เมื่อวาน เวลา 00:34 • ความคิดเห็น
เดี๋ยวววว อย่าเพิ่งถามไปไกลว่า ไทยหรือประเทศไหนจะทำได้หรือไม่ได้ อยากชวนให้มองที่ Agenda ของประกาศนี้ก่อนค่ะ
จะให้เห็นภาพชัด ขออุปมาแบบนี้ค่ะ
ประเทศๆหนึ่งคือห้องเรียนขนาดใหญ่ เหล่าบรรดานร.คือประชาชนทั่วไป ภาคธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการ ฯลฯ แล้วก็มีอีมิจฯปะปนอยู่ด้วย ในคราบของอะไรก็สุดแท้แต่จะครีเอทกันมา แฝงตัวมา และจ้องเขมือบพวกเรา
1
ไม่ว่าที่ไหนๆจะอยู่ร่วมกันได้ก็ต้องมีกฎ มีคนออกกฎ มีคนคุมกฎ ในห้องเรียนก็คือครู ในระดับประเทศคือรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ
ประกาศของสิงคโปร์นี้ เปรียบเหมือนคุณครูถือไม้เรียว ยืนเท้าสะเอวขู่นร.กลุ่มหนึ่ง (ที่เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งในที่นี้หมายถึงธนาคารและบ.โทรคมนาคม) ว่า "ถ้าเธอทั้งสองปล่อยให้เพื่อนโดนอีมิจฯรังแก เธอทั้งสองก็ต้องร่วมรับผิดชอบ"
1
Agenda อย่างเป็นทางการของประกาศนี้คือ "กรอบความรับผิดชอบร่วมกัน" หรือ Shared Responsibility Framework (SRF) ซึ่งรัฐบาลให้เวลา 6 เดือน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อสรุปร่วมกันว่า จะร่วมรับผิดชอบอย่างไรต่อความเสียหายที่เกิด
สิ่งที่คาดหวังจริงๆไม่ใช่จะเอาเม็ดเงินของธนาคารหรือบ.โทรคมนาคม มาชดใช้ผู้เสียหายค่ะ (และมันก็เป็นไปไม่ได้ด้วย) แต่เป็นการบีบให้ธนาคารและบ.โทรฯร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในเชิงป้องกัน
1
เพราะในทางเทคนิคมันไม่ยากเลย
- เบอร์ไหนมีการใช้งาน โทรออกรัวๆอย่างผิดปกติ แค่ซอฟต์แวร์โง่ๆก็ตรวจจับได้แล้ว แต่บ.โทรฯก็เฉ๊ย มินำพา ไม่รู้ร้อนรู้หนาว
- ซอฟต์แวร์ของธนาคารสามารถตรวจจับพฤติกรรมน่าสงสัย เช่น เพิ่มวงเงิน ปรับเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล ล็อคอินในอุปกรณ์ใหม่ ฯลฯ หรือบัญชีไหนมีเงินโอนเข้าปุ๊บ-ออกปั๊บ ก็หน่วงเวลาของ Transaction หรือกด Pause ในทางเทคนิคไม่ใช่เรื่องยากเลยถ้าจะทำ
1
ที่ผ่านมา ทั้งธนาคารและบ.โทรฯมัวแต่อ้างว่ากฎระเบียบ "ทำไม่ได้กับไม่ยอมทำ" มันต่างกันค่ะ ก็เลยต้องเจอไม้เรียวคุณครูนี่แหละ
2
โฆษณา