Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
13 ธ.ค. เวลา 13:00 • การศึกษา
เคล็ดลับวางแผนปลดหนี้ กยศ. หมดไว ดอกเบี้ยต่ำ ส่งต่อโอกาสการศึกษาให้กับเด็กรุ่นต่อไป
ณ ข้อมูล วันที่ 31 ม.ค.67 เกี่ยวกับ กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) พบว่า
มีผู้กู้ยืมเงินกองทุน 6,809,339 ราย รวมวงเงินให้กู้ 760,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างชำระหนี้ 3,501,935 ราย อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 1,368,761 ราย ชำระหนี้เสร็จสิ้น 1,866,022 ราย เสียชีวิต ทุพพลภาพ 72,621 ราย
ส่วนที่ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป 2.1 ล้านคน คิดเป็นเงินประมาณ 97,000 ล้านบาท
เมื่อรุ่นพี่ที่จบไปแล้วไม่ยอมจ่ายหนี้ ก็ทำให้สภาพคล่องของ กยศ. น้อยลงไปด้วย ซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาที่ตามมาทีหลังสำหรับโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆ รุ่นต่อไปได้เหมือนกัน
แล้วสำหรับคนที่เป็นหนี้กยศ. อยู่ ไม่ว่าจะเพิ่งจบปีนี้ อยู่ในช่วงปลอดดอกเบี้ย หรือกำลังจ่ายอยู่ จะจัดการเงินของตัวเองยังไง หรือ มีวิธีปลดหนี้โดยที่จ่ายดอกเบี้ยต่ำๆ ได้ยังไงบ้าง?
✅ 1. ขอปรับ Mindset ก่อนเรื่องหนี้ เมื่อเรามีหนี้ ก็ควรที่คืนหนี้ตรงนั้น ให้ลองเปลี่ยนความคิดว่าหนี้ตรงนี้ที่เป็นภาระ แต่ให้คิดว่ามันเป็นการส่งต่อโอกาสให้รุ่นน้องคนอื่นๆ เพราะครั้งหนึ่งเงินเราก็เคยต้องการเงินตรงนี้เป็นค่าเทอมและค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน
✅ 2. ให้ลองใช้แบบฟอร์มคำนวณค่าใช้จ่าย (แนบในคอมเมนต์อ้างอิง) เพื่อวางแผนการเก็บเงินจ่ายสำหรับแต่ละเดือนว่าจะต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ เมื่อเรารู้ว่าตรงนี้ ก็สามารถวางแผนถึงค่าใช้จ่ายตรงนี้ไว้ล่วงหน้าได้ด้วย ตอนนี้มีทั้งแอปฯและช่องทางอำนวยความสะดวกมากมายในการชำระหนี้
✅ 3. ถ้ามีเงินโบนัสหรือเงินออมที่สามารถแบ่งมาจ่ายหนี้ กยศ. ได้ก็ทำได้เลย เพราะมันสามารถลดดอกเบี้ยรวมที่เราจะจ่ายทั้งหมดลงได้ด้วย (สามารถปรับเล่นได้ในไฟล์แบบฟอร์มคำนวณค่าใช้จ่ายเช่นกัน)
✅ 4. สำหรับคนที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ตอนนี้ กยศ. มีโครงการพิเศษ หากมาปิดยอดเลย จะลด 3% ของเงินต้นได้ด้วย
✅ 5. ตอนนี้ผิดนัดชำระหนี้ จะต้องเสียค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมจัดการ ในอัตรา เบี้ยปรับ 0.5% ต่อปี ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ
เบี้ยปรับ/ค่าธรรมเนียมจัดการ คำนวณอย่างไร ?
(เงินต้นงวดที่ค้างชำระ x 0.5%) / 365 X จำนวนวันที่ค้างชำระของงวดนั้น
ตัวอย่าง เงินต้นงวดที่ค้างชำระ 10,000 บาท เบี้ยปรับ 50 บาท คิดเป็นรายวัน ๆ ละ 0.13 บาท นับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้
เบี้ยปรับตรงนี้ถือว่าต่ำมากๆ เลยทีเดียว เนื่องจาก กยศ. ได้ปรับลดอัตราเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินกู้ยืมคืน จากอัตราเดิมร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.5 ต่อปี ตาม พ.ร.บ. กยศ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 มีผลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป
ประเด็นนี้เป็นเหมือนดาบสองคมว่า มันต่ำมากจนอาจจะกระตุ้นให้คนที่ไม่ได้จ่ายหรือผิดนัดชำระมาก่อนกลับมาจ่าย แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะทำให้คนที่เป็นหนี้รู้สึกว่ามันต่ำมากจนเบี้ยวก็ไม่เป็นไรหรอก ดอกนิดเดียวเอง แบบนี้ก็ได้เช่นกัน
✅ 6. ในช่วง 2 ปีแรกหลังจบการศึกษาจะถือเป็นระยะเวลาปลอดหนี้ หมายถึงว่าเรายังไม่ต้องใช้เงินคืนในช่วงนี้ (สมมุติจบปี 67 จะชำระหนี้งวดแรกคือ 5 กรกฎาคม 2570 เลย) เพราะฉะนั้นช่วงนี้ให้เตรียมเงินเอาไว้ ประหนึ่งว่าต้องจ่ายหนี้คืนได้เลยหากได้งานแล้ว และถ้าให้ดีเก็บเงินออมเป็นก้อนไว้ก็ได้ เพราะเรารู้แล้วว่าปี 70 จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาอย่างแน่นอน
อย่าไปคิดว่าเมื่อถึงเวลาจ่ายแล้วค่อยเตรียม เพราะบางทีระหว่างสองปีนั้นเราอาจจะมีหนี้อย่างอื่นงอกเพิ่มขึ้นมาได้ เตรียมไว้ดีกว่ามาผิดนัดชำระหนี้ กยศ. ครับ
✅ 7. หากจ่ายไม่ได้จริงๆ การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้สามารถทำได้ ต้องเข้าไปคุยกับเขา แต่เงื่อนไขเบื้องต้นคือเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้ และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน (หากเคยผิดนัดชำระหนี้มาก่อน จะต้องชำระหนี้ให้เป็นปกติก่อนยื่นขอผ่อนผัน และรักษาสถานะการชำระหนี้ที่เป็นปกติไว้จนกระทั่งได้รับการพิจารณาให้ได้รับสิทธิในการผ่อนผัน)
อยู่ในเกณฑ์ : (1) เป็นผู้ไม่มีรายได้ (2) เป็นผู้มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 8,008 บาท (3) กรณีผู้กู้ยืมเป็นผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งทรัพย์สินได้รับความเสียหายรุนแรง (4) กรณีเป็นผู้มีรายได้ถดถอย (5) กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินที่มีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัวซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการ [อ่านรายละเอียดได้ในลิงก์เพิ่มเติม]
✅ 8. ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่ถูกศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา หรือชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น และใกล้จะสิ้นสุดระยะเวลาการบังคับคดี กองทุนฯ จะทำการสืบทรัพย์ และบังคับคดีกับทรัพย์ของผู้กู้ยืมหรือผู้ค้ำประกัน เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา (อ่านเพิ่มเติมได้ในลิงก์)
สุดท้ายครับวางแผนการเงินของตัวเองให้ดี การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นหนี้ก็ต้องใช้ โดยเฉพาะหนี้ กยศ. ที่เป็นเหมือนโอกาสสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปด้วย
อ้างอิง : แบบฟอร์มคำนวณค่าใช้จ่าย (เลื่อนลงไปข้างล่างจนสุดเป็นไฟล์ excel) :
https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1547359402
กรณีผู้กู้ถูกยึดทรัพย์ :
https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548649165
การผ่อนผันชำระหนี้ :
https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548649297
https://www.thairath.co.th/.../econ.../thailand_econ/2775129
https://www.studentloan.or.th/en/news/1716539929
https://www.youtube.com/watch?v=RNwum3XxcUA&t=1316s
#aomMONEY #การเงินส่วนบุคคล #กยศ #จ่ายหนี้
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย