Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
CREATIVE TALK
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 ธ.ค. เวลา 12:03 • ธุรกิจ
ปัญหาไม่ใช่ทางตัน ถ้าความคิดสร้างสรรค์ยังทำงาน
เจาะ 11 เรื่องธุรกิจ ที่มองปัญหาให้เหมือนของเล่น จากผู้สร้างสรรค์งาน Thailand Toy Expo
🎪🎄☃️ ลานหน้ากิจกรรมเซ็นทรัลเวิลด์ในช่วงคริสต์มาส เรียกได้ว่าเป็นอีกหมุดหมายของใครหลายคน ที่จะต้องแวะไปถ่ายรูป ร่วมจอยกับ Happy Moment สักครั้ง! แต่ความปังปีนี้มันพิเศษยิ่งกว่า
ความพิเศษนี้เกิดจากการร่วมสัมภาษณ์สุด Exclusive ระหว่าง #CREATIVETALK และ คุณจี๊ป - พงศธร ธรรมวัฒนะ เจ้าของงาน Thailand Toy Expo และเจ้าของแบรนด์ J.P. Toys Gallery ถึงแง่มุมความคิดสร้างสรรค์ที่เนรมิตรหลาย ๆ สิ่งที่เป็นครั้งแรกของไทย ตั้งแต่การนำศิลปินมารวมตัวกันมากถึง 11 ศิลปิน ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และสร้างสรรค์อาร์ตทอย 23 คาแรกเตอร์ กว่า 56 ตัว ไว้ในที่เดียวในโลก
🤖 นี่คือครั้งแรกของงานคริสต์มาสที่รวมศิลปินนักออกมารวมตัวกันไว้มากที่สุด
คุณจี๊ป พงศธร ได้ค่อย ๆ เริ่มปูภาพใหญ่ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพก่อนว่านี่เป็นปีแรกที่ได้ทำงานร่วมกันกับเซ็นทรัลเวิลด์ในมหกรรมเทศกาลคริสต์มาส อย่าง “centralwOrld X J.P. Toys Gallery Presents Merry Ville 2025” เป็นหนึ่งในการสร้างปรากฏการณ์ (Phenomena) ใหม่ ๆ ให้กับวงการ เพื่อให้เกิด Happy Moment กับทุกคน
ภายใต้คำว่า Merry Ville นี่คือเมืองที่ทุกคนเข้ามาแล้วสามารถซึมซับความสุขที่ดีออกไปได้ แต่ในเชิงการออกแบบกลับท้าทายกว่าที่คิด เพราะว่าการออกแบบในแต่ element + จุดแข็งของแต่ละศิลปิน เพื่อให้มันมาแมทช์กันในธีมใหญ่ที่วางไว้ ไม่ใช่เรื่องง่าย
อย่างเช่น ลาบูบู้ ที่เราได้ดีลกับศิลปินตรงอย่างคุณ คาซิง ลุง (Kashing Lung) ศิลปินผู้ออกแบบลาบูบู้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะเห็นลาบูบู้แทบจะทุกรูปแบบแล้ว ดังนั้นการจะทำให้แตกต่างจึงเป็นหนึ่งในความท้าทาย แล้วที่สำคัญครั้งนี้เป็นการทำงานกับศิลปินโดยตรงโดยไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาเฉย ๆ บวกกับ Develop ทุกขั้นตอน จนกระทั่งมาเจอตรงกลาง
โดย Concept หลักที่ทุกคนจะได้เห็นในปีนี้ถูกคิดจากความเป็น Toy Maker เสมือนกับ J.P. TOYS ที่เป็นร้านขายของคนเล่น ที่เราอยากให้สร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้พี่ ๆ ลุงป้าน้าอา พาหลาน ๆ มาอยู่ในโลกแห่งของเล่น โดยมีเมมเบอร์ใหม่เกิดขึ้นมา เป็นน้องคนที่ 3 แห่งบ้าน J.P. TOYS ที่มีชื่อว่า “น้องแอบิเกล” เป็นตัวแทนแห่งความสุขให้กับทุกคน
เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าทุกคนก็คงจะได้เห็นอาร์ตทอยมากมายใจกลางเซ็นทรัลเวิลด์ แต่ในเชิงเบื้องหลังมันมีโจทย์อีกมากมายที่ต้องเผชิญ ซึ่ง คุณจี๊ปก็ได้แชร์เรื่องราวทั้งการ Creative Idea, การทำงานกับลูกค้า, การทำงานกับศิลปิน ซึ่งตกผลึกจาก Wisdom ของคนที่ทำจริงมาก่อนทั้งหมด 11 ข้อ ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่านี่จะเป็น Checklist ธุรกิจที่สำคัญ ในการไปต่อยอดไอเดีย ต่อยอดพลังดี ๆ ให้กับผู้ประกอบการ และคนทำงานทุกคน!
🤖 เจาะเบื้องหลังแนวคิด 11 เรื่องจริง! ของคนทำธุรกิจ จงอย่าด้อยค่าความชอบ และอย่าดูถูกความชอบของใคร
🧩 1. ให้เกียรติ, เปิดกว้าง, เชื่อมั่น และเคารพไอเดียของอีกฝ่าย
เมื่อเราต้องทำงานกับใครสักคน หรือเกิดการทำงานร่วมกับแบรนด์, ศิลปิน, พาร์ทเนอร์ต่าง ๆ มักจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่จะทลายอุปสรรค์เหล่านี้ได้จริง คือการที่ต่างคนต่างกล้าแชร์ความต้องการ โดยมีพื้นฐานในการให้เกียรติ, เปิดกว้าง, เชื่อมั่น และเคารพไอเดียของอีกฝ่าย
ซึ่งสิ่งที่ทำให้ เซ็นทรัลเวิลด์ และ J.P. TOYS ทำงานร่วมกันได้สำเร็จ คือการที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ฟังที่ให้เกียรติ โดยไม่เกลียดสิ่งที่ผู้พูดสื่อสารอย่างจริงใจ รวมถึงผู้พูดก็ให้เกียรติผู้ฟัง ในการนำเสนอไอเดียอย่างเต็มที่ เพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันนั่นเอง
“อย่าให้การสื่อสารเป็นข้ออ้างของการสร้าง Creative”
ส่วนใหญ่คนมักจะบอกว่า Creative ต้องมาตกม้าตาย เพียงเพราะลูกค้าไม่ซื้อไอเดียเรา หรือคุยกันไม่ลงตัว ผลงานจึงออกมาไม่ได้ดั่งใจ แต่ในความเป็นจริงนั้น เราต้องกลับมามองที่จุดเริ่มต้นว่า “เราได้สื่อสาร เราได้แชร์ความต้องการ เราได้ข้อตกลงในการทำงานร่วมกันแล้วจริง ๆ หรือยัง ?” ดังนั้นการให้เกียรติ เชื่อมั่นว่าเราเลือกเขามาแล้ว และเคารพการตัดสินใจร่วมกันจึงมีความสำคัญมาก ๆ
🧩 2. ทำงานร่วมกัน ต้องกล้าให้คำเตือน
คุณจี๊ปเล่าประสบการณ์ในการทำงานกับเซ็นทรัลเวิลด์ ให้เราฟังว่าระหว่างการแลกเปลี่ยนไอเดียในช่วงแรก มันมีบางอย่างที่อาจจะขัดวัฒนธรรมร่วมกัน หรือมีประเด็นอ่อนไหว (Sensitive Issue) จะเกิดการเตือนร่วมกัน อย่างกรณีนี้เซ็นทรัลเวิลด์มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันกับแบรนด์มามากมาย เขาจึงช่วยเตือนได้ว่า อันไหนควรระวัง อันไหนควรคิดให้มาก
ซึ่งทางคุณจี๊ป ก็รับฟังและพร้อมปรับ เพราะเราไม่ได้ทำงานคนเดียว การคิดถึงศิลปินที่เราทำงานร่วมกัน คิดถึงลูกค้าที่เดินในงาน คิดถึงภาพใหญ่ที่จะออกไปสู่สายตาผู้คน การแคร์สภาพแวดล้อม แคร์คนทำงานร่วมกันสำคัญมาก ๆ ในทางกลับกันแต่ถ้าไอเดียเหล่านั้นไม่มีกรณี Sensitive Issue เขาจะเปิดโอกาสให้ใส่ไอเดียกันแบบเต็มข้อได้เลย!
🧩 3. ไอเดียใกล้ตัวนี่แหละ! ทรงพลังที่สุด
คำว่าใกล้ตัว หมายถึงสภาพแวดล้อมที่เราพบเจอ คุณจี๊ปได้ยกตัวอย่างถึง คำว่า “คนส่วนใหญ่ เวลานึกถึงเทศกาลคริสต์มาส ต้องการอะไร ?” ซึ่งคำตอบมันชัดมาก “ต้องการของขวัญ” นี่คืออันดับแรกที่คนมักจะอยากได้ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้ ซึ่งไอเดียนี้ก็ได้ต่อยอดมาเป็น “น้องแอบิเกล” ผลงาน Collaboration ศิลปินระหว่าง Jessica Ng และ ‘น้องแอบิเกล’ โดยน้องได้ถือกล่องของขวัญสุดน่ารัก ซึ่งมีความหมายว่าการส่งมอบความสุขให้กับทุกคน รวมไปถึงคาแรกเตอร์อื่น ๆ ก็ถูกคิดจากไอเดียเหล่านี้เช่นกัน
🎯 Labubu คือ Toy Maker เสมือนเป็นพี่ใหญ่ของงานที่พร้อมมามอบความสุขให้กับทุกคน
🎯 แทนที่จะเป็นกวางเรนเดียร์ เราก็ปรับคอนเซปต์ให้เป็นขบวนของปีศาจสุดน่ารัก เช่น Frankenstein ก็เป็นตัวแทนของคนขับรถส่งของ เป็นต้น
🧩 4. สิ่งที่น่ากลัวของการทำธุรกิจ คือการเข้าไปอยู่ในเทรนด์
คุณจี๊ปย้ำว่า นี่ไม่ใช่วิธีคิดที่ถูกหรือผิด แต่เป็นเกล็ดความรู้ที่อยากให้ทุกคนได้ไตร่ตรอง เพื่อให้แมทช์กับธุรกิจของตัวเอง “แต่ในนิยามของคำว่า เทรนด์ = เกิด และ ดับ” แต่กลับกันหากคุณอยู่ในกลุ่มของตัวเอง มี Community ที่แข็งแรง มันจะ Stable หรือมั่นคงกว่า ยืนระยะได้ดีกว่า ยิ่งคุณทำให้กลุ่มแฟนคลับแข็งแรงได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นข้อได้เปรียบในธุรกิจของคุณ และส่งผลไปถึงการเป็น Top ในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
🧩 5. หาให้เจอ! อะไรที่เราทำได้ดี แล้วแตกต่าง
โดยส่วนใหญ่แล้วเวลาเราทำงานกับ “แบรนด์” การที่เขาอยากร่วมงานกับเรา มันเกิดจากการที่แบรนด์เล็งเห็น ข้อได้เปรียบที่เรามีเหนือคู่แข่งในตลาด ดังนั้นสิ่งที่คุณจี๊ปทำมาโดยตลอด และถือเป็นเคล็ดไม่ลับคือ การทำ ‘เช็กลิสต์’ ว่าอะไรที่เราทำได้แล้วแตกต่าง และอะไรที่เราทำไม่ได้ เพราะถ้าเราทำธุรกิจโดยไม่รู้ว่าเรามีดีอะไร สิ่งนี้น่ากลัวกว่าการไม่มีลูกค้าเข้าซะอีก!
🧩 6. มองปัญหาให้เหมือนของเล่น ฝึกแก้ปัญหาด้วยการ Creative บ่อย ๆ
“ใครว่าการแก้ปัญหาไม่ใช้ Creative” คุณจี๊ปเล่าว่าในการทำงานร่วมกับศิลปิน มักเจอปัญหามากมาย ซึ่งต่อให้เราจะทำงานกับศิลปินมามาก แต่การจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดิม ๆ บางครั้งมันไม่ได้ผล เพราะปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน
“ขนาดปัญหามันยัง Creative แล้วทำไมเราจะแก้ปัญหาด้วยการ Creative ไม่ได้!!”
คุณจี๊ปบอกว่าศิลปินหลาย ๆ คนก็อยากเลือกพื้นที่การจัดวางในพื้นที่ศูนย์การค้า ใคร ๆ ก็อยากตั้งในจุดที่ตัวเองต้องการ แต่เราไม่สามารถเสิร์ฟความต้องการได้ทุกคน วินาทีนั้นคุณจี๊ปแก้ปัญหาด้วยการเหลือบไปมองลูกชาย “ให้น้อง Toy ลูกชายของคุณจี๊ป จิ้มเลือกเลย!”
เพราะพอเป็นเด็กเขาจะมีจินตนาการ มี Creative หน้าที่ของผู้ใหญ่อย่างเรา คือฟังเหตุผลของเด็ก เพื่อฝึกให้เขาได้ทดลอง เรียนรู้ไปในตัวด้วย เช่น โมเดลน้องทอย เขาเป็นผู้สร้างเขาก็ต้องอยู่ข้างบน หรือ เราต้องมีองครักษ์ปกปักรักษาตัวละครหลักนะ ก็เป็นหนึ่งในกิมมิคของเหล่าสัตว์ประหลาดที่เราจะเห็นอยู่รอบศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เสมือนการปกปักรักษาเพื่อนตัวน้อยของเขาจากไอเดียของลูกชายของคุณจี๊ปนั่นเอง
ดังนั้นหน้าที่ของคนแก้ปัญหา ต้องไม่มองว่าสิ่งเหล่านี้คือไม่ดี ยิ่งเราทำงานกับเด็กต้องไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เรื่องนี้ลองมาปรับใช้กับคนรุ่นใหม่ได้ ฟังเขาให้มาก แล้วหยิบมาวิเคราะห์ ถ้าไอเดียเหล่านั้นมาจาก Insight ของเด็กด้วยกัน นั่นคือความต้องการของลูกค้า เพราะลูกค้าของเราคือเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่ยังมีหัวใจเป็นเด็ก รักของเล่น รักความสุขที่ได้เก็บสะสม และให้ Value กับเหล่าน้อล ๆ
🧩 7. ต่อให้สินค้าดีแค่ไหน แต่ถ้าคนทำงานไม่แฟร์ ก็จะไม่ทำ!
ใครเป็นแฟนคลับ หรือ กลุ่ม Community ของ J.P. TOYS จะรู้ดีว่า เวลาแบรนด์นี้จะทำอะไรสักอย่าง เขาจะต้องเลือกมาระดับหนึ่งแล้ว และเป็นของดี!
คุณจี๊ปเน้นย้ำเรื่องนี้บ่อยมากในการทำโปรดักส์สักชิ้น “อย่ามองเพียงแค่ของมันดี แต่ต้องมองไปให้ถึงตัวตนและนิสัย” อย่างคุณจี๊ปเองทำงานร่วมกับศิลปินเขาก็ต้องมองให้ทะลุถึงเรื่องนี้ ดูว่าเขาให้ Value กับคุณค่าที่เราเชื่อหรือไม่ เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่าก็มีคนบางกลุ่มเขามาเพื่อหารายได้ หวังกำไรเพียงอย่างเดียว ซึ่งคนแบบนี้เราจะไม่เลือกทำธุรกิจกับเขาเด็ดขาด!
🧩 8. ห้ามมองข้าม Community เพราะมันคือ Break Barriers
ความมหัศจรรย์ของ Community คือการ Break Barriers หรือการไม่มีกำแพงมาปิดกั้น เราต่างเท่าเทียม ทุกคนเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้องได้อย่างสนิทใจ ลองคิดภาพว่าคุณจี๊ปเป็น CEO แต่เมื่อผมลงไปเล่นของเล่น มีกลุ่มคนที่ชอบของเล่น พวกเราคือเพื่อนกัน หรือแม้กระทั่งลูกน้องเรา หากเรามีความชอบเดียวกัน มี Community เหมือนกันมันจะไม่มีเส้นแบ่งของคำว่าลูกน้องหรือหัวหน้าเลย เพราะทุกคนคือคนที่รักในของเล่นเหมือน ๆ กัน ทุกคนเท่าเทียมกันทั้งหมด!
“อย่ามองว่า Community = Marketing มันคนละเรื่องกัน”
ก่อนที่จะมีบริษัท ก่อนที่จะมีวันนี้ได้ คุณจี๊ปเริ่มต้นจากการไปส่งของเล่นให้กับลูกค้าถึงมือ ส่งแล้วส่งอีก มีกี่สิบคน กี่ร้อยคน เราก็ต้องไปส่งให้ถึงมือเองกับมือ เพราะว่านี่แหละคือจุดเริ่มต้นของคำว่า Community เราได้เจอคนใหม่ ๆ ได้ถามไถ่กันด้วยว่า ‘คุณเห็นเราจากไหน’ เห็นความชอบของลูกค้า แล้วค่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์มาเรื่อย ๆ จนกลายเเป็น Community ขนาดใหญ่
🧩 9. ไอเดียไม่มา คิดไม่ออก “ห้องน้ำ” คือคำตอบ!
ฟังดูเหมือนตลก แต่เป็นเรื่องจริง! คือมันเป็นเรื่องปกติมากที่วันนึงตื่นขึ้นมาหัวจะไม่แล่น ไอเดียไม่มา แต่การได้เข้าห้องน้ำไปปลดทุกข์ ได้อุจจาระ จังหวะนั้นแหละจะเกิดสมาธิ เพราะคนเราจะจดจ่อช่วงเวลานั้น และกลับกันเป็นช่วงที่ผ่อนคลายที่สุด
อย่างบ้านคุณจี๊ปเองถึงขั้นบอกเลยว่า ห้องน้ำผมเตะบอลได้ การมีห้องน้ำที่โล่งช่วยให้เราปลอดโปร่ง ต้องมีอากาศถ่ายเทที่ดี หรืออีกวิธีที่ช่วยได้ดีคือตอนเข้าออฟฟิศ คุณจี๊ปจะไม่มีโต๊ะทำงาน จะชอบเดินเป็นหลัก เพราะการอยู่กับที่ไอเดียจะไม่เกิด เมื่อเราเครียดไอเดียไม่มีทางมา แต่เมื่อเราผ่อนคลายไอเดียจะเกิด!
🧩 10. หัวใจในทำธุรกิจ คือ “ความจริงใจ (Sincere)”
คุณจี๊ปไม่เคยบอกว่าตัวเองสำเร็จ แต่การที่ลูกค้าเชื่อในตัวแบรนด์ หรือการมี Community ของเล่นที่แข็งแรง อย่างทุกวันนี้ได้นั้น คือการมี “ความจริงใจที่ดีต่อลูกค้า ซื่อสัตย์ และต่อตัวคุณเอง”
ทำงานอย่าหวังเงิน ทำงานให้เป็นงาน แล้วงานจะสร้างเงิน เพราะเมื่อมันทำไม่ได้มันจะเฟล แต่กลับกัน ถ้าเราทำงานเป็นงาน เราจะเริ่มสร้างระบบ สร้างรากฐานให้มั่นคง มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน แล้วทุกอย่างเข้าที่เงินจะตามมาเอง แล้วเงินจะเป็นเป้าหมายสุดท้ายของทำงาน
คุณจี๊ปกล้าบอกเลยว่าทุกวันนี้ทีมงานมีเป้าหมายเดียวกัน เพราะเราปูรากฐานไว้แน่นมากพอ ทุกคนมีแพชชันในการสร้างสรรค์ และอยากทำของเล่นที่ดี ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคของเรา
ในวันที่เราถึงจุดที่มีคนเชื่อ! อย่าลดทอนความเชื่อของลูกค้าด้วยการหลอกลวง หรือเห็นแก่เงินทองจนบังตา แต่จงเชื่อใน Value เชื่อในการทำของดี และจงเป็นตัวจริง เป็นของจริงให้ลูกค้าเชื่อ
🧩 11. Creativity ที่ดี เริ่มจากการเข้าใจพฤติกรรมของคน
เคยสงสัยไหมว่าทำไมงาน Thailand Toy Expo ถึงจัดในห้าง? โดยปกติเรามักจะเห็นงานประเภท Expo จัดพื้นที่ฮอลล์ใหญ่ ๆ ถ้าคิดภาพไม่ออกให้นึกถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ อารมณ์ประมาณนั้นเลย แต่คุณจี๊ปกลับไม่เลือกทำแบบนั้น ซึ่งมุมคิดต่างนี้เองจึงกลายเป็นเสน่ห์ให้กับงาน Thailand Toy Expo ในแต่ละปี!
คีย์สำคัญของการไม่เลือกจัดในพื้นที่ฮอลล์ใหญ่ ๆ มาจากพฤติกรรมของคน จาก 2 เรื่องนี้
🎯 เรื่องที่คนมักมองข้ามคือ ‘ปัญหาแฟนทะเลาะกัน’ เช่น เราดูของเล่นใช้เวลานาน ก็จะโดนแฟนตามว่าเสร็จหรือยัง ดูอะไรนานเหลือเกิน แล้วก็ทะเลาะกัน แต่การจัดในห้างจะช่วยเคลียปัญหานี้ได้ดี เพราะถ้าเกิดแฟนเราไม่ได้ชอบของเล่น เขามีแยกไปช้อปสิ่งที่เขาชอบได้ ในทางกลับกันเราที่ชอบของเล่น จะได้มีเวลาดู มีเวลาเลือกซื้อได้เต็มที่ เพราะแก่นของศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า มันมีคอนเทนต์ มันมีแหล่งช้อปมากมายให้เราได้เลือกตามความชอบนั่นเอง ซึ่งดีกว่าการจัดในฮอลล์ใหญ่ ๆ แล้วโดนจำกัดพื้นที่
🎯 คุณจี๊ปไม่เคยมีงบทำ Marketing เลย แต่เขาใช้วิธีสื่อสารในพื้นที่ห้างแทน เพราะคนเดินห้างต่อวันมหาศาล การที่เขาจะเห็นงาน Thailand Toy Expo จึงไม่แปลกที่จะเป็นการโฆษณางานไปในตัว แถมยังเป็นการสร้าง Community ใหม่ ๆ ด้วย เพราะถ้าเราอยู่แต่ในฮอลล์เดิม ๆ เราก็จะเจอแต่คนเดิม ๆ แต่กลับกันวันนี้เราเจอทุก Target ที่ไม่ใช่แค่วัยรุ่น ตั้งแต่คุณป้า คุณลุง คุณน้า จนไปถึงคุณลูก คุณหลาน เต็มไปหมด
คุณจี๊ปมองถึงการสร้าง Hub อย่างแท้จริง ซึ่งแกยอมรับเลยว่าเราไม่ได้กำไรเท่าไหร่ เราขาดทุนด้วยซ้ำ แต่นี่คือการสร้าง Community เป็นพื้นที่ของคนรักของเล่น รวมไปถึงยังเป็นการดึงดูดจากคนทั่วโลกให้รู้จัก Thailand Toy Expo ว่านี่คือมหกรรมของเล่นที่เขาสามารถมาลงทุนได้นะ มาเอ็นจอยกับงานในประเทศไทยได้นะ
🌟 เพราะถ้าวันนี้เรามัวแต่คิด แล้วไม่เริ่มสักทีมันก็ไม่เกิด
สุดท้ายนี้ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “Learning from mistakes” เพราะ การเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นเรื่องที่ดี และมันจะนำไปสู่การทำผิดพลาดที่น้อยลง! เพื่อให้ประสิทธิภาพงานที่ดีขึ้นอยู่เสมอ
ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของคนทำธุรกิจด้วยใจ ที่น่าติดตามเหมือนกันว่าในอนาคตวงการของเล่นจะเติบใหญ่ไปในทิศทางไหนอีกบ้าง แต่ที่รู้แน่ชัดแล้วคือในปีหน้า! Thailand Toy Expo 2025 จะเกิดขึ้นในวันที่ 3-6 เมษายน 2568 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เตรียมมาปล่อยจอย รอคอยของเล่นใหม่ ๆ ที่เตรียมเซอร์ไพร์สไว้มากมายในปีหน้า!
✍🏻 เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
🎨 ภาพประกอบ: อลิสา อรุณสิริเลิศ
อ้างอิง:
• เจาะ 11 เรื่องธุรกิจ ที่มองปัญหาให้เหมือนของเล่น จากผู้สร้างสรรค์งาน Thailand Toy Expo -
https://creativetalkconference.com/turning-problems-into-playthings-11-business-tips-from-the-creator-of-thailand-toy-expo
1 บันทึก
4
1
3
1
4
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย