17 ธ.ค. เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เก็บตกจากงาน “abrdn FutureProof 2024 พลิกโฉมการลงทุนเพื่อชีวิตเกษียณที่ดีกว่า”

“Asset Allocation เหมาะสำหรับลูกค้าที่มี Runway ที่ยาวพอ ผมมั่นใจว่าวิธีการนี้จะสามารถพาลูกค้าไปถึงเป้าหมายได้”
🧑🏻‍💼มุมมองส่วนหนึ่งของ คุณพงค์ธาริน ทรัพยานนท์ - Head of Fixed Income and Asset Allocation, บลจ.อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) ที่ได้กล่าวเอาไว้ในงาน “abrdn FutureProof 2024 พลิกโฉมการลงทุนเพื่อชีวิตเกษียณที่ดีกว่า” ชี้ให้เห็นว่า การจัดสรรพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมและให้เวลากับการลงทุนที่ยาวนานพอ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมั่นคง
อยากรู้ว่ามีประเด็นไหนที่น่าสนใจบ้าง วันนี้ abrdn สรุปมาไว้ให้แล้ว...
📌 ความสำคัญของ Asset Allocation
จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการจัดสรรการลงทุน (Asset Allocation) คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว เราก็จะเริ่มรู้แล้วว่าควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น เช่น ถ้าเรารู้ตัวดีว่ารับความเสี่ยงได้ไม่มาก การจัดพอร์ตอาจเน้นไปที่ “ตราสารหนี้” เป็นสัดส่วนหลัก ในทางกลับกัน หากเรามีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนาน ก็สามารถเพิ่มสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงให้มากขึ้นได้ ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้เอง คือหัวใจสำคัญในการสร้าง Asset Allocation
📌 จัดพอร์ตแบบไหน ให้เหมาะกับตัวเอง ?
คุณพงค์ธาริน ได้ให้คำแนะนำถึงการเลือกพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม ว่าสามารถเริ่มต้นได้จาก 2 วิธี ได้แก่
1️⃣ พิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
สำหรับนักลงทุนที่เข้าใจระดับความเสี่ยงของตัวเองชัดเจน สามารถเลือกโมเดลพอร์ตที่เหมาะกับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ โดยอเบอร์ดีนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- แบบเชิงรับ (Conservative): หุ้น 20% : ตราสารหนี้ 80%
- แบบสมดุล (Balanced): หุ้น 55% : ตราสารหนี้ 45%
- แบบเชิงรุก (Aggressive): หุ้น 90% : ตราสารหนี้ 10%
ทั้งนี้แผนการลงทุนข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนของท่านเท่านั้น มิได้เป็นสิ่งยืนยันว่าแผนการลงทุนดังกล่าวเหมาะสมกับท่านทุกประการ ทั้งนี้ ท่านต้องศึกษาข้อมูลจากปัจจัยอื่น ๆ ประกอบเพิ่มเติมด้วย
2️⃣ พิจารณาจากระยะเวลาการลงทุน
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่แน่ใจเรื่องระดับความเสี่ยงของตัวเอง หรือยังไม่มีไอเดียในการลงทุน ก็สามารถใช้ระยะเวลาเป็นตัวกำหนดได้ เช่น หากมีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนาน ก็อาจเลือกโมเดลพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงได้
อย่างไรก็ตาม การจัดสรรพอร์ตการลงทุนไม่มีถูกหรือผิด เพราะแต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันไป ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ นอกจากการจัดสัดส่วนระหว่างหุ้นและตราสารหนี้แล้ว นักลงทุนควรต้องพิจารณาในรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งการเลือก Sector ที่จะลงทุน, การพิจารณาสัดส่วนการลงทุนในไทยและต่างประเทศ รวมถึงการ Hedging หรือการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน เป็นต้น
📌 การจัดพอร์ตที่ดี ต้องเข้าใจนักลงทุนในแต่ละตลาด
อเบอร์ดีนมีจุดเด่นในการจัดพอร์ตการลงทุนที่แตกต่าง คุณพงค์ธารินได้เน้นย้ำว่า การสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนไทยนั้น ไม่ได้เพียงแค่นำโมเดลการลงทุนต่างประเทศมาใช้ทั้งหมด แต่ต้องเข้าใจถึงพฤติกรรม และความต้องการ ตลอดจนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนในประเทศ เพราะสิ่งที่เหมาะกับนักลงทุนต่างชาติ อาจไม่ได้เหมาะกับนักลงทุนไทยเสมอไป
โดยสิ่งเหล่านี้ก็ได้สะท้อนผ่านการทำงานของคุณพงค์ธาริน ที่อเบอร์ดีน นั่นคือการพัฒนาโมเดลการลงทุนที่ผสานมุมมองระดับโลกกับความเข้าใจตลาดในประเทศ รวมถึงดูแลพอร์ตของลูกค้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย รักษาสมดุลระหว่างผลตอบแทน และความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความคาดหวังของลูกค้านั่นเอง
📌 ผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้จากการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน คุณพงค์ธารินได้นำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างพอร์ต Asset Allocation กับดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ซึ่งเหตุผลที่ใช้ดัชนีหุ้นไทยเป็นตัวเปรียบเทียบนั้น เนื่องจากว่า เป็นสินทรัพย์หลักในพอร์ตของลูกค้าอเบอร์ดีนที่ส่วนใหญ่ลงทุนผ่านกองทุน SSF, RMF และ LTF
โดยผลการดำเนินงานชี้ให้เห็นว่า แม้พอร์ต Asset Allocation จะมีระดับความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น แต่กลับสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า (Outperform) ดัชนีหุ้นไทย สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดสัดส่วนการลงทุน และการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม
ปัจจุบัน อเบอร์ดีนนำเสนอโซลูชันการลงทุนแบบ Asset Allocation ให้กับ 2 กลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ Private Fund และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) อย่างไรก็ตาม นักลงทุนทั่วไปสามารถจัดพอร์ตการลงทุนได้ด้วยตัวเองจากข้อแนะนำข้างต้น โดยสามารถเลือกลงทุนในกองทุนของอเบอร์ดีนที่มีหลากหลายสินทรัพย์และกลยุทธ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
✅ กองทุนทั่วไป
ตราสารหนี้:
- 𝐀𝐁𝐆𝐅𝐈𝐗-𝐀: ลงทุนตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - Short Dated Enhanced Income Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- 𝐀𝐁𝐈𝐍𝐂: ลงทุนพันธบัตรรัฐบาล / หุ้นกู้เอกชนชั้นนำของไทย
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
หุ้นไทย:
- 𝐀𝐁𝐆: ลงทุนหุ้นไทยครอบคลุมหุ้นทุกขนาด
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- 𝐀𝐁𝐒𝐌: ลงทุนหุ้นไทยขนาดกลาง-เล็ก ที่มีโอกาสเติบโตสูง
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
หุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (DM):
- 𝐀𝐁𝐆𝐃𝐃-𝐀/ 𝐀𝐁𝐆𝐃𝐃-𝐑: เน้นลงทุนหุ้นปันผลเด่นทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - Global Dynamic Dividend Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- 𝐀𝐁𝐖𝐎𝐎𝐅: ลงทุนอย่างยั่งยืนในบริษัทคุณภาพทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - Global Sustainable Equity Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
หุ้นในประเทศเกิดใหม่ (EM)
- 𝐀𝐁𝐆𝐄𝐌: ลงทุนบริษัทชั้นนำพื้นฐานแข็งแกร่งในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I – Emerging Markets Equity Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- 𝐀𝐁A𝐏𝐀𝐂: ลงทุนหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) ผ่านกองทุนหลัก abrdn Pacific Equity Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
เสริมพอร์ตด้วยธีมนวัตกรรมและหุ้นเล็กสหรัฐฯ
- 𝐀𝐁𝐈𝐍𝐍𝐎-𝐀: ลงทุนหุ้นนวัตกรรมทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - Global Innovation Equity Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- 𝐀𝐁𝐀𝐆𝐒: ลงทุนหุ้นเล็กสหรัฐฯ ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - North American Smaller Companies Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
✅ กองทุนลดหย่อนภาษี
ตราสารหนี้:
- 𝐀𝐁𝐒𝐈-𝐑𝐌𝐅: ลงทุนตราสารหนี้ไทยระยะสั้น ครอบคลุมพันธบัตรรัฐบาล/หุ้นกู้เอกชนชั้นนำ
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
หุ้นไทย:
- 𝐀𝐁𝐒𝐂-𝐑𝐌𝐅: เน้นลงทุนหุ้นในหุ้นไทยพื้นฐานแข็งแกร่ง
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- 𝐀𝐁𝐒𝐌-𝐒𝐒𝐅/𝐑𝐌𝐅: ลงทุนหุ้นไทยขนาดกลาง-เล็ก ที่มีศักยภาพเติบโตสูง พร้อมก้าวเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในอนาคต
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
หุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (DM):
- 𝐀𝐁𝐆𝐃𝐃-𝐒𝐒𝐅/ 𝐑𝐌𝐅: เน้นลงทุนหุ้นปันผลเด่นทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - Global Dynamic Dividend Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
หุ้นในประเทศเกิดใหม่ (EM):
- 𝐀𝐁𝐀𝐏𝐀𝐂-𝐒𝐒𝐅/𝐑𝐌𝐅: ลงทุนหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) ผ่านกองทุนหลัก abrdn Pacific Equity Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
เสริมพอร์ตด้วยธีมนวัตกรรมและหุ้นเล็กสหรัฐฯ
- 𝐀𝐁𝐈𝐍𝐍𝐎-𝐒𝐒𝐅: ลงทุนหุ้นนวัตกรรมทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - Global Innovation Equity Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- 𝐀𝐁𝐀𝐆𝐒-𝐒𝐒𝐅: ลงทุนหุ้นเล็กสหรัฐฯ ผ่านกองทุนหลัก abrdn SICAV I - North American Smaller Companies Fund
ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
*ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก
กองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ปัจจุบัน ABGFIX-A ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม
ABWOOF มิได้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของกองทุนรวม การบริหารจัดการกองทุนรวม และการจัดทำรายงานของกองทุนรวมเช่นเดียวกับ SRI Fund
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน โทร. 02-352-3388 หรืออีเมล client.services.th@abrdn.com
👉 ปิดท้ายด้วยข้อคิดสำคัญจากคุณพงค์ธาริน ที่จะช่วยเปลี่ยนมุมมองการลงทุนของคุณ ผ่านหลัก “3 เปลี่ยน” ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตการลงทุนของคุณในระยะยาว ได้แก่…
✔ “เปลี่ยนมุมมองการลงทุน” จากการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว สู่การลงทุนเพื่อโอกาสสร้างความมั่งคั่ง
✔ “เปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุน” ที่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์
✔ “เปลี่ยนนโยบายการลงทุน” ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่รับได้
💫 จากมุมมองและแนวคิดที่คุณพงค์ธารินได้แบ่งปันในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ความสำเร็จจากการลงทุน อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่การเข้าใจตัวเอง เข้าใจตลาด และพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้..
👉 สำหรับใครที่พลาดฟังสด สามารถติดตามรับชมคลิปงานสัมมนาย้อนหลังได้ที่ : https://youtu.be/J7pG76pq81o
#abrdnFutureProof2024 #พลิกโฉมการลงทุนเพื่อชีวิตเกษียณที่ดีกว่า #abrdn
โฆษณา