12 ธ.ค. เวลา 08:03 • ศิลปะ & ออกแบบ

3 กระบวนท่าในการออกแบบ

(รูปประจำโพส ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด....)
ในกระบวนการสร้างสรรค์ ตลอดเวลาการทำงานออกแบบสถาปัตย์กว่า 25 ปี ผมพบว่ามี 3 ขั้นตอน หรือ 3 กระบวนท่าที่ช่วยให้เราออกแบบ หรือคิดนอกกรอบได้
3 กระบวนท่าต่อเนื่้องที่เราต้องคิดถึง คือ การทำลายหรือละลายเงื่อนไข การปรับเปลี่ยน และการคิดค้นสื่งใหม่(หรือสิ่งที่เราเชื่อว่าใหม่)
3 ขั้นตอนนี้จะช่วยให้เราออกจากกรอบของงานในลักษณะเดิมๆได้ ไม่มากก็น้อย
โดย 2 ขั้นตอนแรกจะช่วยเคาะหัวเราให้หลุดออกจากสิ่งที่คุ้นเคย หรือขนบการออกแบบที่ล้อมกรอบเรามาตลอดชีวิต ก่อนจะนำเราไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการบิดหัวคิดเราให้มองอะไรอย่างสร้างสรรค์ขึ้น หรือมองสิ่งเดิมในมุมมองใหม่
1.การทำลายหรือละลายเงื่อนไข
เมื่อเรากระโจนเข้าสู่การออกแบบอะไรซักอย่าง หลังจากได้โจทย์มาแล้ว เรามักจะมีรูปร่างหรือแนวทางปรากฎขึ้นในจิตใจ อาจจะโยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้อาจจะล้อมกรอบเราโดยที่เราไม่ทันระวังตัว สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็น ประเด็นเรื่องเงินทอง ประเด็นเรื่องการใช้สอยหรือใดๆ
เช่น ถ้ามีคนมาจ้างออกแบบบ้าน ผมเชื่อว่า ร้อยละร้อยของผู้ออกแบบจะมีโครงร่างเด้งขึ้นมาในใจตั้งแต่วันแรกที่คุยโครงการ ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง มาเป็นมุมๆ หรือมาเป็นส่วนๆบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คืดสิ่งที่เราต้องใช้ “การทำลายหรือละลาย” เข้ามาช่วย เพื่อไม่ให้เราติดกับรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ที่ปรากฎขึ้นตรงหน้าในขณะจิตนั้นๆ
วิธีการอาจหลายหลากสำหรับแต่ละบุคคล แต่เราอาจจะใช้ “คำ” ที่เปลี่ยนไป เพื่อช่วยหลอกสมองในการสร้างภาพ เช่นเปลี่ยนคำว่า “บ้าน” เป็น “ถ้ำ” หรือ “อะไรก็ได้” ที่เราสามารถเข้าไปอยู่ได้ หรือ สุดโต่งไปกว่านั้น คือจินตนาการถึงสถานการณ์อื่นๆ เช่น “ไปอาศัยอยู่ใต้น้ำ” คำคือสื่อที่เราใช้สื่อสารกับสมอง ในขณะเดียวกัน คำ ก็จะสามารถหลอกให้สมองสร้างภาพหรือกรอบใดๆขึ้นมาได้เช่นกัน
2.การปรับเปลี่ยน
เมื่อเราหลุดจากกรอบเดิมได้โดยการทำลายกรอบแล้ว ขั้นต่อมาคือการปรับเปลี่ยน อาจเป็นหการปรับเปลี่ยนสถานการณ์สมมติเหล่านั้น ให้ชัดเจนขึ้น เช่นเริ่มสมมติว่าตัวเราต้องเข้าไปใช้พื้นที่เหล่านั้น เราจะปรับเปลี่ยนพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมเหล่านั้นอย่างไร เช่น อาจปรับเปลี่ยนจากกรอบอาคารที่ถาวรเป็นแนวคิดของสิ่งที่ไม่ถาวร ปรับเปลี่ยนได้ตลอด และดูว่ามีนจะเกิดอะไรขึ้น
3.เมื่อดำเนินการทั้ง 2 วิธีแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการคิดค้นหรือต่อยอดจากแนวคิดนั้นให้กลายเป็นสิ่งใหม่ หรือกลายเป็น product หรือชิ้นงานออกแบบที่จับต้องได้ อีกทีหนึ่ง
เช่น ท้ายที่สุดห้องที่เราคุ้นเคยอาจจะกลายสภาพเป็นพื้นที่ใช้สอยแบบหลวมๆหรือยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้แทนก็เป็นได้
ทั้ง 3 กระบวนท่านี้ แม้ไม่สามารถการันตีว่าทำตามแล้วเราจะได้สิ่งใหม่ 100% แต่รับรองได้ว่า ไม่มากก็น้อย เราจะเติมสีสรรหรือความสร้างสรรค์ลงในงานที่เราออกแบบได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนบทความ จากหนังสือ ENZO MARI เอนโซ มาริ 25 วิธีเพื่อตอกตะปูหนึ่งตัว
โฆษณา