เมื่อวาน เวลา 06:00 • ข่าวรอบโลก

ผลรายงานความแตกต่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2024

จากผลกระทบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ในหลาย ๆ ประเทศต้องเร่งดำเนินการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อพิจารณาและเสนอทางแก้ไขในการต่อสู่กับสภาวะโลกร้อน
เมื่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทั่วโลก รายงานความแตกต่างจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2024 พบว่าประเทศต่าง ๆ ต้องดำเนินการและพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้น โดยมีนัยสำคัญในครั้งถัดไปของ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions (NDCs))
ถ้าไม่อย่างนั้นเป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5°C ภายใต้ ข้อตกลงปารีส จะกลายเป็นปัญหาที่เป็นไปไม่ได้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า รายงานฉบับนี้เป็นฉบับที่ 15 ในชุดรายงานที่รวบรวมข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก เพื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเสนอทางออกที่เป็นไปได้สำหรับความท้าทายในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
ในรายงานประจำปีนี้ มีการพิจารณาว่าประเทศต่าง ๆ ต้องให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหนและต้องทำให้สำเร็จในรอบถัดไปของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions (NDCs)) ที่จะต้องส่งภายในต้นปี 2025 ก่อนการประชุม COP30 โดยจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซให้ได้ 42% ภายในปี 2030 และ 57% ภายในปี 2035 เพื่อให้สามารถรักษาเป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5°C ได้
หากประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถเพิ่มความมุ่งมั่นใน NDCs ใหม่และเริ่มดำเนินการในทันที จะทำให้เราอยู่ในเส้นทางที่จะต้องพบเจอกับอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นระหว่าง 2.6-3.1°C ตลอดศตวรรษนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้คน, โลก, และเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่จะกลับไปสู่เป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5°C ถ้าเราหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, และป่าไม้ ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการที่จะทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริง NDCs จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนจากการร่วมมือของรัฐบาลในทุกภาคส่วน
พร้อมทั้งต้องมีมาตรการที่เพิ่มผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การร่วมมือระหว่างประเทศในการปฏิรูประบบการเงินระดับโลก การกระทำที่มาจากภาคเอกชนที่เปรี่ยมไปด้วยพลัง และการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซที่ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยหกเท่า โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม G20 ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซมากที่สุด จะต้องเป็นผู้นำในการดำเนินการนี้
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกตามภาคส่วน 2023
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปี 2023 โดยแยกตามภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้
26% (15 กิกะตัน): ภาคพลังงาน
15% (9 กิกะตัน): ภาคขนส่ง
11% (6 กิกะตัน): อุตสาหกรรม
11% (6 กิกะตัน): เกษตรกรรม
10% (6 กิกะตัน): การผลิตเชื้อเพลิง
9% (5 กิกะตัน): กระบวนการอุตสาหกรรม
7% (4 กิกะตัน): การใช้ที่ดินและป่าไม้
6% (3 กิกะตัน): อาคาร
4% (2 กิกะตัน): ของเสียและอื่น ๆ
ข้อมูลอ้างอิงจาก UN - Emissions Gap Report 2024 และนำเสนอโดย Visual Capitalist
โฆษณา