18 ธ.ค. 2024 เวลา 04:47 • ข่าวรอบโลก

อิสราเอลควรโจมตีถล่ม “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของตุรกี” เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ไมเคิล รูบิน จากสถาบัน American Enterprise Institute (AEI) ได้ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า “โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อักคูยู (Akkuyu)” ของตุรกี ซึ่งอังการากำลังก่อสร้างร่วมกันกับ Rosatom (บริษัทด้านนิวเคลียร์ที่มีรัฐเป็นเจ้าของของรัสเซีย) ไม่ควรทำให้มันเกิดขึ้นมา เขาให้เหตุผลในตอนต้นว่าตุรกีเป็นเขตเสี่ยงต่อเหตุแผ่นดินไหว และคิดว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจึงทำการก่อสร้างขึ้นได้ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้เองก็ “ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้สำหรับในภาพรวมของยุโรป” [1]
2
ที่มาภาพ: https://link.springer.com/article/10.1007/s13369-022-06938-8
จากนั้นผู้เขียนต้นเรื่องก็เข้าประเด็นหลักคือ เขาให้ความเห็นว่าตุรกีจะยังสามารถใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้เพื่อผลิตวัสดุฟิชไซล์ (วัสดุที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อเนื่อง) สำหรับทำอาวุธนิวเคลียร์ได้ เช่นเดียวกับที่อิหร่านอ้างว่าจะใช้ผลิตไฟฟ้าแต่ก็เอามาทำอยู่แล้วเพื่อทางการรบ
รูบินเน้นย้ำว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในตุรกีจะเปลี่ยนแปลงพลวัตของภูมิภาคไปตลอดกาล ตุรกีจะเป็นทั้ง “มหาอำนาจที่เรียกร้องดินแดนคืน โดยไม่ยอมทำตามข้อตกลงเก่าแก่หลายศตวรรษซึ่งกำหนดขอบเขตของตนอย่างเปิดเผย และเป็นผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายในทุกแง่มุมยกเว้นในแง่ทางการ”
1
ดังนั้นหากตุรกีมีอาวุธนิวเคลียร์ ไม่เพียงแต่จะสามารถดำเนินการคุกคามต่อประเทศตะวันออกกลางอื่นๆ ได้เท่านั้น แต่ยังรู้สึกว่าตนเองอยู่ยงคงกระพันด้วยซ้ำเนื่องจากมีอาวุธนิวเคลียร์ในการครอบครอง นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้นี้มั่นใจและมองว่าถึงขนาดที่ตุรกีจะสามารถเพิ่มการสนับสนุนการก่อการร้ายได้โดยไม่ต้องกลัวการแก้แค้นหรือแสดงความรับผิดชอบใดๆ เขากล่าวเสริม
ที่มาภาพ: https://activistpost.com/2015/11/is-turkey-the-real-isis.html
มากไปกว่านั้นรูบินเสนอแนะให้อิสราเอลต่อสู้กับภัยร้ายแรงนี้ เพราะไม่ควรสนใจว่าภัยคุกคามจากนิวเคลียร์จะมาจากที่ใด “อิหร่าน หรือ ตุรกี” โดยยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในปี 1981 กองทัพอากาศอิสราเอลโจมตีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์โอซิรัก (Osirak) ที่ฝรั่งเศสสร้างในอิรักไม่นานก่อนที่จะมีการเติมเชื้อเพลิงขับเคลื่อน ตอนนั้นยังใช้เครื่องบิน F-15 (ในชื่อที่ว่า ปฏิบัติการ Opera)
เหตุโจมตีลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับโรงงานแปรรูปพลูโตเนียมที่ชื่อว่า “อัล คาบีร์ (Al Kabir)” ใกล้เมืองเดียร์เอซซอร์ในซีเรียตะวันออก ซึ่งเครื่องบินกองทัพอากาศของอิสราเอลได้ทำลายไปในปี 2007 ดังนั้น “พวกเขา (อิสราเอล) จึงมีประสบการณ์มากมาย (เกี่ยวกับการโจมตีทางอากาศต่อโรงงานประเภทนี้)”
ปฏิบัติการ Opera ของอิสราเอล เมื่อปี 1981 ที่มาภาพ: https://despardes.com/israel-strike-threat-nukes-region
ระยะทางจากอิสราเอลไปยังโอซิรัก (ปฏิบัติการเมื่อปี 1981) นั้นยาวเกือบ 1,600 กม. ส่วนระยะทางไปยังเมืองเดียร์เอซซอร์ซึ่งอยู่ที่ 640 กม. สำหรับระยะทางในแนวตรงระหว่างเมืองเทลอาวีฟและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อักคูยูในตุรกี ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 525 กม.
รูบินย้ำถึงปฏิบัติการของอิสราเอลที่สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก (จากประสบการณ์พวกเขาไกลกว่านี้ 3 เท่าก็ทำมาแล้วโดยใช้เครื่องบินรุ่นเก่า) ดังนั้นตามที่เขากล่าวการโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของตุรกียังง่ายกว่าการโจมตีอิรักเสียอีก อาจเพราะกองทัพอากาศตุรกีอ่อนแอ และอิสราเอลก็มีเครื่องบินรุ่น F-35I รุ่นพิเศษของอิสราเอล
แน่นอนว่าอาจมีปัญหาเกิดขึ้นตามมา หากอิสราเอลทิ้งระเบิดโรงไฟฟ้าอักคูยู นาโตทั้งหมดจะต้องต่อสู้กับอิสราเอลหรือไม่ (ตามมาตรา 5 หากสมาชิกใดของนาโตถูกโจมตี นาโตกลุ่มใหญ่จะมีมาตรการโจมตีตอบโต้ช่วยเหลือ – ตุรกีเป็นสมาชิกนาโต) ถึงเวลานั้นนาโตจะโจมตีอิสราเอลหรือไม่ เป็นคำถามที่น่าชวนคิด อย่างไรก็ตามรูบินรับรองว่าหากเทลอาวีฟไม่รับผิดชอบ “ก็สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาได้” ท้ายที่สุดแล้ว “คำพูดของตุรกีเองจะไม่มีความหมายต่อนาโต หากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าอิสราเอลเป็นคนทำ (หรือทำเป็นไม่รู้)”
นอกจากนี้รูบินยังแนะนำว่ามีวิธีอื่นๆ ในการปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของตุรกี ตัวอย่างเช่น ส่งไวรัสคอมพิวเตอร์ Stuxnet ที่เคยทำให้โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านล่าช้าไปหลายปี ดังนั้นตุรกีจึงไม่สามารถหลีกหนีจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้ หากอังการาไม่พอใจออกจากกลุ่มนาโตด้วยความโกรธเคือง รูบินเชื่อว่าตุรกียังคงเป็นพันธมิตรนาโตที่ถูกเมินเฉย
อ้างอิงบทความต้นเรื่องได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
ตรรกะนั้นชัดเจน แม้ว่าจะดูเย้ยหยันอย่างมาก แม้ว่าในปี 2017 ทางการตุรกีจะเคยเรียกร้องให้ทวิตเตอร์ (ในตอนนั้น) ปิดบัญชีของรูบิน (คนเขียนบทความข้างต้น) เนื่องจากเขาดูหมิ่นเออร์โดกันอย่างมากในตอนนั้น [2]
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือสหรัฐฯ สนใจการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของตุรกีน้อยกว่าอิสราเอลเสียอีก การแบล็กเมล์ด้านพลังงานเป็นหนึ่งในเครื่องมือ ในขณะที่ตุรกีที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์แม้จะไม่มีองค์ประกอบทางทหารก็จะเสี่ยงต่อการแบล็กเมล์ดังกล่าว
หากอังการาตัดสินใจพัฒนาแนวทางการทหาร (ด้านนิวเคลียร์) ทุกอย่างอาจน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากคำกล่าวที่ตรงไปตรงมาของนักวิเคราะห์ชาวอเมริกันที่ปฏิเสธสิทธิพิเศษของตุรกีในฐานะสมาชิกนาโตในการมีความคิดเห็นเป็นของตัวเองและต้องการบางสิ่งบางอย่าง
เรียบเรียงโดย Right Style
18th Dec 2024
  • เชิงอรรถ:
<ภาพปก: ภาพดาวเทียมจาก Planet Labs PBC แสดงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อักคูยูที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในจังหวัดเมอร์ซิน ตอนใต้ของประเทศตุรกี เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 เครดิต: Planet Labs PBC (AP)>
โฆษณา