14 ธ.ค. 2024 เวลา 02:06 • การเมือง

บรรยากาศการเลือก สว. ปี 67 เรื่องผิดปกติระหว่างทางในสถานการณ์ของประเทศไทย ระหว่างเเดง VS น้ำเงิน

ารเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2567 เสร็จสิ้นไปแล้ว
ระบบการเลือก สว. 67 เป็นระบบแบ่งกลุ่มอาชีพและให้ผู้สมัครเลือกกันเอง โดยแบ่งระดับการเลือกออกเป็น 3 ระดับ คือระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งผู้สมัครจะได้โหวตเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ ก่อนที่จะไปสู่รอบเลือกไขว้ระหว่างกลุ่มอาชีพ ซึ่งเป็นเช่นนี้ในการเลือกทุกระดับ โดยผู้สมัครจะได้รู้จักกันผ่านเอกสารข้อมูลแนะนำตัว (สว.3) เพียงเท่านั้น อย่างไรก็ดี ระบบการเลือก สว.
ครั้งนี้มีปัญหาตั้งแต่การจัดกลุ่มอาชีพ กล่าวคือ กลุ่มอาชีพ 20 กลุ่มยังมีความคลุมเครือ ไม่สมเหตุสมผล และไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศได้อย่างทั่วถึง เช่นการจัด ‘กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น’ ไว้ในกลุ่มเดียวกัน
“การแบ่ง 20 กลุ่ม มันไม่ใช่ 20 วิชาชีพ สังคมไทยมีหลายภาคส่วนมากซึ่งไม่สามารถนับเป็นกลุ่มอาชีพเหมือนกับที่เราแบ่งสภาวิชาชีพได้ ถ้าเราติดกับดักของการต้องเป็นสภาวิชาชีพ เราก็จะได้ สว. เป็นวิชาชีพแต่ละกลุ่ม ซึ่งจํานวนมันไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวแทนคนทั้งสังคม” จีรนุช เปรมชัยพร กล่าว
มากไปกว่านั้น ความคลุมเครือของคำอธิบายคุณสมบัติของแต่ละกลุ่มอาชีพที่ระบุไว้ในส่วนท้ายว่า ‘หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน’ ยังเปิดช่องว่างให้ผู้สมัครบางรายสมัครเข้าไปไม่ตรงกับอาชีพของตัวเอง ไม่ว่าด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อาทิ เจ้าของร้านรับทำป้ายโฆษณาที่สมัครด้วยกลุ่มสื่อสารมวลชน ขณะที่อาชีพนี้ควรจัดอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบกิจการ
บรรยากาศการใช้คะเเนนเสียงในการเลือกตั้ง สว.
สว.ในชุดปัจจุบันประกอบด้วย
1. กลุ่มบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง
พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ อดีตแม่ทัพภาค 4
และอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) (สุราษฎร์ธานี)
นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด (อ่างทอง)
นายมงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง (บุรีรัมย์)
นายธวัช สุระบาล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และผู้ริเริ่มสร้างสรรค์แบรนด์ “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (ตรัง)
นายวร หินดี อดีต ผอ.กองคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย (เลย)
พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา อดีตรอง ผอ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และอดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สุโขทัย)
พล.ท.สุกิจ ทั่งทอง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และเคยมีประวัติปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในไทยตามแผนงาน กอ.รมน. (สระบุรี)
นายอภิชาติ งามกมล อดีตรองผู้ว่าราชการหลายจังหวัด (บุรีรัมย์)
พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) (ชัยภูมิ)
นายอภินันท์ เผือกผ่อง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช)
2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (สุรินทร์)
พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ (บุรีรัมย์)
นายเศก จุลเกสร ทนายความ (นครสวรรค์)
นายสืบศักดิ์ แววแก้ว เคยเป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี 2537 ก่อนมาเป็นกำนัน ต.จำลอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ระหว่างปี 2554-2565 (อ่างทอง)
พล.ต.ต.สุนทร ขวัญเพ็ชร อดีตรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล (ปัตตานี)
พ.ต.ท.สุริยา บาราสัน อดีตข้าราชการตำรวจ และอดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง จ.สตูล (สตูล)
นายบุญส่ง น้อยโสภณ อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (ระยอง)
นายฉลอง ทองนะ อดีตข้าราชการตำรวจ สภ.เบตง จ.ยะลา (ยะลา)
พล.ต.ท.วันไชย เอกพรพิชญ์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (นครศรีธรรมราช)
พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง อดีตเลขานุการประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (นครนายก)
3. กลุ่มการศึกษา
นายอัษฎางค์ แสวงการ อดีตอธิการบดี ม.อีสาน และอดีตเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น 3 สมัย (ขอนแก่น)
นายสมทบ ถีระพันธ์ อดีตผู้บริหารสถานศึกษา (อำนาจเจริญ)
นายวิวัฒน์ รุ้งแก้ว อดีตข้าราชการครู และประธานชมรมมวยสากลสมัครเล่น จ.ศรีสะเกษ (ศรีสะเกษ)
นายสุเทพ สังข์วิเศษ อดีต ผอ.สถานศึกษา (อ่างทอง)
นายโสภณ ผาสุข อดีตข้าราชการครูและนักวิจัยการศึกษา (ปราจีนบุรี)
นายสามารถ รังสรรค์ อดีตรอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 (สตูล)
นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด อดีตรองอธิการบดี ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ปัตตานี)
นายสุทิน แก้วพนา อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (แพร่)
นายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ ผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเจล (สมุทรสาคร)
นายกมล รอดคล้าย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สงขลา)
4. กลุ่มการสาธารณสุข
นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (บุรีรัมย์)
นายสมบูรณ์ หนูนวล อดีตข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค (ชุมพร)
นายบุญชอบ สระสมทรัพย์ อดีตรองนายแพทย์สาธารณสุข จ.พระนครศรีอยุธยา (พระนครศรีอยุธยา)
นางนงลักษณ์ ก้านเขียว ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสารจิตร (สุโขทัย)
นายฤชุ แก้วลาย สัตว์แพทย์ (บุรีรัมย์)
นางเพลินจิต ขันแก้ว ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโพธิ์ (อำนาจเจริญ)
นายวันชัย แข็งการเขตร อดีตรองนายแพทย์สาธารณสุข จ.อุทัยธานี (อุทัยธานี)
นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีต สส.ขอนแก่น พรรคไทยรักไทย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (ขอนแก่น)
น.ส.วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพ (กทม.)
นายวีระพันธ์ สุวรรณนามัย แพทย์เฉพาะทางโรคสมองระบบประสาท และทำสื่อสังคมออนไลน์ชื่อ DR.V Channel มีผู้ติดตามเกิน 1 ล้านคน (พิษณุโลก)
5. กลุ่มอาชีพทำนาและปลูกพืชล้มลุก
นายสมศักดิ์ จันทร์แก้ว กรรมการสมาคมโรงสีข้าวภาคใต้ (นครศรีธรรมราช)
น.ส.อมร ศรีบุญนาค อาชีพทำนา และเจ้าของสวนศรีบุญนาค (ชัยนาท)
นางปวีณา สาระรัมย์ อาชีพทำนา (บุรีรัมย์)
นายสมชาย นุ่มพูล อาชีพทำนา (นครนายก)
นายพิมาย คงทัน เกษตรกร (บึงกาฬ)
นายสาลี สิงห์คำ เกษตรกร (สุรินทร์)
นายเดชา นุตาลัย อดีตประธานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร (กทม.)
นางกัลยา ใหญ่ประสาน เจ้าของและวิทยากรศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม โขงสาละวินลำพูน และอดีตนายกสมาคมเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จ.ลำพูน (ลำพูน)
น.ส.นิชาภา สุวรรณนาค ทำฟาร์มเห็ดและเห็ดเป็นยา และกรรมการเครือข่ายสามอ่าวเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ (ประจวบคีรีขันธ์)
นายชูชาติ อินสว่าง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สุพรรณบุรี)
6. กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง
นายเตชสิทธิ์ ชูแก้ว เกษตรกร (นครศรีธรรมราช)
นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (สุราษฎร์ธานี)
น.ส.มาเรีย เผ่าประทาน ทำฟาร์มโคเนื้อ อดีตกำนัน และเคยเป็นผู้สมัคร สส.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 3 พรรคภูมิใจไทย (ประจวบคีรีขันธ์)
นายยะโก๊ป หีมละ อาชีพเลี้ยง กุ้ง ประมง ทำสวน และเปิดบริษัทนำเข้า-ส่งออก (สงขลา)
นายนิสิทธิ์ ปนกลิ่น เกษตรกร และกรรมการเกษตรระดับอำเภอตั้งแต่ปี 2560-ปัจจุบัน (พังงา)
นายจรุณ กลิ่นตลบ เกษตรกร (อุทัยธานี)
นายธนกร ถาวรชินโชติ รองประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมการประมงแสมสาร
รวมถึงมีส่วนร่วมในการแก้ไข พ.ร.ก.ประมงฉบับประชาชน (ชลบุรี)
นายโชติชัย บัวดิษ ผู้จัดการสวนสุภัทราแลนด์, นายกสมาคมการค้าท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสุขภาพ จ.ระยอง และรองประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระยอง (ระยอง)
นายอิสระ บุญสองชั้น อดีต ผอ.โรงเรียน ปัจจุบันเลี้ยงวัว (ศรีสะเกษ)
นายเศรณี อนิลบล อดีตเกษตรจังหวัดนครสวรรค์, อดีตคณะที่ปรึกษา รมช.เกษตรและสหกรณ์ และอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการ จ.นครสวรรค์ (นครสวรรค์)
7. กลุ่มพนักงาน หรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา)
น.ส.เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ พนักงานบริษัทด้านการขนส่งและชิปปิ้ง (พระนครศรีอยุธยา)
น.ส.วิภาพร ทองโสด พนักงานบัญชี บ.พี.ที.เค.ไมน์นิ่ง จำกัด (เลย)
นายประกาสิทธิ์ พลซา พนักงานเอกชนขับรถสิบล้อ รถแบ็คโฮ (เลย)
นายจตุพร เรียงเงิน วิ่งน้ำและรับจ้าง (บุรีรัมย์)
นางสมพร วรรณชาติ ชาติ อดีตพนักงานปรีชาฟาร์มกรุ๊ป
ปัจจุบันอาชีพทำนา (สุรินทร์)
นายชวภณ วัธนเวคิน กรรมการบริหาร บ.เกาะกูด ฮอสพิเทลลิตี้ จำกัด (ตราด)
นายแล ดิลกวิทยรัตน์ นักวิชาการด้านแรงงาน (กทม.)
นายปิยพัฒน์ สุภาวรรณ ที่ปรึกษาทางธุรกิจและนักลงทุน อดีตเคยทำงานในบริษัทอุตสาหกรรมน้ำมันและโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่ (นนทบุรี)
นายอมรศักดิ์ กิจธนานันท์ วิทยากรและที่ปรึกษา เคยเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) รวมถึงมีประสบการณ์การทำงานในองค์กรต่างประเทศ เช่น UN, USAID และ UNDP (นนทบุรี)
8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค พลังงาน
นายจิระศักดิ์ ชูความดี อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ (ระนอง)
นายชีวะภาพ ชีวะธรรม อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ (สิงห์บุรี)
นายสัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา อดีต ผอ.สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เขต10 ราชบุรี (ราชบุรี)
นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม อดีตวิศวกรโยธา สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจ.พิจิตร และ จ.เพชรบูรณ์
รวมถึงเคยเป็นผู้ว่าจังหวัดพิจิตร (พิจิตร)
นายนิรัตน์ อยู่ภักดี อดีต สว.ชัยภูมิ และผู้ก่อตั้ง
บริษัท รีเจ้นท์ กรีน เพาเวอร์ จำกัด (ชัยภูมิ)
นายอภิชา เศรษฐวราธร นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (กระบี่)
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ อดีตผ ผอ.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และเคยทำงานใน บมจ.บางจาก ในตำแหน่งระดับบริหาร (สมุทรปราการ)
นายนพดล อินนา ผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT), อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนฯ ม.ธรรมศาสตร์ และ อดีต สส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย ปี 2544 (กาญจนบุรี)
นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และเคยเป็นผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง (หนองคาย)
นายปฏิมา จีระแพทย์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ (กทม.)
9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางขนาดย่อม
นายนิพนธ์ เอกวานิช เคยดำรงตำแหน่งประธาน บ.ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด ผู้ให้บริการรถโดยสาร Smart EV Bus ในภูเก็ต และเคยลงสมัคร สส.ภูเก็ต เขต 1 ของพรรคภูมิใจไทย (ภูเก็ต)
นางวรรษมนต์ คุณแสน ช่างเสริมสวยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี (บุรีรัมย์)
นายพิชาญ พรศิริประทาน ทำธุรกิจออนไลน์ ประสบการณ์มากกว่า 15 ปี (ยะลา)
นางสุมิตรา จารุกำเนิดกนก นักธุรกิจหญิงจากกิจการร้านทองเก่าแก่ของจังหวัดนครราชสีมา และต่อมาได้ต่อยอดเปิดกิจการร้านทองและโรงรับจำนำแห่งแรกของ จ.บึงกาฬ (บึงกาฬ)
นางสมศรี อุรามา วิทยากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.สตูล, นักบริบาลชุมชน ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล และ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ต.ละงู (สตูล)
นางเบ็ญจมาศ อภัยทอง เจ้าของกิจการร้านเบ็ญจมาศอาหารสด และสตรีไทยดีเด่น จ.พิจิตร (พิจิตร)
นายชัยธัช เพราะสุนทร ผู้ก่อตั้งบริษัท สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด ประกอบธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์มานานกว่า 36 ปี (ฉะเชิงเทรา)
น.ส.มณีรัฐ เขมะวงค์ ผู้บุกเบิกและพัฒนาโรงงานแปรรูปผลไม้จากท้องถิ่นใน อ.แม่จัน จ.เชียงราย สู่ระบบตลาดโมเดิร์นเทรด (เชียงราย)
น.ส.ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย อดีตคณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.กรุงเทพ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจของ SMEs ทั้งบริษัทเอกชนและวิสาหกิจชุมชน (ราชบุรี)
นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร ผู้ก่อตั้งบริษัทจัดหางาน เคนเนเดีย คอนเน็ค จำกัด (กทม.)
ภาพจาก 101 World การเลือก สว. ประเทศไทย
สมชัย ศรีสุทธิยากร มีความเห็นว่าปัญหานี้เกิดจากการออกแบบวิธีการรับสมัครของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ให้ผู้สมัครกรอก ‘หนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร’ (สว.4)
ซึ่งผู้สมัครต้องลงลายมือชื่อรับรองตัวเอง และมีพยานอีกคนซึ่งเป็นใครก็ได้ร่วมเซ็นรับรอง ในขณะที่ กกต. ใช้เพียงแค่วิธีการคาดโทษกับผู้สมัครเท็จ คือประกาศว่ากรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ตรงตามกลุ่มอาชีพ ผู้สมัครและผู้เซ็นรับรองจะได้รับโทษจำคุก แต่ในความเป็นจริง กกต. กลับไม่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลผู้สมัครอย่างรัดกุม และตรวจสอบแค่ในกรณีที่มีผู้ร้องเรียนเข้ามาเป็นรายบุคคลเท่านั้น เป็นผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมา
“เมื่อคนที่คุณสมบัติไม่ถูกต้องผ่านเข้าไปแต่ละรอบ โดยเขี่ยคนที่คุณสมบัติถูกต้องให้ตกรอบไป คนที่ตกรอบในแต่ละรอบจึงเสียสิทธิ ยกตัวอย่างกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทรา กกต. จังหวัดประกาศถอนสิทธิผู้สมัครคนหนึ่งที่เข้ารอบประเทศ เพราะเขาพ้นจากการดำรงตําแหน่งทางการเมืองมาไม่เกิน 5 ปี แต่คําถามคือ ก่อนที่เขาจะเข้าไปถึงรอบประเทศ ในรอบอําเภอกับรอบจังหวัด เขาเขี่ยใครทิ้งระหว่างทาง เท่ากับว่าเขาทําให้คนซึ่งควรจะมีโอกาสเข้าสู่รอบต่อไปตกรอบก่อน
เนื่องจาก กกต. ตรวจสอบช้า ถ้าไม่มีคนร้องเรียนก็ไม่รู้เรื่องเลย” สมชัยอธิบาย
ผู้ผ่านประสบการณ์สรรหา สว. ทั้ง 3 ท่านยังมีความเห็นตรงกันว่ากติกาของรอบเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ เป็นกติกาที่เปิดช่องว่างให้กลุ่มพรรคพวกเดียวกันสามารถเกณฑ์คนมาสมัครเพื่อเป็นโหวตเตอร์ให้พวกของตัวเองได้ อีกทั้งยังเป็นเกมการแข่งขันที่ทำให้ผู้สมัครมีโอกาสไม่เลือกคนที่มีคุณสมบัติดีที่สุด เพื่อตัดคู่แข่งที่มีความสามารถโดดเด่นออกไป ซึ่งรัฐธรรมนูญ 60 กำหนดมิให้มีการเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ แต่กระบวนการนี้มาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
นอกจากนี้ กกต. ยังมีปัญหาด้านความไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านการเปลี่ยนกติกาการเลือกอย่างฉุกละหุก ทั้งการเปลี่ยนบัตรเลือกใหม่ใน 10 วันก่อนการเลือก และการออกคำสั่งให้รวมหีบ ในกรณีที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวในกลุ่มอาชีพใดๆ ในคืนก่อนการเลือก ส่งผลให้เกิดความวุ่นวาย การเข้าใจไม่ตรงกัน และการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานต่างกันในแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
กลุ่มต่อมาของสมาชิกวุฒิสภา
10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามข้อ 9
นายโสภณ มะโนมะยา อดีตรองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสะเดา ในใบแนะนำตัวผู้สมัครระบุว่า เป็นผู้ริเริ่มนำเข้ายารักษาโรคมะเร็งจากอินเดีย เข้ามาจำหน่ายในไทย ซึ่งมีราคาถูกกว่ายานำเข้าจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น (สงขลา)
นายรุจิภาส มีกุศล ผู้จัดการโรงไฟฟ้าชีวมวลมุ่งเจริญ (สุรินทร์)
พ.ต.ท.สง่า ส่งมหาชัย ผู้รับเหมาก่อสร้าง (ลำปาง)
นางแดง กองมา อาชีพขายหมู (อำนาจเจริญ)
นายสมพาน พละศักดิ์ ขายก๋วยเตี๋ยวไก่มะระในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญมากว่า 12 ปี (อำนาจเจริญ)
นายสุนทร เชาว์กิจค้า ประกอบอาชีพธุรกิจโรงแรม และอดีตประธานชมรมธุรกิจท่องเที่ยวเกาะลันตา (กระบี่)
นายนิคม มากรุ่งแจ้ง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูประเทศ โดยในใบแนะนำตัวระบุด้วยว่ามีความเชี่ยวชาญกำหนดราคาสินค้าปลาน้ำจืดทุกชนิด (สมุทรสาคร)
นายสหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์ เลขาธิการหอการค้า จ.กาญจนบุรี อาชีพผู้ประกอบการ ประวัติในใบแนะนำตัวระบุว่า มีความชำนาญด้านรถยนต์มากว่า 20 ปี และทำงานอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน 8 ปี และมีประสบการณ์การทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชน (กาญจนบุรี)
นายนิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล ผู้จัดการทั่วไป อ่างทอง เอฟซี (อ่างทอง)
นายมังกร ศรีเจริญกูล เป็นเจ้าของกิจการรับเหมาก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี จ.น่าน รวมทั้งเป็น อสม.บ้านดอนศรีเสริม อ.เมือง จ.น่าน และเป็นรองประธานชุมชนบ้านดอนศรีเสริม (น่าน)
11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ หรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) (หนองบัวลำภู)
นายกัมพล สุภาแพ่ง เจ้าของกิจการธุรกิจโรงแรม (เบสรีสอร์ท, ต้นตาลรีสอร์ท), อดีตที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (เพชรบุรี)
นายพิศูจน์ รัตนวงศ์ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม (ซีวิวรีสอร์ท) และเรือรับนักท่องเที่ยว (ตราด)
น.ส.ภาวนา ว่องอมรนิธิ เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหารโรงแรม ร้านอาหาร ผู้จัดงานท่องเที่ยวของ อ.บ้านโป่ง (ราชบุรี)
นายอัครวินท์ ขำขุด ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม (111 รีสอร์ท แอนสปา) (ชัยนาท)
นายสุวิทย์ ขาวดี เจ้าของกิจการบริษัททัวร์ (สตูล)
นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ เจ้าของที่พักโฮมสเตย์อ่าวนาง (กระบี่)
นายณภพ ลายวิเศษกุล เจ้าของกิจการและผู้จัดการโรงแรม, อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่อุบลราชธานี (อุบลราชธานี)
นางประทุม วงศ์สวัสดิ์ เจ้าของกิจการร้านอาหารไทยและสปาไทย, กรรมการผู้จัดการโรงแรมเนเชอรัลปาร์ค พัทยา (ชลบุรี)
นายกมล สุขคะสมบัติ อาชีพรับจ้าง, ประสบการณ์เคยเป็นประธานบริหารบริษัท เอเชียเวิร์ลทราเวล, ที่ปรึกษานายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงห์บุรี (สิงห์บุรี)
12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม
นางวราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ เจ้าของกิจการ ประธานกรรมการ บจ.พรรณวรา อินเตอร์เนชันแนล นักธุรกิจอุตสาหกรรมด้านความงาม เส้นผม และเครื่องสำอาง (เพชรบุรี)
นางธารนี ปรีดาสันติ์ เจ้าของธุรกิจก่อสร้างและเจ้าของกิจการโรงงานผลิตแอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับปูผิวทางลาดยาง (อุบลราชธานี)
นางรจนา เพิ่มพูล กรรมการบริษัทธุรกิจรีไซเคิล บจก. ไทยเอเชีย 14001 (พระนครศรีอยุธยา)
น.ส.ปุณณภา จินดาพงษ์ อาชีพรับเหมาก่อสร้าง มีประวัติการทำงานที่โรงโม่สุรัตน์การศิลา ผลิตและขายหิน (เลย)
นายพละวัต ตันศิริ เจ้าของกิจการและประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย)
นายณรงค์ จิตราช พนักงานหน่วยงานเอกชน ไม่ระบุประวัติการทำงานและประสบการณ์ด้านใดเป็นการเฉพาะ (เลย)
นายวีรยุทธ สร้อยทอง อาชีพวิศวกร มีประสบการณ์เป็นวิศวกรในอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และรถไฟฟ้าเอนกประสงค์ (ฉะเชิงเทรา)
นายธนชัย แซ่จึง อาชีพรับเหมาก่อสร้าง ขายผลิตภัณฑ์ปูนสำเร็จและดูดทราย (ศรีสะเกษ)
นายพงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต นักธุรกิจ ปัจจุบันเป็นนายกกิตติมศักดิ์สมาคมยางพาราไทยและประธานกิตตมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม (ภูเก็ต)
น.ส.ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ กรรมการผู้จัดการโรงงานแปรรูปอาหารทะเล และผู้บริหารโรงแรม (สมุทรสงคราม)
13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารการพัฒนานวัตกรรม
นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม อาชีพนักวิชาการ อดีตอาจารย์รัฐศาสตร์ ม.รังสิต และ ม.เกริก อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจและฐานราก (หนองบัวลำภู)
นายพรเพิ่ม ทองศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทำงานคอมพิวเตอร์บริษัทในสหรัฐอเมริกา 28 ปี, อดีตหัวหน้าคณะทำงาน รมช.มหาดไทยรัฐบาลชุดปัจจุบัน และเป็นพี่ชายนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทยคนปัจจุบัน (บุรีรัมย์)
นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ ประธานอนุกรรมการ การพัฒนาธุรกิจ การลงทุนฯ องค์การสะพานปลา ปี 2567 และเคยเป็นเลขานุการรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ตราด)
นายกัมพล ทองชิว อาชีพอิสระ เคยทำงานใน บริษัท ทีพีไอ จำกัด แผนกผลิตเม็ด HDPE (สมุทรสาคร)
นายสุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา เจ้าของกิจการขายคอมพิวเตอร์ใน จ.สุรินทร์ นามสกุลเดียวกับนายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์ 3 สมัย (สุรินทร์)
นายขวัญชัย แสนหิรัณย์ สถาปนิกและผู้บริหารบริษัท เอ เค โฮม ไอเดีย จำกัด(อ่างทอง)
นายนพดล พริ้งสกุล ผู้บริหารบริษัท กรุงเทพ ท่อลอด ไทยและ นพ เจริญกิจ กิจการนำสายไฟฟ้าลงดิน ในเอกสารแนะนำตัวระบุประวัติว่า "เป็นผู้คิดค้นวิธีการกำจัดสายโทรศัพท์เคเบิลใยแก้วนำแสงคนแรกของโลก" (สุราษฎร์ธานี)
นายชาญวิศว์ บรรจงการ พนักงานรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม กระทวงดิจิทัลฯ, อดีตเลขาธิการหอการค้า จ.พังงา (พังงา)
นายมานะ มหาสุวีระชัย ช่างเทคนิควิศวกรรม, อดีต สส.ศรีสะเกษ 2 สมัย สังกัดพรรคพลังธรรม (2535) และพรรคประชาธิปัตย์ (2539) (ศรีสะเกษ)
น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ ร.น. อาชีพที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบุประวัติว่า เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีในการแก้ระเบียบงานสารบรรณให้ใช้ฟอนต์ TH Sarabun เป็นฟอนต์แห่งชาติ และเคยเป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ (ปทุมธานี) นอกจากนี้ เขายังเคยเป็น รอง ผอ.สํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย ซึ่งก็คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
14. กลุ่มสตรี
นางมยุรี โพธิแสน ข้าราชการบำนาญ (ยโสธร)
นางเจียระนัย ตั้งกีรติ เจ้าของกิจการ (พระนครศรีอยุธยา)
น.ส.จารุณี ฤกษ์ปราณี เจ้าของธุรกิจส่วนตัว, ประธานสตรีอำเภอวังน้อย (พระนครศรีอยุธยา)
น.ส.อัจฉรพรรณ หอมรส พนักงานหน่วยงานเอกชน, เลขาคณะกรรมการพัฒนาสตรี ภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี)
นางอจลา ณ ระนอง อาชีพค้าขาย, ประธานกลุ่มสตรีใน จ.กระบี่, รองประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีภาคใต้ (กระบี่)
นางจุฑารัตน์ นิลเปรม เจ้าของกิจการ, ระบุประสบการณ์ว่าเป็นผู้ก่อตั้งคลินิกฟอกไตช่วยผู้ป่วยยากไร้ (มุกดาหาร)
นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ข้าราชการบำนาญ, อดีตรองผู้ว่าฯ สมุทรสงคราม-จันทบุรี (จันทบุรี)
พ.อ.หญิง ธณตศกร บุราคม ข้าราชการบำนาญ, นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนาบทบาทสตรี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ (เพชรบุรี)
นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย ข้าราชการบำนาญ อดีตพยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เคยเป็นนายกเหล่ากาชาดหลายจังหวัด (นครราชสีมา)
นางวาสนา ยศสอน หัวหน้าคณะทำงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อ.เมืองน่าน, คนดีศรีเมืองน่าน 2563 (น่าน)
15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการทุพพลภาพ ชาติพันธุ์
นายกฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ ข้าราชการบำนาญ กรมการปกครอง เป็นนายอำเภอในเขตภาคอีสาน (สุรินทร์)
นายกิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ ข้าราชการครู (ศรีสะเกษ)
นายประเทือง มนตรี เคยลงสมัคร สส. 2 สมัย แต่สอบตกที่ จ.สตูล (2544) และพัทลุงซึ่งลงในนามพรรคภูมิใจไทย (2566), ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พัทลุง)
นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล อดีต สว.อยุธยา, อดีตกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (พระนครศรีอยุธยา)
นายสมดุลย์ บุญไชย ข้าราชการบำนาญ (ครู) (ยโสธร)
นายสมหมาย ศรีจันทร์ เกษตรกร,รองประธานหอการค้า จ.นครพนม (นครพนม)
นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ Art for All (สมุทรปราการ)
นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต สว.จันทบุรี, อดีต สส.จันทบุรี 2 สมัย ในปี 2550 และ 2554 พรรคประชาธิปัตย์ (จันทบุรี)
นายธนภัทร ตวงวิไล ข้าราชการบำนาญ (ชัยภูมิ)
นายศรายุทธ ยิ้มยวน อาชีพทำท่าข้าวและพืชผลการเกษตร, อดีตรองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2563 (สุพรรณบุรี)
16. กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ผู้ร่วมก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ยูไนเต็ด (เชียงใหม่)
นายสุวิช จำปานนท์ ข้าราชการบำนาญ ครูสอนวิชาพลศึกษา, กรรมการบริหารสมาคมกีฬา จ.อำนาจเจริญ (อำนาจเจริญ
นายนฤพล สุคนธชาติ เจ้าของธุรกิจติดต่อนักแสดงและผู้บริหารสถานบันเทิงในยะลาและภูเก็ต (ยะลา)
นายพิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ อาชีพค้าขายและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 2562-2566 (สงขลา)
นายวิเชียร ชัยสถาพร ผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลำพูนวอริเออร์ (ลำพูน)
นายปราณีต เกรัมย์ พลขับของนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ชิดชอบ ในสมัยที่นายชัยดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เอกสารแนะนำตัวระบุอาชีพรับจ้าง และบอกประวัติบรรทัดเดียวว่าเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาวุโส ปี 2527-2547 (บุรีรัมย์)
น.ส.รัชนีกร ทองทิพย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านงานภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์สึนามิ (พังงา)
นายอะมัด อายุเคน อิหม่ามและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (นครปฐม)
นายชวพล วัฒนพรมงคล อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.สมุทรสาคร (สมุทรสาคร)
นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมา (นครราชสีมา)
17. กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์
นายนิรุตติ สุทธินนท์ อาชีพนักธุรกิจ เคยเป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตนายกสโมสรไลออนส์ระนอง (ระนอง)
นางประไม หอมเทียม อาชีพเกษตรกรรม เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) (บุรีรัมย์)
นายชาญชัย ไชยพิศ ข้าราชการบำนาญ เคยเป็น ผอ.โรงเรียน ผู้แทนครู นายกสมาคมผู้บริหารครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดปี2564-2566 (บุรีรัมย์)
นายสากล ภูลศิริกุล เจ้าของกิจการขายเครื่องเขียนนาน 30 ปี เคยทำงานกับสโมสรไลออนส์นครพนม ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาหอการค้า จ.นครพนม, นายกสมาคมพ่อค้าจังหวัดนครพนม (นครพนม)
นายภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ เจ้าของกิจการ และประธาน อปพร. สิงห์บุรี (สิงห์บุรี)
น.ส.สายฝน กองแก้ว พนักงานทำงานช่วยเหลือด้านการแพทย์ ประสบการณ์ปฏิบัติงานมูลนิธิกู้ภัยสำนักงานใหญ่หนองฉางตั้งแต่ปี 2554 (อุทัยธานี)
นายศุภโชค ศาลากิจ อาชีพเลี้ยงปลากระชังและธุรกิจถ่ายเอกสาร เป็นแกนนำกลุ่มประชาสังคมคนรักแม่กลอง (สมุทรสงคราม)
นายประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นครปฐม)
นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กทม.)
นายประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล ผู้บริหารมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท, อดีตประธานกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (เชียงใหม่)
18. กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม
นายสุทนต์ กล้าการขาย นักสื่อสารมวลชน ประสบการณ์เป็นนายกสมาคมสื่อช่อสะอาด, กรรมการสรรหา ป.ป.ช.นนทบุรี (อุทัยธานี)
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย (สงขลา)
นายสุพรรณ์ ศรชัย อดีตผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และสยามรัฐ ระหว่างปี 2539-2567 (สุรินทร์)
น.ส.คอดียะฮ์ ทรงงาม อาชีพช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ประสบการณ์เป็นประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ อ.ไชโย(อ่างทอง)
นายศุภชัย กิตติภูติกุล อาชีพผู้สื่อข่าวไทยรัฐ (บุรีรัมย์)
นางอารีย์ บรรจงธุระการ อาชีพพยาบาล ประสบการณ์ พิธีกรงานแต่งงาน งานเลี้ยงทั่วไป วิทยากรด้านแม่และเด็กของ จ.สตูล ตั้งแต่ 2547(สตูล)
นายจำลอง อนันตสุข ข้าราชการบำนาญ อดีตนักข่าวกีฬา และผู้ควบคุมการรายงานข่าว ถ่ายทอดสดการรายงานโอลิมปิกส์ (สุพรรณบุรี)
นายชิบ จิตนิยม นักจัดรายการโทรทัศน์ (กาญจนบุรี)
น.ส.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก (กทม.)
นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย อดีตบรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท (สมุทรสงคราม)
19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
น.ส.เกศกมล เปลี่ยนสมัย แพทย์ และกรรมการผู้จัดการ เกศกมลคลินิก, มีประวัติเป็นที่ปรึกษา กมธ.การกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร, พิธีกรรายทางโทรทัศน์ และมีผู้ติดตามทางโซเชียลจำนวนมาก (เพชรบุรี)
นายขจรศักดิ์ ศรีวิราช อดีตรองนายก อบจ.พะเยา, อดีตนายกเทศมนตรีเมืองดอกคำใต้ และพ่อตาของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ (พะเยา)
นายสิทธิกร ธงยศ วิศวกรและผู้บริหาร หจก.รามฤทธิรงค์ เอ็นจิเนียริ่ง, เคยเป็นที่ปรึกษา ตำรวจภูธร ภาค 4 (นครพนม)
นายโชคชัย กิตติธเนศวร ค้าขายวัตถุมงคล พระเครื่อง ทายาท วุฒิชัย กิตติธเนศวร อดีต สส.นครนายก พรรคภูมิใจไทย (นครนายก)
นายกิติศักดิ์ หมื่นศรี ผู้รับเหมาก่อสร้าง ถมดิน เคยเป็นรองประธานสภา อบจ.ปราจีนบุรี (ปราจีนบุรี)
นายเอนก วีระพจนานันท์ รับเหมาก่อสร้าง ลงประวัติว่าเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างในหน่วยงานต่าง ๆ (พิจิตร)
นายสมชาย เล่งหลัก อดีตผู้สมัคร สส. 2 สมัย ได้แก่ พลังประชารัฐ (2563) และภูมิใจไทย (2566) แต่สอบตก (สงขลา)
น.ส.นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์ ทนายความ (ปทุมธานี)
นายพรชัย วิทยเลิศพันธุ์ ล่ามแปลภาษา, อดีตผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทย NHK Radio Japan ที่ญี่ปุ่น เป็นเวลา 5 ปี, ผู้แปลนิยายญี่ปุ่น “อิจิโตะ คุณหมอหัวใจเทวดา” (กทม.)
นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ สถาปนิก (นนทบุรี)
#สว. #สายสีน้ำเงิน #วุฒิสภา #ข่าวรอบโลก #การเลือกตั้ง #ประเทศไทย
เรียบเรียงโดยอาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
โฆษณา