1 ม.ค. เวลา 08:00 • สุขภาพ

💊ยาประจำบ้าน #พาราเซตามอล คุณกินถูกวิธีหรือเปล่า ❓

พาราเซตามอล เป็นยารักษาโรคที่เรียกได้ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน เพราะเป็นยาที่ทุกครัวเรือนต้องมี ใช้รักษาอาการปวดหัว ตัวร้อน มีไข้ และอาการปวดอื่น ๆ ได้ค่อนข้างหลากหลาย แต่ถึงจะเป็นพาราเซตามอลจะเป็นยาที่ใครๆ ก็ใช้ ใครๆ ก็รู้จัก คุณมั่นใจไหมว่าตัวเองนั้น กินยาพาราเซตามอล อย่างถูกวิธี?
วันนี้แอปฯ หมอดี ขอเอาสาระสุขภาพมาฝาก ให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับการใช้ยาพาราเซตามอลกันให้มากขึ้น กินอย่างถูกวิธี เพื่อจะได้ปลอดภัย และหายป่วยไวๆ กันนะคะ
#วิธีกินยา
#พาราเซตามอล #Paracetamol เป็นยาที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่ไม่ได้เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดแบบรุนแรง ที่รู้จักกันดี เช่น
- พาราเซตามอลชนิดเม็ด 500 มิลลิกรัม (มก.)
- ยาน้ำเชื่อมหวาน ๆ รสชาติอร่อยสำหรับเด็ก ๆ 🍊🍎🍇 มีความเข้มข้นของยาหลายแบบ อันนี้สำคัญค่ะ หากไปซื้อยาเองควรให้เภสัชกรคำนวณยาให้ทุกครั้งหรือดูข้างกล่องอีกทีค่ะ
นอกจากนี้ยังมีแบบเม็ด 325 มก. แบบเม็ดออกฤทธิ์นาน 8 ชม. 650 มก. แบบเหน็บทวาร และแบบเม็ดที่ผสมกับยาอื่น อีกด้วย
จะเห็นว่าเจ้า “ยาพารา” ที่เราเรียกกันจนติดปาก อีกทั้งอาจเป็นยาตัวแรก ๆ ที่เรารู้จักและนึกได้ทันทีถ้ามีคนมาถามเราว่ารู้จักยาอะไรบ้าง 😂 จริง ๆ แล้วมีหลายความแรง (มิลลิกรัม) มาก ๆ จึงอยากให้ทุกคนได้ตระหนักถึง การใช้ยานี้ในโพสต์นี้กันค่ะ 😊
 
การกินยาพาราเซตามอล ควรคำนึงถึง 3 ข้อหลัก ดังนี้ เพื่อป้องกันการได้รับยามากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ* ได้ค่ะ
1) ข้อห้ามใช้ โรคประจำตัว
2) ยาอื่นที่กำลังใช้อยู่
3) น้ำหนักตัว ซึ่งจะมีตารางน้ำหนักและปริมาณที่ควรกินที่กล่องหรือแผงอยู่แล้วค่ะ มีใครสังเกตเจอบ้างมั้ยคะ 🧐
(*พิษต่อตับ : เซลล์ตับถูกทำลาย ซึ่งสร้างใหม่ไม่ได้ ตับอักเสบ เอนไซม์ในตับเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น)
โดยปกติแล้ว ยาพาราเซตามอลให้กินห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ในหนึ่งวันหรือ 24 ชม.ไม่ควรกินยาเกิน 4,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าหาก…..
- กินยาแล้วไข้ไม่ลดใน 3 วัน
- อาการปวดของเด็กไม่ดีขึ้นใน 5 วัน
- อาการปวดผู้ใหญ่ไม่ดีขึ้นใน 10 วัน
ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาเพิ่มเติม เพราะอาจเป็นโรคที่ร้ายแรงได้
#ข้อควรระวัง เกี่ยวกับการกินยาพาราเซตามอล
❌ การกินยาพาราเซตามอลมากเกินไป❌
อาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้😳 หรืออาจมีอาการ คลื่นไส้ ง่วงซึม ปวดท้องขวาบน ให้เห็นได้ เป็นต้น ซึ่งแพทย์และคนไข้อาจไม่รู้ตัวด้วยว่าเกิดจากการกินยาพาราเซตมอลมากเกินไป 😧 ดังนั้น
*ถ้าทราบว่ามีการกินยาเกินขนาดให้นำส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ* หรือถ้าไม่มั่นใจปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรในแอปหมอดีก่อนได้นะคะ ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก https://mordee.app.link/mordee
ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล จะมีข้อห้ามใช้ยานี้อีก สำหรับอาการแพ้ยา อาจพบว่ามีอาการบวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก 👁👄👁 (โดยที่ไม่ได้ไปฉีดฟิลเลอร์มาแต่อย่างใด 😂) หรืออาจมี ลมพิษ หน้ามืด ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก ถ้ากินยาแล้วมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเช่นกันค่ะ
⚠ สำหรับผู้ที่ต้องระมัดระวังในใช้ยาพาราเซตามอลเป็นพิเศษ ได้แก่
1) ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ เป็นโรคตับ ขาดสารอาหาร หรือผู้ที่เป็น G6PD
2) ผู้ที่กำลังใช้ยาหลายชนิด หรือใช้ยาเหล่านี้อยู่
***ยาวาร์ฟาริน, ยาคลายกล้ามเนื้อสูตรผสม, ยาแก้ปวดสูตรผสม,
ยาสูตรผสมแก้ไข้/หวัด/คัดจมูก/น้ำมูกไหล***
😷🤮🤧☔️🤒
3) หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
หลาย ๆ ครั้งเกิดการใช้ยาพาราเกินขนาดติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะไม่รู้ 🤕 จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเสมอก่อนใช้ยา เพื่อพิจารณาปริมาณยาและระยะเวลา หรืออาจมีการเปลี่ยนเป็นยาอื่นที่เหมาะสมยิ่งขึ้น สำหรับการเจ็บปวดแต่ละครั้งค่ะ
👩‍🔬 หากไม่มั่นใจว่าต้องกินยาพาราแบบใด ในปริมาณเท่าใด จึงจะเหมาะสมที่สุด ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องไป รพ. พร้อมมีบริการ จัดส่งยาถึงบ้าน
📲 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการใช้งาน แอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา โดยหากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับยาพาราเซตามอล อาจเลือก แผนกโรคทั่วไป แผนกเภสัชกรรม หรือเลือกปรึกษาตามอาการ ปวดหัว
3. เลือกแพทย์หรือเภสัชกรที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ
#พาราเซตามอล #ยาประจำบ้าน #Paracetamol #Acetaminophen #ยาสามัญประจำบ้าน #ยาพารา
โฆษณา