Reward-การสร้าง Incentive ในการ adoption สู่ Green Finance ยกตัวอย่างเช่น ภาครัฐของบราซิลได้จัดตั้งโครงการ Plano Safra ในปี 2566 เพื่อมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรและอาหาร โดยสนับสนุนวงเงินสินเชื่อ (Renovagro) ดอกเบี้ยต่ําที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
สำหรับการจัดหาเงินทุน Green Finance มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรและปศุสัตว์ เช่นเดียวกับ ภาครัฐของอินโดนีเซียจัดตั้งโครงการอุดหนุน Green Finance เพื่อลดต้นทุนและผลักดันการเติบโตของ Green Finance โดยภาครัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจ้างหน่วยงานภายนอกมาประเมินว่าหุ้นกู้นี้เข้าเกณฑ์ Green Finance หรือไม่
Educate-การสร้างองค์ความรู้ในเรื่อง Green Finance ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในสิงค์โปร์ที่มีการผลักดันในเรื่องการสร้างการรับรู้ในเรื่องนี้ โดยมีการจัดตั้ง Singapore Green Finance Centre (SGFC) เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่ยั่งยืน เพื่อดึงดูดการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดรับกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ SGFC ยังมีการจัดการอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินสีเขียวให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถาบัน
การศึกษาและธนาคารต่างๆ อีกด้วย
Engage-การสร้าง Commitment และเป้าหมายร่วมกัน โดยภาครัฐ หน่วยงานกำกับ หรือภาคการเงิน มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและสร้างเป้าหมายร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ Green Finance เช่น ภาครัฐของอังกฤษได้ตั้งเป้าหมายสำหรับ Green Finance ที่มุ่งเน้นฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในภาคเกษตรและอาหารให้มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านปอนด์ต่อปี ภายในปี 2573นอกจากนี้ HSBC