรัส 3 ชนิดนี้คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง และมีอะไรจริงบ้างในสิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับเชื้อ 3 ตัวนี้
รูปร่างของ Hendra Virus
1. Hendra Virus
ตัวแรกคือ Hendra Virus อยู่ในสกุล Henipaviruses วงศ์ Paramyxoviridae
มีจีโนม RNA ลักษณะเป็นสายเดี่ยว(single-stranded,negative-sense RNA Virus)
มีขนาดตั้งแต่ 40 - 600 นาโนเมตร
Hendra Virus มีพาหะนำโรคหลักคือม้า แพร่เชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับม้า มีระยะฟักตัวประมาณ 4 - 18 วัน อาการของไวรัสดังกล่าวมีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการมาก ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตรวมทั้งมีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ วิงเวียน ซึมและสับสนหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 40 และพบว่าในคนที่มีการติดเชื้อไวรัสบางรายไม่แสดงอาการ
Hendra Virus ฝากผลงานไว้น้อยกว่าญาติๆกันอย่าง เชื้อไวรัสนิปาห์ที่ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2542 หลังจากนั้นก็มีการระบาดอีกหลายครั้งในประเทศอินเดีย ที่เมืองซิริกูลิในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สิริรวมผู้เสียชีวิตจากการระบาดทั้ง 2 ครั้งรวม 151 ราย
2
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา มีเพียงบางรายงานที่บอกว่ายา Ribavirin อาจลดอัตราการตายจากไวรัสนิปาห์ได้ จึงทำได้เพียงมาตราการป้องกันการแพร่ระบาด คือหากมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเสียชีวิต โดยเฉพาะม้าและหมู ที่ต้องสงสัยว่าอาจเกิดจากเฮนดราและนิปาห์ไวรัส ห้ามสัมผัสกับซากสัตว์หรือมูลสัตว์โดยตรง เผาทำลายซากม้าและหมูที่ติดเชื้อ ห้ามขนย้ายสัตว์ออกจากบริเวณที่มีการระบาดของโรค และแยกแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หากปรากฏการแพร่เชื้อจากคนสู่คน
1
2. Lyssavirus
Lyssavirus เป็นชื่อเรียกสกุลของไวรัส จัดอยู่ในวงศ์ Rhabdovindae ของลำดับ
Mononegavirales ไวรัสในกลุ่มนี้ที่เราคุ้นเคยคือ Rabie virus หรือเชื้อพิษสุนัขบ้านั่นเอง
Lyssavirus มีพาหะนำโรคเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบได้บ่อยคือ ค้างคาว สุนัข แมว แรคคุน สกั้ง ลิง แพร่เชื้อจากการกัดหรือการข่วน การกัดหรือการข่วนสามารถที่จะฉีดไวรัสเหล่านี้ ผ่านทางน้ำลายของสัตว์ เข้าไปในร่างกายของคนได้
1
ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ เจ็บกระเสาะกระแสะ มีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึกรอบๆบริเวณที่ถูกกัดหรือข่วน ตีนตระหนกง่าย ไม่ถูกกับอากาศสดชื่นและน้ำ อ่อนเพลีย เพ้อคลัง ซักกระตก และ เข้าโคม่า โดยปกติ การเสียชีวิตจะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดอาการเหล่านี้แล้วหลายวันและไม่ได้รับการรักษา
เซลล์หนูแฮมสเตอร์ที่ติดเชื้อไวรัส Lyssavirus
หากถูกสัตว์ที่เป็นพาหะของ Lyssavirus ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำแผลอย่างถูกต้อง รับยาและวัคซีน รวมถึงอิมมิวโนโกลบิวลิน (rabies immunoglobulin) ตามขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3. Hantavirus
เชื้อไวรัสฮานตา(Hantaviruses) อยู่ในวงศ์ Bunyaviridae มักพบมากและกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในจีน โดยมีรายงานโรคปีละประมาณ 40,000 - 100,000 ราย มีรายงานโรคในเกาหลีปีละประมาณ 1,000 ราย โรคจะเกิดมากน้อยตามฤดูกาล โดยพบมากที่สุดในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิต่อต้น ฤดูหนาว นอจากนี้ใน พ.ศ. 2536 ยังพบการระบาดในบริเวณรัฐนิวเม็กซิโกและรัฐอริโซนา ในคนพื้นเมืองของอเมริกา
ส่วนในไทย ปี พ.ศ. 2528 เคยมีรายงานการพบแอนติบอดีต่อ Hanta - like virus ในผู้ป่วย ที่จังหวัดกาญจนบุรีและกรุงเทพ และผู้ป่วย 1 รายในกรุงเทพฯ มีผลยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธี ELISA ว่าติดเชื้อ Hanta - like virus
ไวรัสฮานตาก่อโรคได้ 2 ลักษณะคือ ก่อโรคในระบบโลหิตและระบบทางเดินหายใจ
ซึ่งทำให้มีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารตามด้วยอาการปวดท้องหรือปวดเอวมาก คลื่นไส้ อาเจียนและหน้าแดง ตาแดงและมี จุดเลือดออกในชั้นผิวหนัง โดยแบ่งเป็น 5 ระยะ คือ
1
1.
ระยะไข้
2.
ระยะความดันโลหิตตํ่า
3.
ระยะปัสสาวะน้อย
4.
ระยะปัสสาวะมาก
5.
ระยะฟื้นไข้
การระบาดของ Hantavirus
โดยไข้มักจะเป็นอยู่นาน 3 - 7 วัน หลังจากนั้นอาจยังคงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกมาก และปัสสาวะจะน้อยลง ในระยะที่ความดันโลหิตต่ำอาจอยู่นานหลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน ทำให้ตัวเย็นความดันตกฉับพลันอาจถึงเกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้
พาหะนำโรคของไวรัสดังกล่าวคือกลุ่มสัตว์ฟันแทะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนู โดยการสูดเอาละอองจากสิ่งขับถ่าย ได้แก่ ปัสสาวะ อุจจาระ และนํ้าลายของสัตว์ ทำให้เชื้อมักพบที่ปอด ระยะฟักตัวาจสั้นเพียงไม่กี่วันหรือนานได้ถึง 2 เดือน ส่วนใหญ่ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์
การรักษาทำได้โดยการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการระมัดระวังในระยะช็อกและไตวาย ป้องกันการให้สารนํ้ามากเกินไป การให้ยา Ribavirin มีหลักฐานจำนวนหนึ่งว่าสามารถรักษาโรคติดเชื้อดังกล่าวได้
ภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจจากการติดเชื้อไวรัสฮานตา
การป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวทำได้โดยป้องกันหรือขจัดสัตว์ฟันแทะ มิให้เข้าไปในบ้านเรือนหรืออาคาร เก็บอาหารไว้ในที่ที่สัตว์ฟันแทะเข้าไปกินไม่ได้ ฆ่าเชื้อบริเวณที่มีสัตว์ฟันแทะ โดยการพ่นนํ้ายาฆ่าเชื้อโรค ควบคุมสัตว์ฟันแทะและเฝ้าระวังการติดเชื้อโรคไวรัสฮานตาในสัตว์ฟันแทะในป่าหากตรวจพบความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรคในสัตว์และในผู้ป่วย ให้ขจัดกวาดล้างสัตว์ฟันแทะต่างๆ รวมทั้งการฆ่าเชื้ออย่างทั่วถึงด้วย
ทิโมธี นิโคลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศเมื่อวันจันทร์ (9 ธ.ค.67) ว่า ด้วยการละเมิดความปลอดภัยทางชีวภาพที่ร้ายแรง กระทรวงสาธารณสุขควีนส์แลนด์ จำเป็นต้องสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้อีก และว่าการสืบสวนมาตรา 9 จะช่วยให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดถูกละเลยในสถานการณ์นี้ พร้อมตรวจสอบนโยบาย และขั้นตอนการดำเนินงานในปัจจุบันของแล็บดังกล่าว และย้ำว่า การสืบสวนจะพิจารณาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และพฤติกรรมของ
พนักงานด้วย
1
นิโคลส์ เสริมอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขควีนส์แลนด์ได้ใช้มาตรการเชิงรุก รวมถึงการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระเบียบที่จำเป็น และดำเนินการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดเก็บวัสดุอย่างถูกต้อง
1
อ้างอิง
https://www.vetequine.theclinics.com/article/S0749-0739(14)00062-5/abstract
https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(04)15792-9/abstract
https://www.microbiologyresearch.org/content/journal/jmm/10.1099/0022-1317-49-7-587
ข่าวรอบโลก
สุขภาพ
ข่าว
44 บันทึก
53
18
112
44
53
18
112
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย