19 ธ.ค. เวลา 09:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

โลหะหายากจำนวนมหาศาลที่จำเป็นสำหรับพลังงานสะอาด ได้ซ่อนอยู่ในขยะถ่านหินที่เป็นพิษ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแหล่งสะสมโลหะหายากในขยะถ่านหิน ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมพลังงานสะอาดได้ โลหะหายากดังกล่าวมีปริมาณมากแต่ต้นทุนการสกัดยังราคาแพง
ขี้เถ้าถ่านหินหลายล้านตัน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่านหิน กำลังสะสมอยู่ในบ่อน้ำและหลุมฝังกลบ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อแหล่งน้ำและดิน อย่างไรก็ตาม ขยะอันตรายเหล่านี้อาจมีสมบัติล้ำค่าที่ซ่อนอยู่ นั่นคือธาตุหายากซึ่งจำเป็นต่อเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เป็นธาตุหายากมากกว่า 11 ล้านตัน
มูลค่าประมาณ 8,400 ล้านดอลลาร์
นักวิจัยซึ่งนำโดยมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน ได้วิเคราะห์ขี้เถ้าถ่านหินจากโรงไฟฟ้าทั่วสหรัฐอเมริกา และพบว่าอาจมีธาตุหายากมากถึง 11 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปริมาณสำรองในประเทศสหรัฐอเมริกาเกือบ 8 เท่า มูลค่าประมาณ 8,400 ล้านดอลลาร์ ( 2.9 แสนล้านบาท)
การค้นพบนี้เปิดโอกาสสำคัญในการหาธาตุหายากในประเทศโดยไม่ต้องพึ่งการทำเหมืองใหม่ ตามที่บริดเจ็ต สแกนลอน (Bridget Scanlon) ผู้เขียนผลการศึกษาวิจัยและศาสตราจารย์วิจัยที่ วิทยาลัยธรณีวิทยาแจ็คสัน (Jackson School of Geosciences) มหาวิทยาลัยเท็กซัส กล่าว
"สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของหลักการ 'เปลี่ยนขยะเป็นสมบัติ' เราตั้งเป้าที่จะปิดวงจรนี้ด้วยการรีไซเคิลขยะและกู้คืนทรัพยากรที่มีค่าจากขยะเหล่านั้น”
ธาตุหายาก เช่น สแกนเดียม นีโอดิเมียม และอิตเทรียม มีความสำคัญต่อเทคโนโลยีสะอาด เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ และกังหันลม แม้จะมีชื่อเรียกเช่นนี้ แต่โลหะเหล่านี้ก็ไม่ได้หายากในธรรมชาติ แต่ยากที่จะสกัดออกมาจากแร่ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างอุปทานและอุปสงค์
ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์
โฆษณา