Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Chen Eing
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 08:16 • ธุรกิจ
การที่ตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจของบ้านเราออกมาดี แต่ตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูง มันคือเศรษฐกิจดีจริงๆหรือ, เพราะพอเวลาเศรษฐกิจไม่ดี กลับไปโทษว่ากำลังซื้อของชาวบ้านไม่มีเพราะหนี้เยอะ!?
ตัวเลขทางศก. ล้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลในอดีตทั้งสิ้น มันไม่ได้มาจากพื้นฐานข้อมูลการเก็บตัวเลขในปัจจุบันที่ตรงไหน ตรรกะง่ายๆคือ ถ้าไม่มีเหตุผลจะตามมาไม่ได้ ตัวเลขทางศก.ทั้งหมด จึงรวบรวมมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางศก. รวมถึงการพยากรณ์แนวโน้มทางศก. อีกด้วย
ในเรื่องของศก. จำเป็นต้องแยกวิเคราะห์ออกเป็นสองส่วน เพื่อให้เห็นภาพย่อย และภาพใหญ่ ซึ่งก็คือศก.ระดับจุลภาค หรือศก.ครัวเรือน และศก.ระดับมหภาค หรือศก.ระดับประเทศ นี่ยังไม่ได้พูดถึงศก.ระหว่างประเทศ ให้หนักสมองเพิ่มขึ้นไปอีก
1
การที่ตัวเลขดัชนีทางศก.เราออกมาดี ก็จำเป็นต้องเจาะในรายละเอียดว่า ตัวเลขดัชนีที่ว่านั้น คือตัวเลขอะไร อาทิ ตัวเลข GDP เราจำเป็นต้องรู้ว่า ตัวแปรที่จะมีผลต่อการคำนวณตัวเลข GDP มีอะไรบ้าง และตัวเลข GDP อันเป็นที่ยอมรับควรอยู่ในระดับเท่าไหร่ นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องดูขนาดการเติบโตของมันผ่านการเปรียบเทียบด้วย อาทิ เมื่อเทียบกับ 3 ปีที่แล้ว หรือปีที่แล้ว หรือช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เพราะต้องไม่ลิมว่า สรรพสิ่งมีวัฎจักรการเกิดดับเป็น Cycle จึงมีคำว่า Business Cycle มาอ้างอิงอีกด้วย
1
หนี้ครัวเรือน ที่มักพูดกันคือตัวเลขระดับจุลภาคที่หากถูกละเลย มองข้าม และไม่แก้ไข จะมี Impact ลุกลามไปยังเจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้ จนถึงสถาบันการเงินต่างๆ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ "ไม่มี ไม่หนี (เพราะไม่มีที่ไปแบบหมอบุญ) ไม่จ่าย" ถูกข่มขู่คุกคาม ลูกหนี้ล้มละลาย ขายทอดตลาดก็ยังไม่คุ้มมูลหนี้ จับไปติดคุกก็ไม่ได้อีก
อย่าไปสนใจตัวเลขต่างๆมากนัก
สนใจว่าเรามีเงิน และไม่มีหนี้ก็พอแล้วมั้ยที่รัก
จากใจอดีตนักวิเคราะห์ศก.
2
การลงทุน
ธุรกิจ
การเงิน
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย