17 ธ.ค. เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม Facebook และ Google ถึงยอมให้ คนใช้งานฟรี

ถ้า Facebook, Instagram, Google เก็บเงินจากเรา เราจะยอมจ่ายไหม ?
3
หลายคนคงตอบว่าไม่ เพราะมันเป็นของที่ใช้ฟรีมานาน
แต่หากถามว่า ถ้าให้จ่ายเงินเพิ่มให้กับ YouTube และ Spotify แลกกับการไม่มีโฆษณาแทรกเข้ามาตอนใช้งาน หลายคนก็คงยอมเลือกที่จะจ่ายรายเดือนแทน
เราจะเห็นได้ว่าธุรกิจเหล่านี้ แม้จะดูเหมือนธุรกิจที่ให้ผู้ใช้งาน ได้เพลิดเพลินกับบริการต่าง ๆ ได้อย่างฟรี ๆ จนบางครั้งก็แอบคิดไม่ได้ว่า ธุรกิจเหล่านี้ จะเอาเงินมาจากไหน
1
แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าธุรกิจแล้ว แพลตฟอร์มเหล่านั้น ก็คงไม่ได้ให้เราใช้งานฟรี โดยที่ไม่ได้อะไรตอบแทน เพราะนี่ก็คือ กลยุทธ์ทางธุรกิจที่เรียกว่า Freemium นั่นเอง
1
ถึงอย่างนั้นแล้ว ธุรกิจที่เลือกใช้กลยุทธ์ Freemium ก็อาจเป็นดาบสองคม ให้กับธุรกิจนั้นได้เช่นกัน ถ้าหากใช้ไม่ถูกวิธี
แล้วดาบสองคมของกลยุทธ์ Freemium ที่ว่านั้นคืออะไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
1
Freemium เป็นโมเดลธุรกิจที่ให้คนมาใช้งานแบบฟรี ๆ เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้งานกันให้มากที่สุด แลกกับการที่แพลตฟอร์ม จะยอมแบกต้นทุนตัวเองในตอนแรก
แต่การยอมเจ็บตัวในช่วงแรก ก็แลกมากับการทำให้ธุรกิจ สามารถหารายได้ตามมาอีกหลายทาง และเลือกได้ว่าจะหารายได้จากวิธีไหนได้อย่างยืดหยุ่น
1
โดยปกติแล้ว ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Freemium จะเลือกเก็บเงินจากผู้ใช้งาน 2 กลุ่มด้วยกัน
1
- แบบแรก “เก็บเงินจากบุคคลที่ 3”
อย่างที่เราทราบกันดีว่า เวลาที่เราเข้าไปเซิร์ชหาข้อมูลใน Google หรือไถ Facebook ในชีวิตประจำวัน เราก็สามารถทำกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสักสตางค์เดียว
นั่นก็เป็นเพราะว่าธุรกิจเหล่านี้ ไม่ได้เรียกเก็บเงินจากคนที่เข้ามาใช้งาน แต่เป็นบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นคนที่อยากมาทำธุรกิจในแพลตฟอร์มของตัวเอง
เช่น Facebook, Instagram และ Google
ที่เก็บค่าโฆษณาจากร้านค้า และเพจธุรกิจต่าง ๆ หากต้องการยิงโฆษณาให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง
หรือการเก็บเป็นค่าธรรมเนียมจากร้านค้า เช่น Shopee, Lazada ที่มีการหักส่วนแบ่งยอดขาย
ที่ผู้ใช้งานสั่งซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ
- แบบที่ 2 “เก็บเงินเพิ่มจากผู้ใช้งานโดยตรง”
วิธีนี้ เป็นการเสนอให้ผู้ใช้งาน ได้สิทธิพิเศษบางอย่าง ถ้าจ่ายเงินเพิ่มเติม เช่น YouTube, Spotify ที่เมื่อเราจ่ายเงิน ก็ไม่ต้องทนฟังโฆษณาคั่นอีกต่อไป
หรือธุรกิจที่จำกัดพื้นที่ใช้งานไว้ ถ้าจะใช้เพิ่ม ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม เช่น Gmail และ Google Drive
2
อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนว่า ธุรกิจที่เลือกใช้โมเดล Freemium จะสามารถหารายได้จากหลายทาง แต่จริง ๆ โมเดลนี้กลับมีจุดตายอยู่บางอย่าง
ไล่ตั้งแต่การที่คนใช้งาน เคยชินไปแล้วว่า แพลตฟอร์มนี้ใช้งานได้ฟรี ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน
ทำให้การอัปเกรดเป็น Premium อาจถูกมองว่าไม่จำเป็น และผู้ใช้งานอาจไม่รู้สึกถึงความพิเศษ หากต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก
นอกจากนี้ การให้คนใช้งานได้ฟรี ยังทำให้ธุรกิจต้องเจอคู่แข่งจำนวนมาก ที่พร้อมเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดและผู้ใช้งานจากธุรกิจของตัวเองไป
ตัวอย่างที่ชัดเจนเลย คือ Spotify ที่เจอทั้งคู่แข่งจำนวนมาก เช่น YouTube, Apple, TIDAL โดยคู่แข่งทั้งหมด ก็ใช้วิธีเปิดให้คนใช้งานได้ฟรีตั้งแต่แรกเหมือนกัน
ทำให้ปัจจุบัน Spotify ยังขาดทุน และต้องทุ่มงบการตลาดเพิ่มขึ้น 29% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่มีรายได้จากโฆษณาและค่าสมาชิกรายเดือน เพิ่มขึ้นเพียง 18% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหากับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Meta เจ้าของ Facebook และ Instagram หรือ Alphabet เจ้าของ Google และ YouTube
1
เพราะโมเดลธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ ไม่ได้พึ่งพาการสมัครบริการ Premium จากผู้ใช้งาน
แต่เป็นการยอมให้คนใช้งานฟรี เพื่อสร้างคลังข้อมูลผู้ใช้งานขนาดใหญ่ ที่สามารถนำไปสร้างรายได้เพิ่มเติมได้อย่างมหาศาลแทน
โดยในฝั่ง Meta ปีที่ผ่านมามีรายได้ทั้งหมด 4.9 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ คิดเป็นรายได้จากค่าโฆษณามากถึง 98%
ส่วนฝั่ง Alphabet เจ้าของ Google และ YouTube
ปีที่ผ่านมามีรายได้ 11.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากค่าโฆษณามากถึง 88% เลยทีเดียว
1
เม็ดเงินเหล่านี้ ก็มาจากการที่แพลตฟอร์มเหล่านี้เก็บเงินจากบริษัท และธุรกิจต่าง ๆ ที่พร้อมใจจะจ่าย เพื่อพาธุรกิจของตัวเอง ไปปรากฏอยู่ในสายตาหลายล้านคู่ทั่วโลก ผ่านทางแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งก็มีเรตราคาที่ต่างกันออกไป
โดยเฉพาะ Google ที่ให้คนต้องการยิงโฆษณา ต้องมาประมูล Keyword ระหว่างกัน ซึ่งแพลตฟอร์มก็จะแสดงผลออกมา เรียงตามคนที่ประมูลมากไปน้อย
2
นอกจากนี้ เหล่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกยังสามารถแตกผลิตภัณฑ์ออกมามากมาย ให้คนใช้งานได้ฟรี ก่อนจะหารายได้จากโฆษณาเพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักร Google ที่มีทั้ง Google Maps, Gmail, Google Drive หรือ Meta ที่ออกฟีเชอร์วิดีโอสั้น Reels ออกมาให้ได้ใช้งานกัน
1
ทั้งหมดนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไม Facebook, Google ให้เราใช้งานกันได้อย่างฟรี ๆ และไม่จำเป็นต้องเก็บเงินจากผู้ใช้งานตั้งแต่แรกเริ่ม
จะเห็นได้ว่า กลยุทธ์แบบ Freemium นั้น แม้จะดูเหมือนกลยุทธ์ที่ดี แต่ไม่ได้เหมาะสมกับทุกธุรกิจ
โดยเฉพาะถ้าธุรกิจนั้น ไม่สามารถหารายได้ ให้มากกว่าต้นทุนที่ตัวเองต้องแบกเอาไว้ก่อนหน้านี้ แถมไม่ได้มีเงินทุนมหาศาลให้เผา เหมือนกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่
กลยุทธ์ Freemium นี้เอง ก็อาจจะเป็นจุดตายที่ทำให้ธุรกิจไม่ได้ไปต่อ เพราะทนขาดทุนมากไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว
เพราะฉะนั้นแล้ว ในมุมของผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็คงจะสามารถพูดได้ว่า ของฟรีนั้นมีในโลก
แต่สำหรับธุรกิจ ที่ต้องทนขาดทุน เพื่อหวังจะให้พวกเรามาซื้อบริการ Premium เพิ่มเติมแล้ว ก็น่าจะพูดได้เหมือนกันว่า ของฟรีไม่เคยมีในโลก..
เปิดจอง IPO กองทุน MEGAWORLD30 วันที่ 11-17 ธ.ค. 2567 นี้
- ร่วมเป็นเจ้าของ 30 บริษัทชั้นนำระดับโลก MEGAWORLD30 เสนอขาย 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดสะสมมูลค่า (MEGAWORLD30-A) และชนิดเพื่อการออม (MEGAWORLD30-SSF)
MEGAWORLD30 เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
- ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange: NYSE) หรือ
- ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก (Nasdaq Stock Market: NASDAQ) หรือ
- ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong Stock Exchange: HKEX) หรือ
- ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange: TSE) หรือ
- ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในกลุ่มยูโรโซน (Eurozone) เฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็น
ส่วนประกอบในดัชนี EURO STOXX 50
กองทุนมีการบริหารแบบ Rules Based Approach โดยพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงสุด และมีสภาพคล่อง
รวมถึงปัจจัยที่ผู้จัดการกองทุนพิจารณาเพิ่มเติม เช่น คัดเลือกจากอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) และ/หรือ อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ผู้จัดการกองทุนกำหนด เป็นต้น จำนวน 30 บริษัท เช่น Nvidia, Apple, Microsoft, Meta, ASML, TSMC, Novo Nordisk, Tencent, Netflix, LVMH และ Hermès*
โดยกองทุนจะมีการลงทุนที่ส่งผลให้มี Net Exposure ในตราสารทุนข้างต้นโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ดอลลาร์ฮ่องกง และ/หรือ เยน ตามรอบการปรับสมดุลของสัดส่วนน้ำหนักการลงทุน (Rebalance) และการปรับรายชื่อหลักทรัพย์
กองทุนรวมนี้ มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวการณ์การลงทุน ณ ขณะนั้น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวม ก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์
โฆษณา