ต้นรัง สีสันแห่งผืนป่า

ต้นรัง (Burmese sal) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ทนแล้ง พบในประเทศไทย มาเลเซีย พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม
ประเทศไทยกระจายพันธุ์อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักขึ้นตามป่าเต็งรัง ตามเขาหินปูน ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงความสูง 1,300 เมตร ส่วนตะวันออกกับภาคใต้ ไม่พบไม้ชนิดนี้
สรรพคุณของรัง ใบนำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้อาการวิงเวียนศีรษะ เปลือกต้มกินน้ำแก้โรคท้องร่วง และใช้ใบแก่สีเขียวมาตำพอกรักษาแผลพุพองได้ดี ยางใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ หรือใช้ยาแนวเรือ ส่วนเนื้อไม้รัง ใช้ในงานการก่อสร้างบ้านเรือนได้ดี เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีความทนทานคู่กับไม้เต็ง
ด้วยเปลือกต้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา มีความแข็งและหนามาก แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้นคล้ายรอยไถ เปลือกด้านในสีแดงออกน้ำตาล กิ่งก้านมักคดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง แม้แต่ในช่วงผลัดใบ แตกใบอ่อนสีแดงมองไปแล้วสวยงาม จากนั้นในช่วง มีนาคม - เมษายนจะออก ดอกมีสีเหลืองอร่าม ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆกระจายไปทั่วบริเวณ
ที่มา: อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี)
#ต้นรัง #อุทยานแห่งชาติภูพาน #สกลนคร #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา