Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE STATES TIMES EARTH
•
ติดตาม
20 ธ.ค. เวลา 07:00 • สุขภาพ
กินอาหาร ‘เค็มจัด’เสี่ยงป่วยสารพัดโรค แต่หาก ‘ขาดเกลือ’ ก็เสี่ยง ‘โซเดียมในเลือดต่ำ’
☝️Click >> ‘เกลือ’ เครื่องปรุงติดครัวที่ต้องรับประทานให้เหมาะสม หากมากหรือน้อยเกินไป จะส่งผล ‘ร้าย’ ต่อร่างกายแน่นอน
🔎Clear >> คนไทยมักคุ้นชินกับอาหารรสจัดจ้าน และเครื่องปรุงที่ขาดครัวไม่ได้ก็คือ ‘เกลือ’ ที่ถือว่าเป็นตัวชูรสชาติความอร่อย ซึ่งจริง ๆ แล้ว ‘เกลือ’ มีประโยชน์มากกว่าให้รสชาติอร่อย
‘เกลือ’ เป็นแร่ธาตุสำคัญในการช่วยรักษาระดับน้ำในร่างกาย ช่วยให้ดูดซึมสารอาหารได้ดี มีความสำคัญอย่างมากต่ออวัยวะ หรือเซลล์ที่มีกิจกรรมทางไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาททั้งหมด เรียงไล่ไปตั้งแต่ สมอง ไขสันหลัง และมวลกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญของผิวหนัง กระดูก และข้ออีกด้วย
แต่โทษของเกลือก็มีเช่นกัน หากได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
‘องค์การอนามัยโลก’ หรือ WHO (World Health Organization) กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการบริโภค ‘เกลือ’ ไว้ว่า ไม่ควรบริโภคโซเดียม เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 1 ช้อนชา หรือวันละไม่เกิน 5 กรัม แต่ผู้คนทั่วโลกกลับมีการบริโภคเกลือเฉลี่ยอยู่ที่ 11 กรัมต่อวัน และหากกินเค็มมากเป็นเวลานานก็จะส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ป่วยเป็นโรคความดันสูง หัวใจ หลอดเลือด มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน และโรคไต
ในทางกลับกัน หากเราได้รับ ‘โซเดียม’ ไม่เพียงพอ ก็อาจเสียชีวิตได้ เพราะการขาดโซเดียมจะนำไปสู่ภาวะ ‘โซเดียมในเลือดต่ำ’ หรือ Hyponatremia ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการสับสน หงุดหงิด มีปฏิกิริยา และการตอบสนองที่ช้า อาเจียน ชัก ไปจนถึงอาการโคม่าได้
ในหลาย ๆ ประเทศของโลก มีวัฒนธรรมด้านอาหารที่ผูกโยงกับการใช้เกลือ เช่น การใช้เกลือหมักดอง ถนอมอาหาร ทั้งผักและเนื้อสัตว์ วัฒนธรรมเหล่านี้ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะไม่รับประทานเกลือ แต่ก็สามารถปรับพฤติกรรมได้ เช่น ไม่ปรุงอาหารเพิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมแฝง
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่มีรสชาติและปริมาณที่เหมาะสม ไม่จัดจ้าน น้อย หรือมากจนเกินไป และหมั่นออกกำลังกาย ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และห่างไกลโรคภัยได้อย่างแน่นอน
ที่มา: Salika
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย