Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศึกษาพระเครื่อง
•
ติดตาม
19 ธ.ค. 2024 เวลา 07:21 • ไลฟ์สไตล์
เครดิต ธิ ท่าพระจันทร์
เผยแพร่ทักษะการดูรูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา ๔ ชายเล็ก
เป็นการสร้างเป็นแบบเทหล่อทีละองค์ที่เรียกว่า “หล่อดินไทย” คือเมื่อขึ้นหุ่นเทียนแบบเข้าพิมพ์ประกบหน้าหลังเสร็จติดช่อชนวนเข้าไปซึ่งก้านช่ออาจจะใหญ่
บ้างเล็กบ้างเมื่อติดเข้าไปเรียบร้อยดีแล้ว จุดสำคัญประการหนึ่งของการสังเกตดูพระแท้ก็คือ "ดินขี้วัว" เนื่องจากต้องใช้ดินผสมขี้วัวมาทาพอกหุ้มไว้ทั้งหมด เพราะถ้าใช้ดินธรรมดาที่ไม่ได้ผสมขี้วัว ดินที่พอกช่อจะไม่มีความเหนียวหนืดพอ ครั้นเมื่อถูกความร้อนจากโลหะที่เทเข้าไป ดินพอกจะแห้งปริลานระเบิดแตกออกจนเทหล่อโลหะไม่ได้ครับ แอดขอกล่าวถึงความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมูลวัว จากภูมิปัญญาของช่างไทยแต่โบราณ เรื่องการเข้าหุ่นดินไทยแบบโบราณขั้นตอนหนึ่งคือต้องทา
น้ำมูลวัวลงไปลงไปที่หุ่นเทียน ส่วนมูลวัวที่ใช้ทานั้นเรารู้และเข้าใจอยู่ว่าการทาน้ำมูลวัวจะทำให้ได้ชิ้นงานที่ดีผิวละเอียดตึงสวยงาม แต่แอดเองก็หาได้รู้รายละเอียดในเชิงลึกว่าเป็นเพราะเหตุอันใดผลจึงทำให้เป็นเช่นนั้นได้ จนเมื่อได้ศึกษาข้อมูลจากท่านอาจารย์ สง่า จันทร์ตา นายช่างหล่อชำนาญงานสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร ข้อมูลที่ได้รับเปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยไขข้อใจของแอดและทำให้ทุกอย่างกระจ่างชัดขึ้นในใจ จากการวิจัยที่ทางท่านอาจารย์สง่า ได้นำมูลวัว
ไปตรวจแยกสารประกอบออกเป็นส่วนๆ จึงทำให้ทราบว่าในมูลวัวนั้นมีธาตุประกอบหลักๆคือ " ซิลิคอนไดออกไซด์ " อยู่ในปริมาณที่สูงและมีเซลลูโลสที่เหลือจากการย่อยเศษหญ้ารวมอยู่ด้วย ซิลิคอนไดออกไซด์ นั้นมีคุณสมบัติในการทนต่ออุณภุมิความร้อนได้สูงถึง ๑,๗๑๓ องศา ในส่วนของ " เซลลูโลส " ซึ่งช่วยให้การยึดเกาะดี แต่ต้องเป็นมูลวัวที่ปราศจากความเป็นกรด ด้วยเหตุนี้มูลวัวจึงจำเป็นต้องปลอดจากกรดทุกชนิด แม้แต่น้ำที่ต้องนำมาใช้ในการผสมใช้ทำงานก็เช่นกัน ส่วนการเลือกมูล
วัวนั้นต้องใช้ในช่วงเช้าจะใช้ก้อนสีดำคลับเท่านั้นถ้าเป็นมูลที่เละๆจะมีกรดผสมอยู่เอามาใช้ยังไงก็ไม่สามารถดึงซิลิคอนออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ ในรายละเอียดปลีกย่อยยังยังมีอีกเยอะมาก แอดขอกล่าวเอาไว้ย่อๆ แบบคร่าวๆพอเป็นสังเขปพอให้เข้าใจเพื่อหายสงสัยในทุกๆกระทู้ของการเผยแพร่ของแอดมิน ธิ ท่าพระจันทร์ ที่พูดอธิบายถึงการทาน้ำขี้วัวในพระหล่อโบราณทุกสำนัก ขั้นตอนตรงนี้แอดขอข้ามไปก่อนนะครับ..เอาไว้อธิบายเพิ่มเติมในภายหลังหรือในวันข้างหน้านะครับ
ทีนี้นอกจากส่องดูพิมพ์พระแล้ว ให้สังเกตความชัดเจนของเส้นสายลายพิมพ์ เช่น ริ้วจีวรจะต้องปรากฏให้เห็นมีความคมหรือความตึงชัดแม้จะหล่อติดชัดบ้างหรืออาจจะไม่ชัดบ้าง แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีความตึงให้เห็นบ้างไม่มากก็น้อย และจะต้องไม่ดูหย่อน
ยานย้วยคดงอแบบพระถอดพิมพ์มานะครับ ของเก๊มักเป็นอย่างนั้นซะด้วยสิ ทีนี้เราก็ต้องมาพิจารณาดูความเก่าของโลหะผสมที่แก่ทองเหลืองเป็นหลัก ซึ่งเห็นความแห้งเก่าของเนื้อหาและกระแสโลหะที่มีวรรณะเหลืองอมเขียว ในข้อนี้ใช้ประกอบในการพิจารณา ทำให้เป็นพระที่ดูง่าย มาดูจุดพิจารณาที่สำคัญของพิมพ์ขี้
ตา ๔ ชายเล็ก เหตุที่เรียกว่าพิมพ์ขี้ตานั้น เพราะองค์พระจะมีเนื้อเกินที่ขอบตาล่างด้านซ้าย รูปหล่อโบราณพิมพ์ขี้ตานี้ เป็นงานเททองหล่อโดยฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งเป็นการหล่อเททีละองค์ โดยใช้เบ้าแม่พิมพ์ประกบเข้าหากันเรียกว่า "เบ้าหก" กล่าวคือโดยการเทโลหะเข้าไปที่ใต้ก้นองค์พระแบบคว่ำหัวลง เมื่อปล่อยทิ้งไว้ให้โลหะเย็นตัวลงแล้ว สังเกตที่ใต้ก้นองค์พระเป็นรอยแอ่งขรุขระในแต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน ถือเป็นธรรมชาติของรูปหล่อเบ้าประกบทุกองค์ ซึ่งเราสังเกตจะพบเห็นมีร่องรอย
ของการตกแต่งแทงตะไบหยาบย่อมมีปรากฏให้เห็นครับ ส่วนที่ฐานพระบางองค์อาจจะหนาบ้างหรือบางบ้าง ทั้งนี้ก็เกิดจาการเทเนื้อโลหะลงในเบ้า บางองค์เทพอดี บางองค์เทหนาหน่อย มากบ้างน้อยบ้างถือเป็นเรื่องปรกติของงานแฮนด์เมด และที่สำคัญด้วยการเทหล่อแบบเข้าเบ้าประกบนี้ ทำให้พระพิมพ์ขี้ตามีรอยตะเข็บปรากฏที่ด้านข้างโดยรอบองค์พระ ซึ่งสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เหมือนเนื้อเกินออกมาเป็นเส้นตลอดแนวจากบนลงล่าง และต้องมีร่องรอยของก้านชนวนปรากฏที่ใต้ฐานพระ
ติดเต็มมากบ้างน้อยบ้างหรือถูกตะไบแต่งเรียบไปเลยแบบนี้ก็มีให้เห็นนะครับ ส่วนในเรื่องของความสวยงามนั้น เมื่อเทียบกับพิมพ์นิยมซึ่งเทหล่อโดยนายช่างจากบ้านช่างหล่อ ย่อมเห็นแตกต่างกันได้อย่างชัดเจนของพิมพ์ทรง
(ในส่วนของรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม และเหรียญจอบ ตามประวัติการสร้างได้บันทึกไว้ว่า หลวงพ่อเงิน ท่านได้ว่าจ้างช่างจากบ้านช่างหล่อที่ กรุงเทพฯ คือ นางวัน สุทัศน์ ณ อยุธยา เป็นผู้ออกแบบและหล่อพระรูปหล่อพิมพ์นิยม และเหรียญ
หล่อพิมพ์จอบใหญ่ และ เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก เทหล่อด้วยเนื้อโลหะผสมหรือที่เรียกกันให้เข้าใจง่ายๆว่า เนื้อทองเหลืองผสม โดยประมาณปีที่สร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๙ รูปหล่อโบราณพิมพ์นิยม ได้รับความนิยมสูงสุดเพราะจำนวนพระมีน้อยและหายากกว่าพิมพ์ขี้ตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพิมพ์สวยงามกว่าพิมพ์ขี้ตา องค์พระจะอวบอิ่ม พิมพ์นิยมเป็นพระเทหล่อแบบช่อโดยต่อสายนำน้ำโลหะเข้าทางใต้ฐาน เมื่อโลหะเย็นตัวลงจึงตัดก้านชนวนใต้ฐานจึงมีรอยแต่งตะไบ
ทุกองค์และในส่วนที่สำคัญเช่นหน้าผาก โหนกแก้มจะมีความนูนอย่างชัดเจน ริ้วจีวรจะคมชัดอ่อนช้อยสวยงามเป็นยิ่งนัก การหล่อพระหลวงพ่อเงินนั้น จะทำรูปปั้นขี้ผึ้งขึ้นมาหลังจากแก้ไขพิมพ์จนพอใจแล้วจึงนำมาถอดแบบสร้างแม่พิมพ์ด้วยตะกั่วแข็ง แม่พิมพ์ที่ได้มาเพื่อจำลองหุ่นเทียนซึ่งมีส่วนผสมระหว่างขี้ผึ้งและชัน และเมื่อขี้ผึ้งแข็งตัวก็จะถอดแม่พิมพ์นำมาแต่งหุ่นเทียนอีกครั้งอันเป็นสาเหตุที่ทำให้พระหล่อมีลักษณะต่างกัน เมื่อได้หุ่นเทียนตามต้องการแล้วจะติดแท่งเทียนกลมๆ เข้าที่ฐาน
เพื่อทำเป็นสายชนวนให้ทองที่เทเข้าสู่หุ่นขี้ผึ้งได้สะดวก จากนั้น ก็นำหุ่นขี้ผึ้งทั้งหมดมาติดกับแกนชนวนตัวแม่ ซึ่งมีความหนาและใหญ่เป็นพิเศษ เพื่อเป็นทางให้น้ำทองแล่นถึงหุ่นพระ จากนั้นนำน้ำมูลโคมาทาพอกหุ่นพระหลายครั้งและใช้ดินผสมทรายหยาบพอกทับเข้าไปและใช้ลวดพันทับเพื่อไม่ให้หุ่นเทียนแตกและทาดินพอกอีกก่อนนำไปตากแห้ง เมื่อหุ่นแห้ง ก็จะนำหุ่นไปสำรอกขี้ผึ้งโดยความร้อนซึ่งต้องใช้ความชำนาญเพื่อสำรอกขี้ผึ้งออกให้หมดไม่อย่างนั้นในพิมพ์องค์พระจะเกิดรอย
ขรุขระขึ้น จากนั้นถึงเททองลงในช่อผ่านไปตามชนวนเข้าสู่หุ่นองค์พระทุกซอกทุกมุมแล้วปล่อยให้เย็นก่อนจะนำมาทุบดินหุ่นเอาพระภายในออกมาเพื่อตัดเดือยชนวนแล้วนำมาแต่งตะไบต่อไป ด้วยเหตุที่เนื้อองค์พระซึ่งเป็นเนื้อทองเหลืองผสม และหล่อมาเป็นช่อ ตามซอกองค์พระมักจะมีคราบขี้เบ้าสีออกน้ำตาลอันเป็นสีสนิมที่เกิดจากธรรมชาติ สิ่งที่สำคัญยิ่งคือด้วยความเก่าตามอายุของเนื้อทองเหลืองผสม วรรณะสีจะออกเหลืองอมเขียว หรือเหลืองทองเข้มสุกใส และเมื่อเราลงกล้องส่อง
ไล่ดูจะเห็นเม็ดดินสีดำเล็กๆฝังอยู่ตามผิวองค์พระอันเกิดจากเทหล่อด้วยดินไทยนั่นเอง นอกจากสร้างจากเนื้อทองเหลืองผสมแล้ว ในส่วนของพิมพ์นิยมนั้นยังปรากฏการสร้างเป็นเนื้อเงินอีกจำนวนหนึ่งด้วยครับ)
นั่นเป็นเรื่องที่มาที่ไปของพระพิมพ์นิยมครับ ทีนี้เราก็กลับมาคุยเรื่องพระกันต่อในโพสต์ของเราครับ จับจุดลงกล้องส่องดูผิวพรรณวรรณะขององค์พระ จะสังเกตเห็นหลุมร่องกรวดเล็กใหญ่อาจจะดูใหญ่เล็กไม่เท่ากัน อันเกิดจากเม็ดกรวดจากดินขี้เบ้า
ที่กร่อนตัวหลุดร่อนออกไปตามกาลเวลาหรือจากการถูกสัมผัสใช้ หลุมกรวดทรายที่ว่ามานี้มักจะปรากฏความคมชัดให้เห็น และจะต้องไม่ดูตื้นเบลอแบบพระปลอมที่ถอดพิมพ์มานะครับ ส่วนเม็ดขี้เบ้าจะมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำเกาะอยู่ในเนื้อพระทั่วทั้งองค์ สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากดินเบ้าที่มาประกบกัน เมื่อเจอความร้อนจากโลหะที่เทแทรกลงไปในหุ่นจึงละลายมาเกาะฝังอยู่ที่ผิวขององค์พระ การพิจารณาดูพระรูปหล่อเนื้อโลหะทองเหลืองผสม ซึ่งมีอายุกาลนับร้อยปีก็จะเหมือนเนื้อโลหะผสมเก่า
ซึ่งแก่ทองเหลืองเป็นหลัก จะมีประกายสุกสว่างไม่ซีดหม่นและผิวพระจะปรากฎรูพรุนคล้ายตามดซึ่งเป็นธรรมชาติที่เกิดจากการเทหล่อแบบโบราณ โทนสีเนื้อโลหะก็จะต้องมีวรรณะสีเหลืองเหลือบเขียว ผิวโลหะแห้งเก่าคร่ำคร่าสมอายุ ไม่หม่นหมองแบบดูกระด้างตาเหมือนของเก๊ สีของวรรณะโลหะทองเหลืองผสมนั้น อาจจะมีความอ่อนเข้มเหลื่อมล้ำไม่เสมอกันก็ย่อมที่จะปรากฏมีให้เห็นอยู่บ้างในพระที่ผ่านการสัมผัสใช้ พึงสังเกตธรรมชาติของสิ่งต่างๆเหล่านี้เหล่านี้ให้ดีเถิดครับ ส่วนเนื้อโลหะ
สัมผัสกับดินเบ้าในอุณหภูมิที่ต่างกันขณะเทหล่อแบบแต่ละองค์ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด สังเกตบนผิวโลหะส่วนที่ถูกสัมผัสจากการใช้บูชา วรรณะของเนื้อโลหะรูปหล่อหลวงพ่อเงินนั้น จะดูออกเปล่งประกายสุกสว่างแต่ก็ดูแฝงไว้ด้วยความแห้งอยู่ในที ส่วนผิวที่ไม่โดนสัมผัส เมื่อสังเกตผิวพระหรือตามซอกผิวจะปรากฏคราบสนิมสีน้ำตาลอมแดงเข้ม ตามซอกลึกอาจมีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมดำ แต่จะไม่ออกดูเป็นสีดำด้านๆเหมืนของสนามนะครับ ในพระที่ผ่านการสัมผัสใช้
บางองค์อาจจะเห็นสนิมของโลหะทองเหลือง(คราบออกไซด์)ออกสีแดงอมน้ำตาลเหลื่อมล้ำอ่อนเข้มสลับกันขึ้นปกคลุมกระจายตัวเป็นจุดๆไปทั่วทั้งองค์พระหรือที่เราเรียกว่าคราบส่าแดงต้องมีปรากฏให้เห็นในพระเก่า การกร่อนตัวของเนื้อโลหะอาจปรากฏรอยร้าวให้เห็นบ้างในบางองค์ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ใช้เป็นทักษะในการฝึกพิจารณาดูความเก่าซึ่งเป็นธรรมชาติที่ดูสมอายุของเนื้อทองเหลืองอายุร้อยปี ซึ่งของเก๊มันไม่มีให้เห็นนะครับสำหรับคราบส่าที่ว่ามานี้
ส่วนรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ พิมพ์ คือ พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย , พิมพ์ขี้ตา ๔ ชาย ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวาองค์พระ จะเห็นริ้วจีวร ๔ เส้น ลาดโค้งมาจากขอบสังฆาฏิขวาลงมาชนท้องแขนขวา (พิมพ์ขี้ตา ๔ ชาย ยังแบ่งแยกออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกจีวรสั้น และ บล็อกจีวรยาว หรือที่เรียกว่าพิมพ์ ๔ ชายเล็ก กับ พิมพ์ ๔ ชายใหญ่) , พิมพ์ขี้ตา ๕ ชาย ให้สังเกตเส้นริ้วจีวรขวามือขององค์พระ จะสังเกตเห็นริ้วจีวร ๕ เส้น โค้งซ้อนลงมาท้องแขนขวา
การฝึกสังเกตถึงความแห้งเก่าของเนื้อโลหะทองเหลืองผสมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมิใช่น้อย เพราะการเปลี่ยนแปลงของเนื้อโลหะที่เป็นตามธรรมชาติของกาลเวลาที่ผ่านร้อนหนาวมาเป็นอันยาวนานนั้น เป็นสิ่งเดียวที่ของเก๊ไม่อาจทำปลอมลอกเลียนแบบให้เหมือนได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวพรรณวรรณะของกระแสเนื้อโลหะผสมที่แก่ทองเหลือง หรือความต่างสีของกระแสโลหะที่ถูกสัมผัสใช้บูชามามากหรือน้อยย่อมมีผิวพรรณที่แตกต่างกัน การกร่อนตัวของโลหะหรือการเกิดทับซ้อนกันของคราบสนิม
เขียว คราบขี้เบ้าที่ลักษณะคล้ายผิวทรายปรากฏมีทั้งที่เป็นแบบเกาะอยู่บนผิวพระ และ เป็นแบบที่ฝังอยู่ในเนื้อพระนะครับ แอดหมายถึงลักษณะของเม็ดกรวยทรายที่ปะปนอยู่ในดินที่ใช้ทาพอกแล้วกดหุ้มห่อหุ่นเทียนไว้ แล้วทีนี้ดินกรวดทรายต่างๆจะจมหายเข้าไปในเนื้อของหุ่นเทียนขี้ผึ้งในขณะตอนที่เทียนอ่อนนิ่มตัวอยู่ ครั้นเมื่อเวลาเทโลหะลงไปในเบ้าพิมพ์แล้ว โลหะที่หลอมเหลวร้อนจึงไปแทนที่หุ่นเทียน เนื้อโลหะจึงไปหุ้มเอาทั้งเม็ดดินกับก้อนกรวดทรายไปด้วยครับ แม้กระทั่งร่องรอย
ของการตกแต่งแทงตะไบเกลาผิวโดยรอบๆองค์พระ กล่าวรวมๆคือช่างจะเก็บงานที่ตะเข็บข้างและที่ใต้ก้นองค์ขององค์พระเพื่อความเรียบร้อยสวยงามโดยมีลักษณะเป็นรอนของตะไบหยาบนะครับ สิ่งต่างเหล่านี้ถือเป็นทักษะเบื้องต้นที่เราจะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากการเผยแพร่ขั้นตอนต่างๆของการสร้างพระหล่อโบราณ..ข้อนี้สำคัญนะครับอย่ามองข้ามไปโดยเด็ดขาด หากท่านสมาชิกยังไม่ศึกษาให้เข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆหรือกรรมวิธีในการสร้างพระเหล่านี้ให้ดีพอครับผม
รูปหล่อโบราณของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ทั้งพิมพ์นิยม และ พิมพ์ขี้ตา นับได้ว่าเป็นพระรูปหล่อของเกจิอาจารย์ที่มีอายุการสร้างอันเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการศึกษาค้นคว้าในประเภทรูปหล่อขนาดเล็กและยังจัดได้ว่าเป็นรูปหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องประเภทรูปหล่อของพระเกจิคณาจารย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีราคาแพงสูงลิบลิ่วเป็นหลักล้านทั้งสิ้น ส่วนค่านิยมในปัจจุบันอยู่ที่หลักล้านต้นๆถึงหลักล้านกลางๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์ขององค์พระเป็นหลักนะครับ
หากจะกล่าวถึงลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่มีชื่อเสียงกิตติศัพท์อันโด่งดังในเรื่องพุทธาคมอันแก่กล้า ซึ่งได้สืบต่อวิชาพระเวทย์วิทยาคมมาจากหลวงพ่อเงิน ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปหลายท่าน อาทิเช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านการทำตะกรุดคู่ชีวิต , หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบนและตะกรุดหนังอีเก้ง , พระปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ , หลวงพ่อหอม วัดหลวง
หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ , หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ , หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย , หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง , หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ศิษย์สายฆราวาสก็คือ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ส่วนในเรื่องของประสบการณ์นั้น..ได้ปรากฏมหิทธานุภาพแห่งพระพุทธคุณดีเลิศรอบด้านครอบจักรวาลครับผม
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย