18 ธ.ค. 2024 เวลา 11:19 • ธุรกิจ

สรุปประวัติ Honda VS Nissan ที่มีข่าวว่าจะควบรวมกัน พร้อมวิเคราะห์ จบในโพสต์นี้

- รถยนต์คันแรกที่ผลิตโดย Nissan ชื่อว่า DAT ถูกเปิดตัวในปี 1914 ซึ่งในสมัยนั้น Nissan ยังใช้ชื่อบริษัทว่า Kwaishinsha Motor Car Works
- ส่วนรถยนต์คันแรกของ Honda คือ Honda T360 ซึ่งเป็นรถบรรทุกขนาดเล็ก เริ่มผลิตในปี 1963
2
ทั้ง 2 แบรนด์ถือเป็นคู่แข่งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ มายาวนานกว่า 6 ทศวรรษหรือ 60 ปี ห้ำหั่นกันมาตลอด จนถึงปัจจุบัน
1
ล่าสุด มีข่าวการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้ เมื่อ Honda และ Nissan ซึ่งเป็น 2 แบรนด์ชั้นนำ กำลังอยู่ในกระบวนการเจรจาเพื่อควบรวมกิจการ
1
ความเคลื่อนไหวนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และอาจส่งผลต่อโครงสร้างของอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับโลก
เพราะหากพิจารณายอดขายรถยนต์ของทั้ง 2 ค่ายในปี 2023 อ้างอิงจากสำนักข่าว NHK
- Honda มียอดขายอยู่ที่ 3.98 ล้านคัน มากเป็นอันดับ 7 ของโลก
- Nissan มียอดขายอยู่ที่ 3.37 ล้านคัน มากเป็นอันดับ 8 ของโลก
2
เมื่อรวมยอดขายของทั้ง 2 ค่ายในปี 2023 จะอยู่ที่ 7.35 ล้านคัน
ซึ่งส่งผลให้พวกเขากลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายสูงสุดอันดับ 3 ของโลก รองจาก Toyota Group และ Volkswagen Group เลยทีเดียว..
1
Honda และ Nissan มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ จบในโพสต์นี้
2
- Honda เป็นแบรนด์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน โดยก่อนที่จะมาเป็นเจ้าของแบรนด์ รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ที่เรารู้จักกันนั้น
ในสมัยก่อน ผู้ก่อตั้งไม่ได้ทำแบรนด์รถยนต์มาก่อน แต่ก็อยู่ในแวดวงของเครื่องยนต์มาโดยตลอด
2
โดยนวัตกรรมแรก ๆ ของผู้ก่อตั้ง Honda นั้น ก็คือ วงแหวนลูกสูบ ซึ่งในสมัยนั้น วงแหวนนี้ยังถูกผลิตขายให้กับแบรนด์รถยนต์อย่าง Toyota ด้วย
1
ก่อนที่แบรนด์จะเริ่มมาเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องของการทำ รถจักรยานยนต์ และตามมาด้วยรถยนต์ในเวลาต่อมา
ในเรื่องความสำเร็จของ Honda
- Honda กลายเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของโลกภายในระยะเวลาไม่นาน โดยในปี 1959 บริษัทได้กลายเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก และยังคงครองตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบัน
2
- ในปี 1963 Honda เข้าสู่ตลาดรถยนต์ด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นแรกชื่อว่า T360 ซึ่งเป็นรถบรรทุกขนาดเล็ก (Kei Truck) และในปีเดียวกัน Honda ได้เปิดตัวรถสปอร์ต S500 ตามมา
1
- Honda เริ่มเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1960 โดยรถยนต์รุ่น Civic ที่เปิดตัวในปี 1972 ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม และกลายเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการขยายตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ
1
ปัจจุบัน Honda Motor เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากสำนักข่าว NHK พบว่า ในปี 2023 Honda มียอดขายทั่วโลกอยู่ที่ 3.98 ล้านคัน มากเป็นอันดับ 7 ของโลก
__________________
- ส่วน Nissan ก่อตั้งขึ้นในปี 1933 หรือเมื่อ 91 ปีก่อน..
4
จากการควบรวมกันระหว่าง Tobata Casting บริษัทผลิตชิ้นส่วนโลหะหล่อ
และ DAT Jidosha Seizo บริษัทผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก
- Nissan ได้เปิดตัวรถยนต์ครั้งแรกในปี 1935 ชื่อรุ่น Datsun Type 15 ซึ่งถือว่าเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น และกลายเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1930 เลยทีเดียว
1
- ต่อมาไม่นาน Nissan ก็ได้ขยายธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ และได้เปิดโรงงานผลิตในสหรัฐอเมริกาและยุโรป พร้อมทั้งเริ่มส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
1
- อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1990 และต้นทศวรรษ 2000 บริษัทได้สูญเสียเงินจำนวนมากจากการลงทุนที่ล้มเหลวและการเรียกคืนรถยนต์จำนวนมาก
แต่ก็ฟื้นตัวจากวิกฤติ และกลับมาทำกำไรในเวลาต่อมา
3
ปัจจุบัน Nissan เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากสำนักข่าว NHK พบว่า ในปี 2023 Nissan มียอดขายทั่วโลกอยู่ที่ 3.37 ล้านคัน มากเป็นอันดับ 8 ของโลก
__________________
2
- ล่าสุด Honda Motor และ Nissan Motor กำลังเริ่มเตรียมเจรจากัน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการควบรวมกิจการ
1
โดยทั้ง 2 บริษัทรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น วางแผนที่จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU
เพื่อหารือเกี่ยวกับการถือหุ้นร่วมกันในบริษัทโฮลดิงแห่งใหม่ ที่เกิดจากการควบรวมกิจการกัน
1
ซึ่งการควบรวมครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ
และเตรียมความพร้อมเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้า อย่างเช่น Tesla และผู้ผลิตรถยนต์จากจีน ได้มากขึ้น
1
อย่างที่ผ่านมา Nissan ได้ประสบปัญหาด้านผลการดำเนินงาน ที่ไม่เป็นไปตามเป้า
และมีความเสี่ยงที่ธุรกิจจะอยู่รอดต่อไปได้ไม่ถึง 12 เดือน นับต่อจากนี้ หากไม่สามารถแก้ปัญหาธุรกิจได้..
3
ถึงตอนนี้ เราคงได้เห็นภาพรวมของประวัติและความเป็นมาของทั้ง Honda และ Nissan กันมาบ้างแล้ว
แต่คำถามสำคัญคือ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ 2 ยักษ์ใหญ่ตัดสินใจร่วมมือกัน ?
1
ลองวิเคราะห์สาเหตุดู 4 ข้อ
4
1. เรื่องการแข่งขันในตลาดรถยนต์ที่ดุเดือด
โดยเฉพาะการเข้ามาตีตลาดของรถยนต์ไฟฟ้า EV อย่าง Tesla จากประเทศสหรัฐอเมริกา และแบรนด์รถไฟฟ้า EV อีกหลายแบรนด์จากประเทศจีน
2
2. สามารถลดต้นทุนได้ เนื่องจาก เมื่อควบรวมธุรกิจกันแล้ว ก็สามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้ร่วมกัน
รวมถึงสามารถแชร์ Know-How ในด้านการวิจัยและพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่มีร่วมกันได้
2
3. ทั้ง 2 ค่าย สามารถเข้าถึงทรัพยากรในการผลิตร่วมกันได้
ซึ่งสามารถทำให้ต้นทุนในการผลิตรถยนต์ต่อคันนั้นถูกลง
เพราะทั้งคู่มีปริมาณการผลิตและเกิด Economies of Scale มากขึ้น คือยิ่งผลิตเยอะขึ้น ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยยิ่งถูกลง
2
4. ถ้าหากเกิดการควบรวมกิจการกัน ทั้ง 2 ค่ายรถยนต์ ก็จะมีอำนาจต่อรองทั้งกับลูกค้า
และคู่ค้ามากขึ้นด้วย
3
จากคู่แข่งที่แข่งขันกันมายาวนานกว่า 60 ปี รุ่นบุกเบิกต่างมุ่งมั่นแข่งขันเพื่อแย่งชิงตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์
แต่ในที่สุดตอนนี้ อาจจะต้องเลือกหันมาจับมือกัน เพื่อปรับตัว เอาตัวรอด และสู้กับคนอื่นให้ได้ดีกว่าที่เป็นอยู่
2
ซึ่งถามว่านี่เป็นเรื่องแปลกไหม ที่ Honda กับ Nissan จะเลือกทำแบบนี้ ? ก็คงตอบได้ว่า “ไม่แปลก”
เพราะช่วงที่ผ่านมา ก็มีหลายบริษัทใหญ่ ๆ ที่เป็นคู่แข่งกัน แต่สุดท้ายต้องมาควบรวมกัน
ไม่ว่าจะบริษัทในต่างประเทศ หรือในไทย ก็ตาม..
4
โฆษณา