19 ธ.ค. เวลา 09:00 • ข่าว

ทรัมพ์ยุบแน่! กระทรวงศึกษาฯ

โอกาสด้านการศึกษากับการครอบงำทางการเมือง?
1
หนึ่งในนโยบายเด็ด ที่โดนัลด์ ทรัมพ์ ได้หาเสียงไว้ คือหากเขาชนะเลือกตั้งผู้นำสหรัฐ 2024 สิ่งที่เขาจะทำทันที นั่นก็คือแผนการยุบกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลกลางทิ้งซะ แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐไปบริหารจัดการกันเองเองนั้น กำลังกลายเป็นที่ถกเถียงถึง ผลดี//ผลเสียที่จะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสหรัฐอเมริกาโดยรวมอย่างไรในอนาคตอันใกล้?
หากมองย้อนไปหลายเดือนก่อนหน้านี้ ชาวอเมริกันอาจไม่ได้ใส่ใจกับนโยบายนี้ของทรัมพ์มากนัก เพราะไม่คิดว่าจะมีใครสามารถยุบกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นกระทรวงสำคัญได้ง่ายๆ และที่สำคัญคือ ตอนนั้นยังไม่มีใครคาดคิดว่าทรัมพ์ และพรรครีพับลิกันจะชนะเลือกตั้งได้แบบ "Trifecta" หรือการชนะเลือกตั้งแบบหมดจด กินรวบทั้ง ทำเนียบขาว, สภาบน และ สภาล่าง ได้อย่างวันนี้
ดังนั้น อะไรที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ก็มีโอกาสเป็นไปได้แล้วทั้งนั้น
และล่าสุด โครงการยุบกระทรวงศึกษาของทรัมพ์ ก็เริ่มส่งสัญญาณเดินหน้าแล้ว เมื่อวุฒิสมาชิกของรีพับลิกัน นำโดย ไมค์ ราวด์ส ได้เสนอแบบร่างกฎหมายชื่อ "Returning Education to Our States Act" หรือกฎหมายคืนอำนาจการศึกษาสู่รัฐ ในที่ประชุมวุฒิสภาแล้ว
3
โดยร่างกฎหมายนี้มีเป้าหมายในการยุบกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลกลาง แล้วให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐมีอำนาจในการบริหารจัดการระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่ตนได้อย่างอิสระ
1
วุฒิสมาชิก ไมค์ ราวด์ส กล่าวว่า ก็ในเมื่อผู้คุมอำนาจในหน่วยงานการศึกษาของรัฐบาลกลางไม่เคยลงมาสอนหนังสือเด็กเลยสักคน ก็สมควรแก่เวลาแล้วที่จะยุบระบบราชการที่คร่ำครึ ที่รังแต่ส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อคุณภาพการศึกษาของเรา
1
เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่า การกระจายอำนาจให้หน่วยงานท้องถิ่นดูแลเรื่องการศึกษาเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว พวกรัฐบาลกลางจะรู้ได้อย่างไรว่าควรสอนอะไรให้เด็กๆในรัฐเซาธ์ ดาโกตา แต่โรงเรียนในพื้นที่ และ รัฐบาลท้องถิ่นนั้นรู้ดีว่าพวกเด็กๆ ต้องการอะไร ไม่ใช่พวกที่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าใน ดี.ซี.
3
ด้านสภาท้องถิ่นในรัฐโอคลาโฮมา ก็สนับสนุนการยุบกระทรวงศึกษาเช่นเดียวกัน โดย สส. จอร์ช บรีชีน ของรีพับลิกัน กล่าวว่า เขาไม่เชื่อเรื่อง "One size fits all" ในระบบการศึกษา เพราะการใช้ระบบเดียวครอบทุกอย่างจะจำกัดความคิดสร้างสรรค์ในนวัตกรรม และ การพัฒนาด้านความเฉลียวฉลาด เราจึงต้องดึงอำนาจคืนมาจากรัฐบาลกลาง ไม่ให้พวกเขาเอาภาษีประชาชนมาใช้ครอบงำความคิด และ สติปัญญาของเด็กๆในโรงเรียนของพวกเรา
1
แต่ทั้งนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกว่า เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางก็ยังจำเป็นต่อสวัสการในโรงเรียนรัฐบาลของแต่ละรัฐเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารโรงเรียนท้องถิ่นโดยไม่ถูกตัดงบด้านการศึกษาจากรัฐบาลกลาง
แม้ในมุมมองของทรัมพ์ และ ฝ่ายสนับสนุนการยุบกระทรวงศึกษาของรัฐบาลกลาง ก็มีเหตุผลที่เข้าใจได้ แต่ท้ายที่สุดก็หนีไม่พ้นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคเดโมแครต และ พรรครีพับลิกัน ที่ต่างฝ่ายต่างก็เกรงกลัวว่า พรรคที่คุมอำนาจรัฐบาลกลางจะปลูกฝังแนวความคิดของตนสู่เด็กและเยาวชน ผ่านสื่อการสอนภาคบังคับของกระทรวงการศึกษา
1
ดังเช่นที่ พรรครีพับลิกันสายอนุรักษ์นิยม เคยออกมาประท้วงบ่อยๆ ถึงการแทรกซึมแนวคิดของฝ่ายเสรีนิยมสุดขั้ว ลัทธิการตื่นรู้ (Woke) หรือการแสดงอัตตาลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ในโรงเรียนจนเกินพอดี ที่สร้างความแตกแยกในสังคมลึกถึงระดับครอบครัว แต่ในขณะเดียวกัน ฟากเดโมแครตก็โจมตีพรรคฝ่ายตรงข้ามที่พยายามปลูกฝัง เชิดชูค่านิยมความเป็นอเมริกันในโรงเรียน จนสร้างปัญหาการเหยียดผิว เชื้อชาติ หรือศาสนา ที่นำไปสู่ความรุนแรงในสังคมอเมริกันเช่นกัน
2
ความเห็นต่างในประเด็นยุบกระทรวงศึกษานั้น ร้อนแรงมาตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมพ์ ออกมาประกาศว่า เขาตั้งใจจะยุบกระทรวงศึกษาทิ้งทันทีที่เข้าทำเนียบ ด้าน กมลา แฮริส คู่แข่ง และรองประธานาธิบดีจากเดโมแครต ก็ออกมาปราศรัยค้านหัวชนฝาว่า "เราจะไม่ยอมให้เขามายุบกระทรวงการศึกษาที่เป็นแหล่งทุนสนับสนุนโรงเรียนรัฐของพวกเราเด็ดขาด" ท่ามกลางเสียงปรบมือดังสนั่นของผู้สนับสนุนแฮริส
นโยบายเรื่องยุบกระทรวงการศึกษา หากยังจำกันได้ เคยเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงของผู้นำอาร์เจนตินาคนปัจจุบัน ฆาเวียร์ มิลเล ที่เขาประกาศหั่นงบประมาณภาครัฐลงด้วยการยุบทิ้ง 9 กระทรวง ซึ่งหนึ่งจำนวนนั้นคือ กระทรวงศึกษา, สาธารณสุข และ แรงงาน ที่ต่อมาถูกยุบรวมกันกลายเป็น "กระทรวงทุนมนุษย์"
4
ซึ่งจะกลับด้านกับทางสหรัฐอเมริกา เพราะ ศึกษาธิการ, สาธารณสุข และแรงงาน เคยเป็นกระทรวงเดียวกันมาก่อน รวมเรียกว่า "กระทรวงสาธารณสุข, การศึกษา และ สวัสดิการสังคม" ก่อนจะแยกออกมาเป็น 3 กระทรวงในปี 1980 ในสมัยประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ จากเดโมแครต ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนักการศึกษาบางส่วนที่เห็นว่าอาจมีการครอบงำทางการเมืองในระบบการศึกษา
2
ซึ่งในสมัยต่อมาของ โรนัลด์ เรแกน จากรีพับลิกัน ก็เคยมีแนวคิดที่จะยุบกระทรวงศึกษาทิ้งไป แต่ก็ทำไม่ได้ง่ายๆแล้ว เนื่องจากในสมัยนั้น สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ที่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณในระบบการศึกษาเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างคนคุณภาพ เมื่อไม่ได้เสียงสนับสนุนเพียงพอ ไอเดียการยุบกระทรวง ของเรแกนจึงตกไป
3
แต่มาวันนี้ ทรัมพ์ นำไอเดียของเรแกน กลับมาปั่นฝุ่นใหม่ และได้มอบหมายให้ อีลอน มัสก์ และ วิเวก คณปตี ที่นำทีมกระทรวงใหม่ล่าสุด "Department of Government Efficiency" (DOGE) ที่หวังให้มาช่วยขับเคลื่อนระบบราชการอเมริกันให้ทันสมัย คล่องตัวขึ้น รวมถึงการคุมโปรเจคยุบกระทรวงศึกษาธิการแห่งสหรัฐอเมริกาด้วย
9
อาจจะกล่าวได้ว่า นโยบายการยุบกระทรวงนักเรียนดี เป็นการตอบโจทย์การเมืองของทรัมพ์ แต่จะตอบสนองความต้องการของครู และ นักเรียน หรือไม่นั้น มันอาจจะเป็นคนละเรื่องกัน เพราะในยุคสมัยนี้ การหาข้อมูลความรู้ หรือ ปลูกฝังค่านิยมใดๆ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงเรียนอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น การมี หรือ ไม่มีกระทรวงการศึกษา ก็อาจจะไม่ได้มีผลให้เด็กอเมริกันร้องเพลงชาติชัดขึ้นแต่อย่างใดก็ได้
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
แหล่งข้อมูล
โฆษณา