Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wealthy Thai
•
ติดตาม
20 ธ.ค. เวลา 03:48 • หุ้น & เศรษฐกิจ
TOP ดิ่งหนัก 15% คาด วิตกผลงานทรุด หลังจ่อใส่เงิน “CFP” เพิ่ม 6.3 หมื่นลบ.
วันนี้ (20 ธ.ค.67) ราคาหุ้นของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 29.75 บาท ลดลง 5.25 บาท หรือ 15.00% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 838.28 ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างหนักหลังการประกาศเตรียมเพิ่มเงินลงทุนโครงการ Clean Fuel Project หรือ CFP มูลค่า 6.3 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเคยประสบปัญหาผู้รับเหมา และสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การก่อสร้างโครงการชะงัก จากที่ควรแล้วเสร็จตั้งแต่ Q1/66 ทั้งนี้ คาดว่านักลงทุนเกิดความวิตกกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในส่วนของผลการดำเนินงานของบริษัทจากการเพิ่มเงินลงทุนดังกล่าว
โดย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุ คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้มีมติอนุมัติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2568 ของบริษัทฯ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเพิ่มเงินลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project) หรือ CFP
จำนวนประมาณ 63,028 ล้านบาท หรือเทียบเท่าประมาณ 1,776 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922 ล้านบาท หรือเทียบเท่าประมาณ 505 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเงินลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าว จะนำไปใช้เพื่อการก่อสร้างโครงการ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ส่วนที่เหลือ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ เช่น ค่าที่ปรึกษาต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จ และสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ให้เข้าลงทุนในโครงการ CFP โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 4,825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 160,279 ล้านบาท และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 151 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,016 ล้านบาท
โดยคาดว่าการก่อสร้างโครงการ CFP จะแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ปี 2566 แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโครงการ CFP จึงส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้น และทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างต้องถูกขยายออกไปจากเดิมที่คาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ ปัจจุบันหน่วยกำจัดกำมะถันในน้ำมันดีเซลที่ 4 (Hydrodesulfurization Unit: HDS-4) ได้ประสบความสำเร็จในการทดลองเดินเครื่องจักรและผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 5 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ทันต่อการตอบสนองต่อนโยบายการใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 5 ที่ภาครัฐมีการประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ที่ผู้รับเหมาหลักไม่ชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้กับผู้รับเหมาช่วงที่ผู้รับเหมาหลักจ้างให้ทำงานในการก่อสร้างโครงการ CFP จนทำให้ผู้รับเหมาช่วงหยุดงานหรือลดจำนวนคนงานลงส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา EPC จากเหตุการณ์ดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ นัดพิเศษ ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
1) ถ้าบริษัทฯ สามารถดำเนินโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จ จะทำให้บริษัทฯ มีหน่วยกลั่นน้ำมันดิบใหม่ที่มีขนาดกำลังการกลั่นสูงทดแทนหน่วยกลั่นเดิม ส่งผลให้กำลังการกลั่นน้ำมันดิบของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 275,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน ก่อให้เกิดการประหยัดด้านขนาด (Economiesof Scale)
อีกทั้ง ด้วยการออกแบบให้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบที่มีความหลากหลาย รวมทั้งน้ำมันดิบชนิดหนักที่โดยทั่วไปมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบชนิดอื่น ทำให้สามารถผลิตน้ำมันสำร็จรูปที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่ได้ในการเติบโตในธุรกิจปิโตรเคมีในอนาคต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทฯ และสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในธุรกิจการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว
2) หากไม่อนุมัติให้มีการเพิ่มเงินลงทุนในโครงการ CFP เพื่อก่อสร้างโครงการ CFP ต่อไปให้แล้วเสร็จ จะทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการ CFP ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งในระยะยาวบริษัทฯ อาจประสบปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการผลิตของหน่วยกลั่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งบางหน่วยมีอายุการใช้งานมากกว่า 60 ปี และอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ หากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้น้ำมันสำเร็จรูปที่มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีของหน่วยผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นความท้าทายในการดำเนินธุรกิจการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมของบริษัทฯ ในอนาคต
อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ที่ผู้รับเหมาหลักไม่ชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้กับผู้รับเหมาช่วงที่ผู้รับเหมาหลักจ้างให้ทำงานในการก่อสร้างโครงการ CFP จนทำให้ผู้รับเหมาช่วงหยุดงานหรือลดจำนวนคนงานลง ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา EPC บริษัทฯ จึงต้องพิจารณาทางเลือกในการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ โดยมีการเตรียมความพร้อมโดยให้ที่ปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Advisor) มาตรวจสอบและวิเคราะห์การก่อสร้างที่เหลืออยู่ของโครงการ
ทั้งนี้ จากรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์ของที่ปรึกษาด้านเทคนิค เห็นว่า การที่จะก่อสร้างโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเติมอีกประมาณ 63,028 ล้านบาท หรือเทียบเท่า ประมาณ 1,776 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922 ล้านบาท หรือเทียบเท่าประมาณ 505 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยมีมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ CFP เป็นจำนวนเงินประมาณ 241,472 ล้านบาท หรือเทียบเท่าประมาณ 7,151 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 37,216 ล้านบาท หรือเทียบเท่าประมาณ 1,078 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ และพิจารณาอนุมัติการมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริษัทฯ หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการเจรจากำหนดตกลง ทำให้เสร็จสมบูรณ์ ลงนามในสัญญาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการ
ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ CFP หรือการกระทำการอื่นใดตามความเหมาะสม และจำเป็นเพื่อให้การดำเนินโครงการ CFP แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์
การลงทุน
หุ้น
เศรษฐกิจ
บันทึก
7
1
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย