Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
14 ธ.ค. เวลา 23:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าแพทย์ (DF) 300 บ. หักให้ รพ. 20%= 60 บ. แพทย์ได้ 240 บ. เวลายื่น 40(6) ยอด 300 บ. หรือ 240 บ. ??
เงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลป์ หรือ 40(6) ค่าตอบแทนที่ได้รับไม่แน่นอน เช่น DF (doctor fee) , เปิดคลินิกเองที่ไม่มีผู้ป่วยค้างคืน
ถ้าแพทย์ไปรับ job รพ เอกชน หรือ คลินิกอื่น อาจมีความสับสนว่า จะเป็น 40(2) หรือ 40(6) ซึ่งสรรพากร เขียนไว้ว่า
“ สำหรับค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับ ซึ่งจะถือเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องปรากฏว่าแพทย์ได้เปิดคลินิกรักษาคนไข้เป็นการส่วนตัว หรือแพทย์ทำสัญญาหรือ ตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและ อุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วยโดย แพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาเองและมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือแพทย์ทำสัญญาหรือตกลงกับ สถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อ ตรวจและรักษาผู้ป่วย และมี ข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้กับแพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้สถานพยาบาล เงินได้ที่แพทย์เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เฉพาะส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออก”
จะเห็นว่า ถ้าเป็น 40(6) แพทย์ต้องเป็นผู้ใช้สถานที่ และรับเงินจากผู้ป่วย แล้วค่อยแบ่งให้ รพ. ดังนั้นการคิดรายได้ จะเป็นแบบนี้ เช่น แพทย์คิด DF 300 บ. แบ่งให้ รพ. 20% = 60 บ. รายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีของแพทย์คือ 300 บ. นะ (สงสัยให้อ่านข้อความของสรรพากรบรทัดท้ายๆ อีกทีนะ)
ถ้ามีการรันตีราย ชม และแพทย์คิด DF จะเป็น แบบนี้ เช่น แพทย์ได้การรันตี ชม. ละ 400 บ. และตรวจได้ DF 300 บ. ส่วน 300 บ. จะเป็น 40(6) ส่วนที่เหลือที่ รพ ต้องจ่ายเพิ่มให้แพทย์ เพื่อให้ครบการันตีราย ชม. จะเป็น 40(2)
แต่ถ้า DF ได้เกินการรันตี จะเป็น 40(6) แต่ต้องมีเงื่อนไขเรื่องขอใช้สถานพยาบาลประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วยนะ
40(6) จะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แพทย์ ส่วน 40(2) เป็นเงินที่ รพ. จ่ายให้
เงินได้ประเภท 40(6) สถานพยาบาลไม่ได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ส่วนเงินได้ประเภท 40(1) และ 40(2) สถานพยาบาลมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร
การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา เราไม่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งเวลาที่ไปอยู่เวรเอกชน และได้เป็น DF จึงหักแบบเหมากัน ซึ่งรายได้ 40(6) ของแพทย์ จะหักแบบเหมาได้ 60% ไม่มีเพดาน
รายได้ 40(1) จะเป็น เงินเดือน, เงิน พตส., P4P, เงินเวรที่ได้จากทางโรงพยาบาลที่ได้ตกลงจ้างตามสัญญาจ้าง
รายได้ 40(2) เงินที่ รพ. จ่ายให้แพทย์ จากการเข้าเวร ตรวจ OPD ที่โรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ทำงานประจำอยู่ ค่าการันตีรายชั่วโมง
ซึ่งรายได้ที่เป็น 40(1) และ 40(2) ต้องนำมารวมกัน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ.
ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของรายได้เราได้ สิ่งที่จะมาช่วยให้เราเสียภาษ๊น้อยลง คือ การหาค่าลดหย่อน เช่น SSF RMF TESG PVD กบข ประกันชีวิต เป็นต้น มาหักเพิ่มเติมนั่นเอง ซึ่งค่าลดหย่อนอาจมีปรับปรุงเพิ่มเติมในแต่ละปี
#ภาษี #ค่าใช้จ่าย #ยื่นภาษี #คิดภาษี #คำนวณภาษี #ยื่นภาษี #เงินได้ #ประเภทเงินได้ #ค่าใช้จ่าย #หักค่าใช้จ่าย #หมอยุ่อยากมีเวลา #ภาษ๊สำหรับแพทย์ #รายได้แพทย์ #เงินได้แพทย์
การลงทุน
การเงิน
ภาษี
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย