16 ธ.ค. เวลา 12:20 • เพลง & ซีรีส์ เกาหลี

ใครว่ากะเทยแต่งหญิงไม่มีในโชซอน ?

#ซากึกผู้ใดกัน ถ้าใครได้ดูซีรีเรื่อง The Tale of Lady Ok จะเห็นว่ามีตัวละครชายแต่งเป็นหญิง คือ แฮกัง ซึ่งเป็นเด็กชนกลุ่มน้อย จากการช่วยเหลือของซองยุนกยอม
ทำให้มีลูกเพจเป็นจำนวนมากสอบถามเข้ามาว่า ในสมัยโชซอนมีคนแบบนี้อยู่จริงๆหรือ? บุคคลที่มีลักษณะเบี่ยงเบนทางเพศเคยต้องโทษดำเนินคดีมาจริงหรือไม่
ต้องบอกให้ตื่นเต้นสักหน่อยว่า มีแน่นอนค่ะ แต่ประวัติศาตร์จริงๆจะไม่ตรงกับในซีรีส์สักเท่าไหร่นัก ซึ่งแอดมองว่าในซีรีส์นำเอามาปรับใช้ได้ดีทีเดียว จนคนต้องรีบไปหาเคสจริงมาอ่านในทันใด
ซึ่งมีอยู่ 2 คดี จะมาเล่าให้ฟังกัน
🤎 คดีของ “นัมซุนกิล” เป็นคดีที่เกิดขึ้นจริง แต่เนื้อหาไม่เหมือนในซีรีส์ แม้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับนัมซุนกิลอาจไม่ปรากฏในบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างละเอียด แต่เรื่องราวของเขาได้ถูกเล่าขานในรูปแบบของนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรมเกาหลีบางส่วน
เรื่องราวของนัมซุนกิลเกิดขึ้นในช่วงโชซอนตอนกลางค่อนไปทางปลาย ซึ่งยุคนี้เป็นที่รู้จักในด้านการปกครองที่เข้มงวดด้วยระบบชนชั้นและกฎหมายที่เคร่งครัด คดีของนัมซุนกิลเกี่ยวข้องกับข้อหาที่ว่าเขาได้หลบหนีจากชนชั้นต่ำ และพยายามปลอมตัวเป็นชนชั้นที่สูงกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการกดขี่ในระบบชนชั้นของสังคมโชซอน
▶️ ข้อกล่าวหาหลัก
- ปลอมตัว
นัมซุนกิลถูกกล่าวหาว่าได้หลอกลวงผู้อื่น โดยอ้างตัวเป็นชนชั้นยังบัน (ชนชั้นขุนนาง) เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษและหลีกหนีชีวิตที่ยากลำบากในฐานะชนชั้นล่าง
การปลอมแปลงเอกสารหรือการหลอกข้าราชการ
ในบางเวอร์ชันของเรื่องเล่า นัมซุนกิลถูกกล่าวหาว่าใช้เอกสารปลอมในการสร้างตัวตนใหม่ หรือแม้กระทั่งหลอกลวงข้าราชการเพื่อให้ตนเองได้รับสิทธิที่ไม่ควรมี
- ท้าทายเบื้องสูง
การกระทำของเขาถือเป็นการต่อต้านระบบชนชั้นที่เข้มงวดในยุคโชซอน ซึ่งชนชั้นล่างไม่มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ง่ายๆ
▶️ จุดเปลี่ยนของคดี
คดีของนัมซุนกิลกลายเป็นประเด็นใหญ่เมื่อการกระทำของเขาถูกเปิดเผย นอกจากจะสร้างความไม่พอใจให้กับชนชั้นขุนนางแล้ว ยังทำให้เกิดการถกเถียงในสังคมเกี่ยวกับความยุติธรรมและโครงสร้างชนชั้นที่กดขี่คนส่วนใหญ่ของสังคม
▶️ การลงโทษ
นัมซุนกิลถูกตัดสินให้รับโทษหนัก ซึ่งอาจเป็นการถูกกักขังหรือประหารชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละเวอร์ชันของเรื่องเล่า
▶️ มุมมองและการสะท้อนสังคม
แม้ว่าเขาจะถูกมองว่าเป็นอาชญากร แต่บางส่วนในสังคมกลับมองว่านัมซุนกิลเป็นตัวแทนของการลุกขึ้นต่อต้านความไม่ยุติธรรมในระบบชนชั้น
คดีนี้แสดงให้เห็นถึงความเข้มงวดของระบบชนชั้นในยุคโชซอน ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำสูง และมีเพียงชนชั้นยังบันเท่านั้นที่ได้รับสิทธิพิเศษในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การปกครอง และความยุติธรรม
การกระทำของนัมซุนกิลถูกมองว่าเป็นการตั้งคำถามต่อความไม่เท่าเทียมในสังคม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในยุคหลัง
▶️ เรื่องราวในวรรณกรรม และการปรับใช้ในยุคปัจจุบัน
เรื่องของนัมซุนกิลถูกนำไปเล่าในรูปแบบนิยายพื้นบ้านหรือเรื่องเล่าที่ใช้สะท้อนความขัดแย้งในสังคม เพื่อวิจารณ์โครงสร้างชนชั้นที่แข็งตัวในยุคนั้น
แล้วนำมาตีความในปัจจุบันเป็นเครื่องเตือนใจถึงความสำคัญของสิทธิความเท่าเทียมในสังคม
จนถึงถูกนำมาพูดถึงในเรื่อง The Tale of Lady Ok ซึ่งถึงแม้ว่าเนื้อหาที่อ๊กแทยองจะพูดถึงเนื้อหาคดีไม่ตรงกันก็ตาม แต่เรื่องราวของนัมซุนกิล ดันคล้ายกับตัวเธอมากกว่าแฮกัง
แล้วคดีกะเทยแต่งหญิงนั้นมาจากไหน?
💜 มาจากคดีของ “ซาบังจี” เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่มีชื่อเสียงในยุคโชซอน ในสมัยพระเจ้าเซโจ(7) ซึ่งสะท้อนถึงชีวิตและมุมมองทางสังคมในยุคนั้นเกี่ยวกับเพศและอัตลักษณ์ เรื่องนี้ไม่ได้รับการคอนเฟิร์มว่า มาจากประวัติศาสตร์จริงทั้งหมด แต่มีการเล่าขานในนิทานพื้นบ้านและตำนานโบราณของเกาหลี โดย ซาบังจี เป็นตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งถูกเล่าขานว่าเป็น "กะเทย" หรือมีการแสดงออกถึงความเป็นเพศที่ไม่ตรงตามบรรทัดฐานในสังคมโชซอน
ซาบังจีเป็นที่รู้จักในฐานะนักต้มตุ๋นที่มีความสามารถในการหลอกลวง การพูดจาชาญฉลาดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและเอาตัวรอดในสังคมที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดทางชนชั้นและเพศในยุคโชซอน เขาชอบปลอมตัวโดยใช้รูปลักษณ์ที่ดูคล้ายผู้หญิงเพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหลอกคนเพื่อเอาทรัพย์สินหรือการหลบหนีจากอันตราย
หนึ่งในเรื่องเล่าที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ การที่ซาบังจีปลอมตัวเป็นนางคณิกาเพื่อหลอกเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงชนชั้นสูง เพื่อขโมยทรัพย์สินหรือข้อมูลสำคัญ ในบางเวอร์ชันของเรื่องเล่า ซาบังจียังถูกกล่าวถึงในฐานะคนรักของขุนนางที่ไม่รู้ถึงตัวตนที่แท้จริงของเขา
▶️ การลงโทษ
หลังจากที่ซาบังจีถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐจับกุม และรอพระราชโองการจากพระเจ้าเซโจ เป็นช่วงที่เกิดเสียงแตกกันในหมู่ชนชั้นสูง บางคนต้องการให้ซาบังจีรับโทษตามกฎหมาย แต่บางคนก็ตีความว่าบุคคลผิดเพศไม่ถือเป็นคน ต้องกำจัดมันอย่างไรก็ได้ เพราะไม่สามารถให้อยู่ร่วมสังคมกับชาวโชซอนได้
กลายเป็นลำบากพระเจ้าเซโจ เนื่องจากช่วงนั้นพระเจ้าเซโจเพิ่งครองราชย์ใหม่ จากการรัฐประหารชิงบัลลังก์มาจากพระเจ้าดันจง หลานชายของตนเอง ภาพลักษณ์ที่ราษฎรกำลังประเมินพระองค์ค่อนข้างดูไม่ดี ตัวพระองค์เองก็ไม่อยากขึ้นชื่อว่าเป็นทรราช จึงทำให้ท้ายที่สุดพระองค์ไม่ได้ตัดสินประหารชีวิตซาบังจี แต่เพียงเนรเทศไปชนบทพร้อมๆกับผู้ต้องคดีคนอื่นๆ
และแน่นอนว่าขุนนางบางส่วนไม่พอใจพระราชโองการ จึงพากันไปประท้วงกดดันให้ถอนพระราชโองการ แต่พระเจ้าเซโจก็ยืนยันจะไม่ประหารเขา ทำเพียงยึดทรัพย์สินและถอดเขาให้เป็นชนชั้นทาส ก็เพียงพอต่อความผิดแล้ว
เรื่องราวของซาบังจีสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางเพศในสังคมโชซอน ซึ่งแม้จะมีความเข้มงวดเรื่องบทบาทของชายและหญิง แต่ก็ยังมีพื้นที่เล็กๆ สำหรับการท้าทายขนบธรรมเนียมและบรรทัดฐานเหล่านั้น
▶️ เรื่องราวในวรรณกรรม และการปรับใช้ในยุคปัจจุบัน
เรื่องของซาบังจีมักถูกนำไปเล่าใหม่ในรูปแบบของนิยายพื้นบ้านหรือวรรณกรรม มีภาพยนต์ในปี 1988 และการแสดงละครเวทีที่เกาหลีใต้ ชื่อ My name is Sabangji เมื่อปี 2022 และบางครั้งก็ถูกตีความในเชิงขบขันหรือเสียดสีสังคม ทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม
จนกระทั่งล่าสุด ดูเหมือนว่าการดีไซน์ตัวละครแฮกังใน The Tale of Lady Ok มาจากซาบังจีโดยตรง
เป็นตัวแทนที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศในประวัติศาสตร์เกาหลี
#TheTaleOfLadyOkEp4 ดูได้ที่ Viu , Netflix , Wetv
#ลูกเป็ดอ้วนเล่าซากึก
… ❤️ ฝากกดไลค์ กดแชร์ หรือสนับสนุนเนื้อหาดีๆแบบนี้ด้วยการมอบดาว🌟 เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดมินนะคะ 😻 เนื่องจากนี่เป็นบทความที่ไม่ได้รับสปอนเซอร์
โฆษณา