15 ธ.ค. เวลา 04:09 • ไลฟ์สไตล์
One Bangkok

One Bangkok

ก่อนหน้าจะกลืนแร่พักใหญ่ เรามีโอกาสไปเยี่ยม เราเป้นคนหนึ่งที่ถ้าไม่เดี้ยงหนัก เราก้อใช้ชีวิตปกติวนไป หาความสุขเล็กน้อยระหว่างทาง หาไรอร่อยๆกิน อยู่กะครอบครัว คุยกะคนที่เป้นกัลยาณมิตร ทำงาน เดินเบาๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องระวังมาก คือ toxic จากคน เพราะคนประเภทนี้มักฉุดคนอื่นลงต่ำ ยิ่งคนป่วยนี่ยิ่งแย่เข้าไปอีก เรามักพยายามหลีกเลี่ยง
เราไปตอนเย้นหลักเลิกงาน ก่อนแวะไปวัดหัวลำโพง ก้อไปชมความงาม แสงสียามค่ำคืน ของทานเยอะดี แต่ร้านเต็มมากยัน kfc ดังนั้นเราเลยไปฝากท้องกะชาบูตรงที่จามจุรีย์แทน เงียบ คนน้อยดี
ก่อนอื่นขอเล่าเรื่อง One Bangkok โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด The Heart of Bangkok เมืองกลางใจ ที่ใช้ใจสร้าง
บนพื้นที่ 104 ไร่ ที่นี่เป็นอภิมหาโปรเจกต์ Mixed Used ที่ประกอบไปด้วย ออฟฟิตเกรดเอ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม คอนโด หอประชุม โรงมหรสพ ร้านอาหาร ที่เรียกว่าครบอยู่ในที่ที่เดียว
ชั้น B2 -B3 ที่จอดรถ (Parking)
ชั้น B1 ร้านอาหาร Food & Beverage, Mitsukoshi Depachika, Muji, Nitori และ Specialty & Lifestyle ซึ่งมีทางเชื่อมอาคารทั้งกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT อาคาร The Storeys และ TOWER 3
ชั้น G แฟชั่น (Fashion Confetti) จะมี Fashion & Accesories,Specialty & Lifestyle และFood & Beverage ซึ่งมีทางเชื่อมอาคารกับตึก The Storeys และ TOWER 3
ชั้น 1 City Style จะมี สวนสาธารณะวันแบงค็อก (One Bangkok Park), King Power, City Boutique, Fashion & Accesories และFood & Beverage ซึ่งมีทางเชื่อมอาคาร TOWER 3
ชั้น 2 urban athleisure จะมี King Power, City Boutique, Fashion & Accesories และFood & Beverage ซึ่งมีทางเชื่อมอาคารกับตึก The Storeys
ชั้น 3 Food Boulevard จะมี Sarapad ThaiและFood & Beverage ซึ่งมีทางเชื่อมอาคารกับตึก The Storeys และ TOWER 3
ชั้น 4 City Essentials จะมี Little Gaia, Parade Lounge, Tourist Information Center, Bank & Services, Beauty & Wellness และ IT Gadgets
ชั้น 5 One Playyard จะมี Food Street, One Ultra Screens, One content Store, Kids & Edutainment และFood & Beverage
ชั้น 6 Harborland & One Ultra Screens จะมี Cinema และ Kids & Edutainment
ทางเข้าโครงการมีทั้งหมด 6 จุด จากฝั่งถนนวิทยุไล่มาจนถึงพระราม 4 โดยกลุ่มอาคาร One Bangkok จะกระจายตัวอยู่โดยรอบพื้นที่โครงการ มีใจกลาง Civic Plaza พื้นที่สันทนาการขนาดใหญ่ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ตุลาคม 2567
และมีทีที่อยากแนะนำ แต่เราก้อยังไม่ได้เข้าไปดูเลย คือ
ด้านหลังร้าน Jimthomson จะมี The wireless house One Bangkok หรือ บ้านวิทยุ ตั้งอยู่ หากมองไปด้านหลังก็จะเห็นเสาวิทยุต้นแรกของประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับอาคารสถานีวิทยุโทรเลขศาลาแดง ครั้งหน้าต้องไม่พลาด
มีดารามาเปิดร้าน
Shop Adidass
นิทรรศการศิลปะของ Parn Arts และ Pop-up Store ด้
วิวตึกด้านนอก
วิธีการเดินทางมา One Bangkok (วันแบงค็อก) ดังนี้
นั่งรถไฟฟ้า BTS มาลงที่ สถานีเพลินจิตใช้ทางออก 2 แล้วนั่งรถEV Shuttle Service คอยบริการลูกค้าทุกๆ 15 นาที (เริ่มตั้งแต่เวลา 7.00 – 24.00 น.​) จุดรออยู่ตรงป้ายรถประจำทาง "หน้าตึกมหาทุนพลาซ่า" ซึ่งสะดวกกับคนที่สัญจรถนนเพลินจิต เพราะเป็นประตูทางเข้าห้าง 2
นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาลงที่ สถานีลุมพินี ใช้ทางออก 1​ เชื่อมโดยตรงกับอาคารวันแบงค็อก (One Bangkok) ชั้น B1 Parade ซึ่งสะดวกกับคนที่ใช้รถสัญจรบนถนนพระราม 4เป็นประตูทางเข้าห้าง 3
นั่งรถแท็กซี่ขึ้น-ลง ได้ 2 จุด คือ จุด 1 ตรงตึกพาเหรด (Parade)ถนนพระราม 4​ และจุด 2 ตรงตึกเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ถนนวิทยุ (ตั้งแต่เวลา 10.00 – 24.00 น.)
อ้างอิง
โฆษณา