17 ธ.ค. 2024 เวลา 03:29

เมื่อคนรวยพูดอะไรใครก็เชื่อ

#เมื่อคนรวยพูดอะไรใครก็เชื่อ
(โพสต์บ่นล้วนๆ และเต็มไปด้วยอคติ โปรดใช้วิจารณญาณ)
.
เห็นสัปดาห์ที่แล้วแชร์กันรัวๆ เรื่องคลิปที่ทำออกมาแซะคนสำเร็จแบบฉาบฉวย (เคล็ดลับความสำเร็จของผมคือผมรวยครับ 55+) ถ้านอกจากเรื่องของการแซะแล้วที่ตรงใจหลายคนแล้ว ประเด็นที่ควรให้ความสนใจเพิ่มเติมก็น่าจะมีอีก 3 เรื่องคือ
.
หนึ่ง ความสำเร็จแบบฉาบฉวยและโทษของมัน
สอง นิยามของคนประสบความสำเร็จ
สาม ความรวยมันเป็นตัวชี้วัดที่ดีแค่ในบางเรื่อง
.
.
.
1) ความสำเร็จแบบฉาบฉวยและโทษของมัน
.
มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรนะที่สื่อจะพากันฉายแสงไปหาคนที่ประสบความสำเร็จไวที่สุด รวยที่สุด เท่ที่สุด เพราะคอนเทนต์พวกนี้มันขายได้ แต่สิ่งที่บรรดาสื่อ (โดยเฉพาะสื่อห่วยๆ ทำคอนเทนต์ห่วยๆ เพื่อให้คนตามง่าย) ไม่ค่อยได้คิดกันคือ ความสำเร็จของบรรดาผู้สำเร็จเหล่านั้นมันฉาบฉวยแค่ไหน
.
สมมติมีคนสำเร็จสักคนนึงที่สำเร็จได้เพราะปัจจัยแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ (บริบทชีวิตดี จังหวะมันได้ หรือการคดโกง) แล้วพูดเท่ๆ ให้คนฟังว่าอยากสำเร็จคุณต้องกล้าเสี่ยง ผมเอาบ้านไปขายแล้วมาทำธุรกิจจนรวย แล้วเกิดมีสัก 100 คนทำตาม เจ๊งไปสัก 90 คน คำถามคือมีสื่อที่ไหนบ้างหรือนักประสบความสำเร็จคนไหนบ้างมารับผิดชอบคำแนะนำที่ไม่ผ่านการกลั่นกรองมาให้ดีก่อน
.
ส่วนหนึ่งมันก็เป็นความผิดของผู้รับสารด้วยที่เชื่อโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีก่อน แต่สื่อและตัวของคนประสบความสำเร็จเองก็ควรทำหน้าที่ให้ดีกว่านี้ด้วยเช่นกัน ไม่งั้นทำแต่อะไรที่เสพง่ายๆ หรือกระตุ้นอะดรีนาลีนมาขายคนได้ง่ายๆ สังคมก็ไม่พัฒนาสิ
.
.
.
2) นิยามของคนประสบความสำเร็จ
.
คำว่าประสบความสำเร็จมันเป็นคำที่กว้างมากนะ สมมติตัวอย่างสุดโต่งเช่น Elon Musk ทุกคนรู้ว่าเขาคือคนเก่งและมีความสามารถ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จแน่นอน มีสื่อไปสัมภาษณ์เพียบ แต่ถ้าสมมติวันนึง Tesla กลับเจ๊ง มีคู่แข่งมาตีตลาด เขาล้มละลาย เราจะถือว่าเขาประสบความสำเร็จอยู่ไหม?
.
ความสำเร็จมันเป็นของที่ไม่แน่นอน คนที่ดูเท่สุดๆ ในวันนี้ก็ไม่ได้แปลว่าจะประสบความสำเร็จตลอดไป มันมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะแยะ
.
ตอนที่ใครสักคนชีวิตรุ่งเรืองก็มีแต่คนสนใจ แล้วพอชีวิตเขาตกต่ำ ทำไมพวกคำคมต่างๆ ที่เขาเคยโม้ไว้ หรือหนังสือที่เขาเขียนกลับถูกลดคุณค่าไปง่ายๆ ทั้งที่มันอาจเป็น fact ที่มีประโยชน์ก็ได้ คุณค่าของความรู้จริงๆ ไม่ควรถูกวัดด้วยเงินหรือความสำเร็จของคนๆ นั้น ถ้ามันจะถูกก็ควรถูกเพราะตัวมันเอง
.
.
.
3) ความรวยมันเป็นตัวชี้วัดที่ดีแค่ในบางเรื่อง
.
เงินในกระเป๋าสตางค์คือตัววัดที่เรามักใช้กันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะมันเป็นตัวชี้วัดที่วัดได้ง่ายที่สุด วัดค่าได้แน่นอน
.
เอาง่ายๆ ถ้าเราเจอคนครั้งแรกเพื่อคุยงานกัน สมมติให้ทั้งสองคนมีกริยามารยาทดีเหมือนกันและเป็นคนดีทั้งคู่ คนนึงขับรถมาเท่ๆ ใส่สูทอย่างแพง อีกคนขับรถอีโค่คาร์และใส่เสื้อผ้าแบบมนุษย์เงินเดือนปกติ มันมีสักแวบแหละที่สมองเราจะเอนเอียงไปหาคนที่ดูน่าเชื่อถือว่า แล้วความน่าเชื่อถือนี้มันมาจากอะไร ก็มาจากเงินที่เขาน่าจะมีนั่นแหละ เป็นธรรมดา
.
แต่มันจะเป็นปัญหาก็ตรงที่ สมมติคนทีดูภายนอกดีทุกอย่าง เงินก็มี มารยาทก็ดี ดูเป็นคนดี แต่เบื้องหลังเห็นแก่ตัวสุดๆผลิตสินค้าแย่ๆ ให้ลูกค้า เอาเปรียบพนักงาน หรือถึงขั้นทำสิ่งผิดกฎหมาย แต่เพียงแค่เพราะว่าเขารวย มีเงินร้อยล้าน มีสื่อไปสัมภาษณ์แล้วพูดเท่ๆ คนก็พร้อมจะเชื่อ เพราะเขารวยนี่ และยิ่งถ้ามีการทำบุญหรือความกตัญญูด้วยก็ยิ่งเบิ้ลความน่าเชื่อถือเข้าไปใหญ่
.
ทำไมไม่ค่อยมีสื่อไปสัมภาษณ์คนทั่วๆ ไปบ้างล่ะ คนขายข้าวหมูแดงที่ส่งลูกจนเรียนจบป.ตรีได้และมีเงินเก็บพอเกษียณ ทำไมถึงไม่เห็นมีใครให้ราคาเขาเลย? ก็เพราะเรื่องราวมันไม่น่าตื่นเต้นไง มันไม่รวยสุดๆ หรือรวยไวที่สุด คอนเทนต์มันขายไม่ได้
.
มันก็เหมือนกับข้อสังเกตอันที่สอง คุณค่าของ fact มันไม่ควรจะอยู่ที่ตัวผู้พูดเพียงอย่างเดียว ถ้ามันดีก็ควรจะดีเพราะตัวมันเอง
.
.
.
ปล. ไม่แน่ใจว่าสังคมในประเทศอื่นเป็นไหมกับการให้ค่าคนเพียงเพราะเงิน เข้าใจว่าเป็นทุกประเทศ แต่ประเทศเราอาจหนักมากกว่าปกติเพราะความเหลื่อมล้ำที่มากกว่าก็ได้
โฆษณา